ชื่อท้องถิ่น

เขลียง เรียนแก่ (นครศรีธรรมราช) เหลียง ผักกะเหรียง (ชุมพร) ผักเหมียง (พังงา)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Gnetumgnemon Linn

วงศ์

GNETACEAE

ชื่อสามัญ

-

ลักษณะ

เป็นไม้พุ่ม ลำต้นเป็นข้อ สูง 1-2 เมตร ชอบขึ้นในที่ร่มรำไร ใบคู่ รูปรี ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ยาว 10-15 เซนติเมตรใบเป็นมัน เส้นกลางใบสีขาวอมเหลืองเห็นชัดเจน ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่งขนาดเล็กยาว 3-4 ซม. คล้ายดอกพริกไทย มีปุ่มหุ้มโคนดอก เมื่อบานกลีบดอกและเกสรเป็นสีขาว เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ผล เป็นช่อ ช่อหนุ่งจะมี 10-15 ผล รูปกลมรี คล้ายรูปไข่ หัวแหลมท้ายมน คล้ายผลกาแฟแต่ยาวกว่า ผลอ่อนมีสีเขียวเมื่สุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เมล็ด รูปไข่ยาว 1-1.5 ซม. กว้าง 1 ซม. มีเปลือกแข็งหุ้ม

การขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ด ปักชำหรือตอนกิ่ง

ส่วนที่นำมาเป็นยา

ยอด ใบอ่อน

สารเคมีและสารอาหารสำคัญ

ไขมัน, คาร์โบไฮเดรต, โปรตีน, แคลเซียม, ฟอสฟอรัส, ธาตุเหล็ก และวิตามินเอ บี1 บี2

สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

ใบอ่อนมีคุณค่าทางหารสูงเป็นยาบำรุงกำลัง ตำพอกใบหน้าช่วยลอกฝ้าใบหน้าเป็นนวลใย