ชื่อท้องถิ่น

หนวดงิ้ว หนาดงั่ว หนาดวัว (อุดรธานี) คลู (ภาคใต้) , หล่วงไซ(แต้จิ๋ว), หลวนซี(จีนกลางป, ขี้ปาน(แม่ฮ่องสอน)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Pluchea indica (L.) Less

วงศ์

COMPOSITAE

ชื่อสามัญ

Indain Marsh Fleabane

ลักษณะ

เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีกิ่งก้านสาขามาก สูงประมาณ 1-2.5 เมตร เปลือกต้นมีขนเล็ก ๆ ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปไข่กลับ กว้าง 1-5 ซม. ยาว 2.5-10 ซม. ปลายใบหยัก ดอกออกเป็นช่อที่ยอดและซอกใบ ช่อดอกฝอยเป็นพุ่ม ยาวประมาณ 5-10 ซม. สีขาวอมม่วง

การขยายพันธุ์

โดยใช้กิ่งแก่ปักชำ

ส่วนที่นำมาเป็นยา

ต้น เปลือกต้น ใบ ราก

สารเคมีและสาร
อาหารที่สำคัญ

ในใบพบ 3-(2,3-diacetoxy-Z-methyl-butyryl) cuauhtemone
ต้น มี Chlorogenic acid c]t sesquiterpene , โซเดียมคลอไรด์ (Sodium chloride), โปแทสเซียม

สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

  ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการไม่ปกติ : ใช้ใบสดที่สมบูรณ์เต็มที่ (หนัก 40-50 กรัม) ถ้าเป็นใบแห้ง(15-20 กรัม) หั่นเป็นชิ้น ต้มกับน้ำ ดื่มวันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร ครั้งละ 1 ถ้วยชา
     : ใช้ทั้งต้นต้มกับน้ำดื่ม
  แก้ผื่นคัน : ใช้ต้มทั้งต้นผสมน้ำอาบ
  ยาช่วยย่อย : ใช้ใบสด ตำให้ละเอียด ผสมแป้งข้าวเจ้าและน้ำตาล นึ่งกิน
  ริดสีดวงทวาร : ใช้เปลือกต้น(ขูดเอาขนออก) แบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนที่ 1 นำมาตากแห้งทำเป็นยาสูบ ส่วนที่ 2 ต้มกิน และส่วนที่ 3 ต้มน้ำเอาไอรมทวารหนัก
  แผลอักเสบ : ใช้ใบหรือรากสด ตำพอกบริเวณที่เป็น

ข้อควรระวัง

ไม่ควรรับประทานมากเกินไป อาจทำให้เกิดตะคริวได้

ขมิ้นชัน สมุนไพร 67 ชนิด ที่ใช้ในสาธารณสุขมูลฐาน ข่า