ชื่อท้องถิ่น

แอปเปิ้ล (ไทย) ผิ่งก้วย (จีน-แต้จิ๋ว)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Pyrus malus Linn.

วงศ์

ROSACEAE

ชื่อสามัญ

apple

ลักษณะ

เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดสูงประมาณ 15 เมตร มีขนนุ่มปกคลุมที่กิ่งก้าน ใบ เป็นใบเดี่ยว ค่อนข้างใหญ่มีรอยหยักคล้ายฟันเลื่อยยาวประมาณ 9-25 ซม. กว้างประมาณ 5-14 ซม. ดอก ออกเป็นช่อ คล้ายร่ม กลีบดอกสีขาวหรือชมพู มีดอกประมาณ 3-7 ดอกต่อหนึ่งช่อ แต่ละดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้อยู่เป็นจำนวนมาก ผล รูปร่างกลม ผลมีมีรอยบุ๋มบริเวณขั้วและก้น

การขยายพันธุ์

 

ส่วนที่นำมาเป็นยา

ใบ ผล เปลือกผล

สารเคมีและสารอาหารสำคัญ

มีกรดอินทรีย์ มีวิตามินเอและซี มีฟอสฟอรัส เกลือโปตัสเซียม และแคลเซียม นอกจากนั้นยังพบว่าผลของแอปเปิ้ลนั้นมีคาร์โบไฮเดรทที่ละลายน้ำเป็นส่วนใหญ่ ส่วนจะมีน้ำตาลมากน้อยนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของแอปเปิ้ล

สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้


 รักษาความดันให้เป็นปกติ : รับประทานแอปเปิ้ลปอกเปลือกทุกวัน วันละ 3 ผล
 ลดระดับน้ำตาลในเลือด : รับประทานแอปเปิ้ลครั้งละ 2 ผล วันละ 2 ครั้ง (วันละ 4 ผล) เป็นเวลา 3 วัน
 ท้องร่วงอย่างอ่อน : ใช้เนื้อแอปเปิ้ล สับละเอียด จำนวนพอเหมาะ รับประทานติดต่อกัน 2 วัน ระบบขับถ่ายจะคืนสู่ปกติ
 คลื่นไส้ มีเสมหะ : ใช้เปลือกแอปเปิ้ลสด 15-30 กรัม ต้มกับน้ำ กรองเอากากทิ้ง ดื่มเมื่อมีอาการ
 แก้อาการแพ้ท้อง : ใช้เนื้อแอปเปิ้ล 30-60 กรัม คั่วกับข้าว 30 กรัม จนเหลือง ชงดื่มแทนชา