ชื่อท้องถิ่น

เตยหอม หวานข้าวไหม้ ปาแป๊ะอาริง พังลั้ง

ชื่อวิทยาศาสตร์

Pandanus odorus Ridl.,Pandanus amaryllifolius Roxb.

วงศ์

PANDANCEAE

ชื่อสามัญ


ลักษณะ

เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่ขึ้นเป็นกอ ชอบขึ้นในพื้นที่ชื้นแฉะใกล้น้ำ แต่ละกอเกิดจากหัวหรือเหง้าใต้ดิน ลำต้นสูงประมาณ 2 ฟุต ใบคล้ายกับใบสัปปะรด ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ใบมีกลิ่นหอม

การขยายพันธุ์

โดยใช้หัวหรือเหง้า ไปปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ หรือปลูกใส่กระถางก็ได้

ส่วนที่นำมาเป็นยา

ใบ และ ราก

สารเคมีและสารอาหารที่สำคัญ

ประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหย และ มีสีเขียวของคลอโรฟิลล์ ซึ่งในน้ำมันหอมระเหยประกอบด้วยสารหลายชนิด เช่น ไลนาลิลอะซีเตท (Linalyl acetate) เบนซิลอะซีเตท (Benzyl acetate) ไลนาโลออล (Linalool) และ เจอรานิออล (geraniol) และ เอทิลวานิลลิน (Ethylvanillin)

สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

  โรคหัด โรคผิวหนัง : ใช้ใบสดตำพอก

  ยาบำรุงหัวใจ : ใช้ใบสดตำ คั้นเอาน้ำ จะได้น้ำสีเขียวมาผสมอาหาร แต่งกลิ่น แต่งสีขนม หรือ ใช้ในรูปของใบชา ชงกับน้ำร้อน หรือใช้ใบสดต้มกับน้ำจนเดือด เติมน้ำตาลเล็กน้อยใช้ดื่มเป็นประจำ

  โรคเบาหวาน: นำส่วนต้นและราก ต้มกับเนื้อหรือใบไม้สักจะช่วยรักษาโรคเบาหวาน

ข้อระวัง

-

ตำลึง สมุนไพร 67 ชนิด ที่ใช้ในสาธารณสุขมูลฐาน ถั่วพู