ชื่อท้องถิ่น

ข่า ข่าใหญ่ ข่าหลวง ข่าตาแดง ข่าลิง ข่าหยวก (ภาคเหนือ)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Languas galanga (L.) stuntz, Alpinia galanga (L.) Willd.

วงศ์

ZINGIBERACEAE

ชื่อสามัญ

Galanga

ลักษณะ

เป็นพืชล้มลุก ลำต้นสูงประมาณ 1.5 - 2 ลำต้นใต้ดินเรียกว่าเหง้ามีข้อและปล้องชัดเจน ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับรูปใบหอก รูปวงรีหรือเกือบขอบขนาน กว้าง 7-9 ซ.ม. ยาว 20-40 ซ.ม. ดอกจะออกเป็นช่อ ซึ่งจะออกที่ยอด ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอดสั้น ๆ ปลายแยกเป็น 3 กลีบ กลีบใหญ่ที่สุดมีริ้วสีแดง ใบประดับรูปไข่ ผลมีลักษณะกลมโต ขนาดเท่าเม็ดบัว เมื่อแก่จะมีสีดำและเม็ดเล็ก ๆ อยู่ภายใน มีรสขม เผ็ดร้อน

การขยายพันธุ์

ปลูกได้ในทุกฤด ชอบขึ้นตามที่ชื้นแฉะ โดยแยกปลูกเป็นหลุม ๆ ละต้น ปลูกห่างกันราว 80 เซนติเมตร ไม่มีศัตรูพืชรบกวน

ส่วนที่นำมาเป็นยา

ต้น ใบ ดอกและเมล็ด

สารเคมีที่สำคัญ

เหง้าข่าประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหย (Essential oil) ในน้ำมันนี้ยังประกอบด้วยสารชนิด cinnamate,cineol, eugenol camphor, pinenes 1-acetoxychavicol acetate มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา ขับลม ต้านเชื้อแบคทีเรีย ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธ์ และไม่เป็นพิษในขนาดยา 250 เท่าของขนาดที่ใช้ในตำรายาไทย

สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

   อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ขับลมในลำไส้ :    ใช้เหง้าสดขนาดเท่าหัวแม่มือ (5 กรัม) หรือเหง้าแห้ง 2 กรัม ต้มกับน้ำจนเดือด รินน้ำดื่ม
  รักษาโรคผิวหนัง ที่เกิดจากเชื้อรา กลาก, เกลื้อน :   เอาหัวข่าแก่ล้างให้สะอาด ฝานออกเป็นแว่นบางๆหรือทุบให้แตก เอาไปแช่เหล้าโรงทิ้งไว้ 1 คืน ทำความสะอาดขัดถูบริเวณที่เป็นเกลื้อนจนพอแดง และแสบ แล้วเอาข่าที่แช่ไว้มาทาเฉพาะที่ๆ เป็นเกลื้อน จะรู้สึกแสบๆ เย็นๆ ทาเช้าและเย็นหลังอาบน้ำทุกวัน ประมาณ 2 สัปดาห์ เกลื้อนจะจางลงและหายไปในที่สุด
  แก้บวม ฟกช้ำ :   : เอาน้ำคั้นจากเหง้าแก่ มาทาบริเวณที่เป็น
  ฆ่าแมลงวันทอง :   เอาน้ำคั้นจากเหง้าแก่ (นำเหง้าแก่มาบดเป็นผงแล้วคั้นเอาแต่น้ำ ) ผสมน้ำนำไปฉีดพ่น

ข้อควรระวัง

-

ขลู่ สมุนไพร 67 ชนิด ที่ใช้ในสาธารณสุขมูลฐาน ข้าวกล้อง