ชื่อท้องถิ่น

พุงทลาย (จันทบุรี)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Scaphium scaphigerum (G. Don) , Scaphium macropodum Beaum.

วงศ์

STERCULIACEAE

ชื่อสามัญ


ลักษณะ

เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ ขนาดใหญ่ สูง 30 - 40 เมตร ลำต้นกลมตรงแตกกิ่งก้านสาขาเฉพาะเรือนยอด ต้นที่ยังเล็ก ใบจะมีรูปคล้ายตรีหยักแหลมเป็น 3 พู เมื่อต้นโตเต็มที่ ใบจะเปลี่ยนเป็นรูปรีแผ่นใบเหนียว ผิวเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีเขียวอ่อน มีขนสีแดงที่กลีบเลี้ยง แยกเป็นดอกเพศผู้และดอกสมบูรณ์เพศ ผลเป็นฝัก มีปีกสีน้ำตาล (สำเภา) ติดที่โคนผล มีลักษณะเป็นแผ่นบาง ๆ สีน้ำตาลปลิวไปได้ไกล เมล็ดรูปกลมรีหัวท้ายมน ผลสีน้ำตาลขรุขระ

การขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง

ส่วนที่นำมาเป็นยา

เนื้อ เมล็ด เยื่อหุ้มเมล็ด

สารเคมีและสารอาหารที่สำคัญ


สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

  ยาแก้เจ็บคอ เนื้อของผล 10 - 20 ผล ใช้รวมกับชะเอมจีน โดยเอาต้มกับน้ำ จิบน้ำบ่อย ๆ แก้เจ็บคอ

  แก้ตาอักเสบนำ เมล็ดมาแช่น้ำให้ส่วนเปลือกหุ้มเมล็ดพอง ลอกออกมาเป็นแผ่น ๆ ใช้ผ้ากอซชุบน้ำพอชื้นวางทับบนตา แล้ววางแผ่นเปลือกหุ้มเมล็ดลงบนผ้ากอซ
  แก้ร้อนใน เยื่อหุ้มเมล็ด ที่พองตัวลอกออกมาเป็นแผ่น นำมาต้มใส่น้ำตาลกรวด กินได้ทั้งร้อนและเย็น

ข้อควรรู้และควรระวัง