ชื่อท้องถิ่น

มะขุน มะโอ (เหนือ) , สีมาบาลี (มาเลย์-ยะลา),โกร้ยตะลอง (เขมร), สังอู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), อิ่ว (จีน)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Citrus maxima Merr.

วงศ์

RUTACEAE

ชื่อสามัญ


ลักษณะ

ต้น เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง พุ่มสูง 5 -8 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาที่เรือนยอดของต้น ลำต้นมีสีน้ำตาล และมีหนามเล็ก ๆ ใบ เป็นใบประกอบ มีใบย่อย 1 ใบ แผ่นใบเหมือนมะกรูด ใบมี 2 ส่วน ส่วนบนรูปกลม ปลายเว้า ส่วนล่างเป็นก้านใบที่ขยายแผ่ออกมีขนาดเล็กกว่าส่วนแรก ดอก ออกเป็นช่อสั้น หรือดอกเดี่ยวตามบริเวณง่ามใบ ดอกสีขาวอมเขียว มี 5 กลีบ กลางดอกมีเกสร 20 - 25 อัน มีกลิ่นหอมสดชื่น ผล มีขนาดใหญ่รูปกลม บางพันธุ์ตรงขั้วมีจุกสูงขึ้นมา ผิวผลเมื่อยังอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จัดเป็นสีเหลืองอมเขียว ผิวของผลไม่เรียบ ภายในผลเป็นช่อง ๆ มีแผ่นบาง ๆ สีขาว กั้นเนื้อ ให้แยกออกจากกัน เนื้อแต่ละส่วนเรียกว่า กลีบ เนื้อผลสีเหลือง หรือสีชมพู รสหวาน หรือหวานอมเปรี้ยว แล้วแต่พันธุ์ เช่น ขาวน้ำผึ้ง ขาวแป้น ทองดี มีเมล็ดฝังอยู่ระหว่างเนื้อ มากกว่า 1 เมล็ด

การขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด เสียบยอด

ส่วนที่นำมาเป็นยา

ใบ ดอก ผล เปลือกผล

สารเคมีและสาร
อาหารที่สำคัญ

ผิวผลนอกสุด มีน้ำมันหอมระเหย
เปลือกผลสีขาว มีสารเพคตินสูง ธาตุฟอสฟอรัส แคลเซียม
เนื้อผล มีกรดอนินทรีย์ วิตามินซี เอ และบี มีธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส

สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

  อาหารไม่ย่อย ท้องอืดท้องเฟ้อ : รับประทาน เนื้อส้มโอครั้งละ 60 กรัม วันละ 3 ครั้ง
  ไอ หอบ หืด : ใช้เนื้อส้มโอ 1 ลูก ใส่ในถ้วยกระเบื้องมีฝาปิด เติมน้ำผึ้งพอเหมาะ นำไปนึ่งจนสุก รับประทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ วันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น
  แก้ไอมีเสมหะ: เนื้อส้มโอหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่เหล้าพอท่วมปิดฝาแช่ไว้ 1 คืน แล้วนำไปต้มผสมน้ำผึ้ง กวนให้เข้ากัน ใช้จิบกินบ่อย ๆ
        เนื้อส้มโอ 90 กรัม ข้าวหมาก 15 กรัม น้ำผึ้ง 30 กรัม ตุ๋น รับประทานวันละครั้ง   สตรีแพ้ท้อง คลื่นไส้อาเจียน: ใช้เปลือกส้มโอ 15-20 กรัม สับให้ละเอียด เติมน้ำพอเหมาะ ต้มดื่มแทนน้ำชา

ข้อควรรู้และควรระวัง

ส้มโอมีสารอาหาร โปรตีน, คาร์โบไฮเดรท, แคลเซียมซึ่งช่วยบำรุงกระดูกและฟัน, เหล็ก, ฟอสฟอรัส วิตามินบี1 ช่วยในการย่อยอาหารเสริมสร้างการทำงานของกล้ามเนื้อและหัวใจ , วิตามินบี 2 ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด และวิตามินซีที่มีมากจะช่วยในการป้องกันเลือดออกตามไรฟัน และป้องกันโรคหวัดได้ดี