ชื่อท้องถิ่น

พู้ท่อ (จีน - แต้จิ๋ว)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Vitis Vinifera Linn.

วงศ์

VITIDACEAE

ชื่อสามัญ


ลักษณะ

เป็นไม้เลื้อย เนื้อแข็ง กิ่งก้านเล็ก เลื้อยเกาะด้วยมือพัน ใบกลม ขอบหยักเว้าลึก 3 -7 พู โคนใบเหว้าหัวใจ ดอกออกเป็นช่อแยกแขนง ดอกย่อยขนาดเล็กสีเขียว โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยก 5 กลีบ ผลออกเป็นพวง ผลย่อยรูปกลมรี ฉ่ำน้ำ ผิวมีนวลเกาะ รสหวาน มีสีเขียว ม่วงแดง และม่วงดำ แล้วแต่พันธุ์ มี 1 - 4 เมล็ด ปัจจุบันมีการผลิตองุ่นไร้เมล็ด แต่ผลค่อนข้างเล็ก

การขยายพันธุ์

ปักชำ ตอนกิ่งและติดตา

ส่วนที่นำมาเป็นยา

ราก ผล เถา ใบ

สารเคมีและสารอาหารที่สำคัญ

ในองุ่นจะมีโปรแตสเซียม ฟอสฟอรัส เกลือแร่ วิตามิน และน้ำตาลกลูโคลส ฟรุกโตส ที่ทำให้ร่างกายสดชื่นกระปรี้กระเปร่า

สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

รักษาแผลสด ห้ามเลือด ใบสด หรือเมล็ด ตำพอก
  ยาระบายอ่อน ๆ ลูกเกด ชนิดสีดำ 1 ช้อนโต๊ะเติมน้ำสุกพอท่วม แช่ทิ้งไว้ข้ามคืนในตอนเช้า กินทั้งน้ำและเนื้อ
  แก้ไข้ ลูกเกด แช่น้ำให้นิ่ม ตำคั้นเอาแต่น้ำ ผสมน้ำคั้นจากมะขามป้อม อย่างละเท่า ๆ กัน กินครั้งละ 1 - 2 ช้อนโต๊ะ
  ยาแก้ไอ ลูกเกด ตำให้แหลก 1 ถ้วย ดอกดีปลีแห้งบดเป็นผง ครึ่งถ้วย น้ำตาลกรวดบดละเอียด 2 ถ้วย เคี่ยวรวมกันจนเหนียว ยกลงตั้งไว้ให้เย็น เติมน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ กินครั้งละ 1 - 2 ช้อนชา วันละ 2 ครั้ง เช้า - เย็น
  โรคตับอักเสบ ดีซ่าน และอาการปวดจากข้ออักเสบ สตรแพ้ท้อง มีอาการบวมน้ำ ปัสสาวะขัด : ใช้รากองุ่นสด 30-90 กรัม ต้มรับประทานน้ำ
  โลหิตจาง เวียนศรีษะ ใจสั่น : ดื่มเหล้าองุ่น จำนวนพอเหมาะ วันละ 2-3 ครั้ง เป็นประจำ
  ปวดตามข้อ : ใช้รากองุ่นสด 60-90 กรัม ล้างให้สะอาด สับให้ละเอียด ใส่รวมกับกีบเท้าหมู 1 ข้าง ผสมน้ำกับเหล้า จำนวนเท่ากัน ต้มหรือ ตุ๋น รับประทาน

ข้อควรรู้และควรระวัง

องุ่นจะมีน้ำตาลสูง มีวิตามินเอซึ่งช่วยในการบำรุงสายตาป้องกันผิวหนัง และวิตามินซีที่ช่วยป้องกันโรคหวัด เลือดออกตามไรฟันและยังป้องกันโรคมะเร็งได้อีกด้วย