ชื่อท้องถิ่น

กำลังช้างเผือก ขอบชะนาง เครือเขาเขียว ยาเขียว (กลาง) คาย รางเย็น (ยะลา) จอลอดิเออ ซั้งกะ ปั้งกะล่ะ พอหน่อเตอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ดุเหว่า ทิดพุด (นครศรีธรรมราช) น้ำนอง (สระบุรี) ย่ำแย้ แอดแอ (เพชรบูรณ์)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Thunbergia laurifolia Linn.

วงศ์

THUNBERGIACEAE

ชื่อสามัญ


ลักษณะ

เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง มักเกาะเกี่ยวกับต้นไม้ใหญ่ เถาแข็งแรง มีลักษณะ เป็นข้อปล้อง สีเขียว ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปขอบขนานหรือรูปไข่ ขอบใบเว้าเล็กน้อย ปลายใบเป็นติ่งแหลม ใบกว้าง4-7 ซม. ยาว8-14 ซม. ขนาดของใบจะไล่กันขึ้นไปจากใหญ่ไปเล็ก (โดยไล่จากโคนก้านไปหาปลายก้าน) ดอกออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ เป็นช่ออยู่ตรงง่ามใบมีดอกย่อย 3-4 ดอก ห้อยระย้าลงมา ลักษณะของดอกเป็นกรวยตื้น หลอดกรวยยาวประมาณ 1 ซม ปลายดอกแยกเป็นแฉก 5 แฉก หรือ 5 กลีบ ดอกมีสีม่วงอ่อนภายในหลอดดอกเป็นสีขาว มีเกสร ตัวผู้ประมาณ 4 อัน ผล เป็นฝัก ตรงปลายฝักแหลมคล้ายปากนกเมื่อผลแก่จะแตกออก เป็น 2 ซีก

การขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ดหรือใช้เถาแก่ปักชำ เวลาปลูกต้องทำคานไว้สำหรับเลื้อยเกาะด้วย

ส่วนที่นำมาเป็นยา

ใบ

สารเคมีและสารอาหารที่สำคัญ


สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

 ถอนพิษเบื่อเมา  :  ใช้ใบตากแห้งชงเป็นชาดื่ม

 แก้พิษเบื่อเมาจากเห็ด  :  ใช้ใบสด 5 ใบ ตำกับน้ำซาวข้าวให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำมาดื่ม

ข้อควรรู้