หน้าแรก > รายละเอียดข่าว >

 

 


ประชาสัมพันธ์ 10  โรคอันตรายในฤดูฝน
 

   
   

         ขณะนี้ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝนแล้ว ทำให้สภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้เชื้อโรคหลายชนิดสามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว นำไปสู่โรคภัยไข้เจ็บต่างๆมากมาย เทศบาลเมืองทุ่งสง มีความห่วงใย
ต่อความปลอดภัยของพี่น้องประชาชนในเขตเทศบาลเมืองทุ่งสง จึงแจ้งประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคต่างๆ
ที่มากับหน้าฝนให้รับทราบ ดังนี้ 

1. กลุ่มโรคติดต่อทางน้ำและอาหาร

ที่พบบ่อยคือ โรคท้องเดิน โรคอุจจาาระร่วงเฉียบพลัน บิด ไทฟอยด์ อาหารเป็นพิษ ตับอักเสบ เป็นต้น ซึ่งสาเหตุเกิดจากการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน รวมทั้งการรับประทานอาหารสุกๆดิบๆหรือใช้น้ำที่ไม่สะอาด เช่น น้ำคลองมาประกอบอาหาร และยังรวมถึงการรับประทานที่ปรุงไว้นาน หรือเกิน ๖  ชั่วโมง เช่น อาหารกล่อง ที่ทำไว้สำหรับคนจำนวนมาก ที่อาจจะบูดเสียได้ง่าย

๒. กลุ่มโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ

เมื่ออาการเปลี่ยนแปลงบ่อย ทั้งร้อนจัด ฝนตก ทำให้คนป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจได้ง่าย โดยเฉพาะโรคหวัด โรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส และแบคทีเรียในอากาศ แถมยังติดต่อกันได้ง่ายเพียงแค่การไอ  จาม หรือมือที่เปื้อนน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ ฉะนั้นแล้วเพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจายสู่ผู้อื่น ควรใช้ผ้าปิดปากและจมูกเมื่อเวลาไอ จาม หรือจะสวมหน้ากากอนามัยก็เป็นอีกหนึ่งวิธีป้องกันที่ดี  และที่สำคัญ หมั่นล้างมือบ่อยๆเพื่อฆ่าเชื้อโรค  และยังเป็นการป้องกันไม่ให้เราแพร่เชื้อโรคไปสู่ผู้อื่น  และนอกจากโรคหวัด และโรคไข้หวัดใหญแล้ว ยังมีโรคคออักเสบ โรคหลอดลมอักเสบ  และโรคปอดบวมที่พบบ่อยในช่วงฤดูฝน ซึ่งโรคปอดบวมนี้ถือเป็นโรคอันตรายถึงชีวิตหากเกิดขึ้นกับเด็กอายุต่ำกว่า  ๕  ปี  หรือผู้สูงอายุ  เพราะฉะนั้น  หากพ่อแม่สังเกตุว่าลูกหลานมีไข้ ไอ หายใจเร็ว หรือหอบเหนื่อย ต้องรีบพาไปพบแพทย์ทันที

๓. โรคฉี่หนู 

โรคที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน มีหนูเป็นตัวแพร่เชื้อโรคที่สำคัญ โดยเชื้อออกมาจากปัสสาวะสัตว์แล้วปนเปื้อนในน้ำท่วมขัง โดยโรคนี้จะติดต่อทางบาดแผล รอยขีดข่วน หรือตามเยื่อบุตา จมูก ปาก หรือผิวหนังที่แช่น้ำนานๆ อาการหลังจากที่ได้รับเชื้อประมาณ ๔ – ๑๐ วัน จะมีไข้สูงทันที ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง และศรีษะมาก บางรายอาจมีอาการตาแดง  เจ็บคอ  เบื่ออาหาร  และท้องเดินร่วมด้วย จำเป็นต้องรีบพบแพทย์มิเช่นนั้นอาจถึงขั้นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ  กล้ามเนือหัวใจอักเสบ  และเสียชีวิตได้

๔. โรคน้ำกัดเท้า

หรือฮ่องกงฟุต เป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา  ซึ่งเกิดจากการย่ำน้ำที่มีเชื้อโรค หรือ อับชื้น  อาการของโรคน้ำกัดเท้า คือ  คันตามซอกนิ้วเท้าและผิวหนังลอกออกเป็นขุยๆ  เป็นผื่นที่เท้า  ผิวหนังที่เท้าเกิดผุพอง  นิ้วเท้าหนา และแตก ที่เป็นมากและพบบ่อยจะเกิดตรงซอกนิ้ว  แต่ก็สามารถเกิดที่ส้นเท้า และอาจลุกลามไปถึงฝ่าเท้าและเล็บได้ วิธีป้องกัน เช็ดเท้าให้แห้ง หากมีบาดแผลควรใช้แอลกอฮอล์เช็ดแล้วทาด้วยยาฆ่าเชื้อโรคที่สำคัญควรป้องกันการสัมผัสเท้ากับน้ำสกปรก

 ๕. โรคไข้เลือดออก 

พาหนะนำโรคไข้เลือดออก คือ ยุงลาย  ซึ่งหากได้รับเชื้อประมาณ ๕-๘ วัน  ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง ติดต่อกันประมาณ  ๒ – ๗ วัน  หน้าแดง  ปวดศรีษะ  ปวดกล้ามเนื้อ  ปวดกระดูก  บางรายเบื่ออาหาร  ปวดท้อง  อาเจียน  จากนั้นจะมีจุดอดงเล็กๆขึ้นตามตัว  ในรายที่มีอาการรุนแรงจะเกิดภาวะช็อกหลังไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว  ตัวเย็น  ปากเขียว  บางรายมีอาการเลือดออกในกระเพาะอาหาร  ถ่ายเป็นเลือด  หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันเวลา  ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้ภายใน  ๑๒ – ๒๔  ชั่วโมง  ข้อควรระวัง  ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก  ห้ามทานยาแอสไพรินเด็ดขาด  เพราะจะทำให้เลือดออกได้ง่ายขึ้น

๖.  โรคมาลาเรีย

เกิดจากเชื้อโปรโตชัวที่มากับ “ยุงก้นปล่อง”  ซึ่งมักอาศัยอยู่ในป่าตามแนวชายแดน  ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง  หนาวสั่นเป็นพักๆ  ในเวลาเดินๆ  แต่หากไปพบแพทย์ก็สามารถรักษาหายได้ด้วยการทานยาไม่กี่วัน  แต่หากไปพบแพทย์ช้า  ผู้ป่วยอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน  เช่น  ภาวะมาลาเรียขึ้นสมอง  ภาวะปอดบวมน้ำ  ภาวะไตวาย  ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยสียชีวิต

๗.  โรคไข้สมองอักเสบเจอี

เกิดจากเชื้อไวรัส  โดยมี ยุงรำคาญ  ซึ่งแพร่พันธ์ตามแหล่งน้ำในทุ่งนาเป็นพาหนะนำโรค  โดยยุงรำคาญได้รับเชื้อมาจาก หมู  และเมื่อมากัดคนก็จะปล่อยเชื้อเข้าสู่ร่ายกายคนไปด้วย  หากคนที่ได้รับเชื้อแล้วมักจะไม่มีอาการแสดงให้เห็น  แต่ในบางรายอาจมีอาการไข้สูง  ปวดศีรษะ  คลื่นไส้อาเจียน  และอ่อ่นเพลีย  บางรายที่มีอาการรุนแรงอาจไม่รู้วึกตัว  และเสียชีวิตได้  ขณะที่บางรายหากหายป่วยแล้ว อาจมีความพิการทางสมอง  สติปัญญาเสื่อม และเป็นอัมพาตได้

๘.  โรคเยื่อตาอักเสบหรือโรคตาแดง

เป็นโรคตาที่พบได้บ่อย เป็นการอักเสบของเยื่อบุตา(conjuntiva)ที่คลุมหนังตาบนและล่างรวมเยื่อบุตา ที่คลุมตาขาว โรคตาแดงอาจจะเป็นแบบเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรัง มีอาการตาแดง  เคืองแสบตา  น้ำตาไหล  เจ็บตาเคืองแสบตา  มักเป็นที่ตาข้างใดข้างหนึ่งก่อนแล้วจะติดต่อมายังตาอีกข้างหนึ่ง มักจะติดต่อทางมือ ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดตัวโดยมากใช้เวลาหาย 2 สัปดาห์ วิธีป้องกัน   สามารถป้องกันด้วยการล้างตาให้สะอาดเมื่อถูกฝุ่นละออง  หมั่นล้างมือบ่อยๆ  ไม่ควรขยี้ตา รวมทั้งไม่คลุกคลี  สัมผัส  ใกล้ชิด ใช้เสื้อผ้า  ของใช้ หรือนอนร่วมกับผู้ที่เป็นตาแดง

๙.  อันตรายจากสัตว์มีพิษ

ในช่วงที่มีปัญหาน้ำท่วม  อาจมีสัตว์มีพิษ  เช่น  งู  ตะขาบ  แมงป่อง  หนีน้ำท่วมเข้ามาอาศัยอยู่ในบ้านเรือน  ซึ่งหากไม่ระวังก็อาจถูกสัตว์เหล่านี้กัด หรือ ต่อยได้

๑๐.  โรคอาหารเป็นพิษจากเห็ดพิษ

ในช่วงหน้าฝนของทุกปี  จะเป็นช่วงที่มีเห็ดพิษที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเป็นจำนวนมาก 
ซึ่งหากใครไปรับประทานเห็ดพิษเหล่านี้เข้าไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์  อาจล้มป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษได้ 
และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้  

ดังนั้น  เทศบาลเมืองทุ่งสง  จึงขอประชาสัมพันธ์ให้พี่น้องประชาชนหมั่นดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง  และอบอุ่นอยู่เสมอ  เพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคต่างๆที่จะเข้าสู่ร่างกาย  และควรที่จะเข้ารับการฉีดวัคซีนตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข  หรือตามประกาศของทางราชการ  ด้วยความปราถนาดีจากเทศบาลเมืองทุ่งสง

 

แหล่งที่มา : งานประชาสัมพันธ์เทศบาลเมืองทุ่งสง

ลงประกาศเมื่อ : ๒๕  กันยายน ๒๕๕