ชื่อท้องถิ่น

ดีปลีเชือก ประดงข้อ ปานนุ พิษพญาไฟ บีกผัวะ

ชื่อวิทยาศาสตร์

Piper retrofractum Vahl

วงศ์

PIPERACEAE

ชื่อสามัญ

Long Pepper

ลักษณะ

เป็นไม้เลื้อยที่ชอบขึ้นในที่ที่มีความชื้นสูง และมีฝนตกชุก เถาเป็นไม้เนื้อแข็ง ที่ข้อต่อของลำต้นจะมีรากฝอยงอกออกมาเพื่อยึดเกาะลำต้น หรือพาดพันต้นไม้ใหญ่ๆ ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปไข่ แกมขอบขนาน กว้าง 3-5 ซม. ยาว 7-10 ซม. สีเขียวเข้ม หนาเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อที่ซอกใบ รูปทรงกระบอกมีดอกย่อยอัดกันแน่น แยกเพศ ผล เป็นผลสดมีสีเขียว เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง

การขยายพันธุ์

เถา ใช้เถาปักชำ

ส่วนที่นำมาเป็นยา

ผลแก่

สารเคมีและสารอาหารที่สำคัญ

น้ำมันหอมระเหย เมทานอล และสารอัลคาลอยด์ ชื่อ piperine chavicine

สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

  ยาขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน และขับรกหลังคลอด :   ใช้ผลแก่จัด 1 กำมือ ประมาณ 10-15 ผล นำไปตากแห้ง แล้วต้มเอาน้ำดื่ม
  ขับเสมหะ:  ใชผลแก่แห้งครึ่งผลตำละเอียด เติมน้ำมะนาวและเกลือเล็กน้อย ใช้กวาดคอ หรือใช้จิบบ่อยๆ

ข้อควรรู้

ใช้ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูข้าวในโรงเก็บ

ชุมเห็ดไทย สมุนไพร 67 ชนิด ที่ใช้ในสาธารณสุขมูลฐาน ตะไคร้