http://www.tungsong.com

 

โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการการใช้ไฟฟ้าในอาคารสำนักงาน | โครงการทะเบียนต้นไม้ในเขตเมือง

 

ชื่อโครงการทะเบียนต้นไม้ในเขตเมือง
เทศบาลเมืองทุ่งสง
ผู้ประสานงาน นางอัจฉรา  แผ่นทอง โทร๐๘๙-๖๔๕๕๘๒๐

  ๑. ชื่อโครงการ   ทะเบียนต้นไม้ในเขตเมือง
  ๒. หลักการและเหตุผล
ด้วยเทศบาลเมืองทุ่งสงมีนโยบายเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มุ่งสู่เมืองทุ่งสง  “เมืองคาร์บอนต่ำ” และได้เข้าร่วมโครงการขยายผลกิจกรรมก๊าซเรือนกระจกในท้องถิ่นเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองลดคาร์บอน
ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินการจัดการพื้นที่สีเขียวของเมือง เป็นไปอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบจึงจัดทำโครงการทะเบียนต้นไม้ในเขตเมือง โดยตั้งเป้าหมายและดำเนินกิจกรรม จัดทำทะเบียนต้นไม้ใหญ่  ต้นไม้ทั่วไป  ของสวนสาธารณะ และพื้นที่สาธารณะ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของเทศบาลเมืองทุ่งสง
  ๓. วัตถุประสงค์  
เพื่อลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยการอนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่ในเมืองให้เป็นแหล่งดูดซับคาร์บอนของเมือง
  ๔. ระยะเวลาดำเนินงาน
ไตรมาสที่ ๔ ของปีงบ ๕๖  ต่อเนื่องถึงปีงบ ๕๗
 ๕.   เป้าหมาย

(๑.)       ต้นไม้ใหญ่ในพื้นที่เขตเทศบาล 7.17 ตร... ที่มีขนาดÆไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตรหรือสูงกว่า 30 เมตรต้องได้รับการสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลอย่างละเอียดทุกต้น(ชื่อต้นไม้ ขนาดลำต้นและความสูง ภาพถ่าย เจ้าของ ประวัติ ฯลฯ)

(๒.)       ต้นไม้ยืนต้นทั่วไปที่อยู่ในความรับผิดชอบของเทศบาลได้รับการขึ้นทะเบียนทุกต้น(ชื่อต้นไม้ จำนวน อายุหรือลักษณะโดยย่อ)

 ๖.  กิจกรรม วิธีการดำเนินงานและแผนงาน

เพื่อสร้างจิตสำนึกรักต้นไม้ และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการดำเนินโครงการนี้   เทศบาลจะดำเนินการตามกิจกรรมและขั้นตอนดังต่อไปนี้

ขั้นตอน/กิจกรรมการดำเนินงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน

ผู้รับผิดชอบ

ปี2556

ปี2557

 

10

11

12

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

 

1.      จัดประชุมเจ้าหน้าที่ของเทศบาล และผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่โรงเรียนและชุมชน เพื่อชี้แจงแนวคิดโครงการ และหารือต่อแนวทางการดำเนินงานการสำรวจและขึ้นทะเบียนต้นไม้  รวมทั้งขออาสาสมัครจากทุกภาคส่วนมาร่วมเป็นคณะทำงาน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

น.ส.กฤษณา

กิตติพัฒนศักดิ์

2.      แต่งตั้ง “คณะทำงาน” เพื่อวางแผน  ออกแบบฟอร์มการเก็บข้อมูล  และแบ่งหน้าที่ในการออกสำรวจต้นไม้ใหญ่ในพื้นที่เป้าหมาย รวมถึงแนวทางการประชาสัมพันธ์เพื่อให้แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับที่ตั้งของต้นไม้ใหญ่ที่ทรงคุณค่า เพื่อจะได้ออกไปสำรวจ  ถ่ายภาพ แล้วนำมาขึ้นทะเบียนไว้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

นางอัจฉรา 

แผ่นทอง

3.      ทำการประชาสัมพันธ์โครงการทางวิทยุ ป้ายประชาสัมพันธ์ เว็บไซต์  และจัดทำคู่มือสำรวจต้นไม้ รวมทั้งรับแจ้งข้อมูลจากชุมชนเกี่ยวกับต้นไม้ใหญ่อันทรงคุณค่า  เพื่อจะได้ออกไปสำรวจด้วย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

4.      ดำเนินการสำรวจต้นไม้ในชุมชน และพื้นที่สาธารณะ  ตามแผนที่วางไว้ โดยแต่ละต้นจะทำการวัดความสูง  ขนาดของเส้นรอบวงระดับอก  ประวัติความเป็นมาหรือความสำคัญต่อวิถี/ภูมิปัญญาชุมชน  พิกัดที่ตั้ง (เพื่ออาจจะนำมาทำเป็นแผนที่ต้นไม้ทรงคุณค่าในอนาคต)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

5.      จัดประชุมคณะทำงาน เพื่อสรุปผลการสำรวจ  และร่วมกันกำหนดเกณฑ์และคัดเลือกต้นไม้ที่ได้จากการสำรวจที่สมควรที่จะได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นไม้ใหญ่อันทรงคุณค่าของเมืองทุ่งสง  รวมทั้งแนวทางและแผนการติดตามผลการคงอยู่และบำรุงรักษาต้นไม้ที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ร่วมกันด้วย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

6.      จัดทำแผนที่ต้นไม้ใหญ่ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน(และ/หรือจัดทำเป็นเอกสารบันทึกไม้ใหญ่ทรงคุณค่าของเมือง เพื่อเผยแพร่แก่ประชาชนและผู้มาเยี่ยมเมือง โดยเฉพาะสามารถใช้เป็นเอกสารแจกในวันที่จะจัดงานต่างๆ)  และทำทะเบียนคุมต้นไม้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้ว

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

7.      ดำเนินการติดตามผลการคงอยู่ และดูแลบำรุงรักษาของต้นไม้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนอย่างต่อเนื่องตามแผนที่วางไว้  โดยจัดทำรายงานเสนอผู้บริหารหากพบว่ามีการทำลาย หรือการเกิดอาการของโรคต่างๆ  เพื่อจะได้หาทางแก้ไขต่อไป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8.      จัดนิทรรศการผลการสำรวจเพื่อขึ้นทะเบียนต้นไม้ใหญ่ทรงคุณค่าในชุมชนและพื้นที่สาธารณะต่างๆ ในเขตเทศบาลฯ  และเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากชุมชนและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในแนวทางการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ต้นไม้เหล่านี้ระหว่างวันที่ 3-5 ธันวาคม 2557

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 ๗.   ผู้รับผิดชอบโครงการ

·       งานสวนสาธารณะ ฝ่ายการโยธา  กองช่าง เทศบาลเมืองทุ่งสง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช โทร. ๐๗๕-๔๑๑๕๒๒

·       คณะทำงานตัวชี้วัดอาเซียน ด้านขยะและพื้นที่สีเขียว

 ๘. งบประมาณ

-          ค่าใช้จ่ายในการจัดทำคู่มือการวัดต้นไม้และคำอธิบายตาราง โดยเบิกจ่ายจาก แผนงานอุตสาหกรรมและการโยธา งานบริหารทั่วไป หมวดค่าวัสดุ ประเภทค่าวัสดุสำนักงาน

-          ค่าจัดทำแบบฟอร์มการสำรวจข้อมูล

-          ค่าอุปกรณ์สำหรับใช้ในการสำรวจ เช่นเทปวัดระยะ สายวัด ไม้ตั้งระดับ

 ๙.  สถานที่ดำเนินการ

(๑.)         ต้นไม้ใหญ่

·         พื้นที่ทั้งหมดของเขตเทศบาล จำนวน 7.17 ตร...

(๒.)         ต้นไม้ยืนต้นทั่วไป

·         สวนสาธารณะ เช่น สวนสาธารณะถ้ำตลอด สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติฯ  สวนพฤกษาสิรินธร

·         วัด เช่น วัดท่าแพ วัดเขาปรีดีฯลฯ

·         โรงเรียนในสังกัดเทศบาล

·         ชุมชนต่าง ๆ ในเขตเทศบาล

·         อาคารที่อยู่ในความรับผิดชอบของเทศบาล เช่น สำนักงานเทศบาล ศูนย์บริหารจัดการมูลฝอยแบบครบวงจร (บ้านลุ่มพ้อ) ศูนย์จักรกล สำนักงานกองช่างสุขาภิบาล สนามหน้าที่ว่าการทุ่งสง ฯลฯ

·         พื้นที่สาธารณะ ริมถนนและเกาะกลางถนนเช่นต้นไม้ริมคลองท่าแพ ต้นไม้ริมถนนทุ่งสง-สุราษฎร์ / ถนนทุ่งสง-นครศรีฯ ฯลฯ

 ๑๐. ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับตัวชี้วัด และการประเมินผล

ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

ตัวชี้วัด

การประเมินผล

๑.        ต้นไม้ใหญ่อันทรงคุณค่ามีภาพถ่าย ประวัติ และแผนที่ต้นไม้ใหญ่ของเมือง ระบุพื้นที่ของต้นไม้ใหญ่ทุกต้นที่มีขนาด เส้นรอบวง 100 ..หรือเส้นผ่าศูนย์กลาง 30    .. ขึ้นไป (วัดสูงจากพื้นดิน 1.35 .)

มีระบบฐานข้อมูลต้นไม้ใหญ่ที่สำรวจได้

ประเมินจาก

·     เอกสารรายการต้นไม้ที่ได้รับการทำระบบฐานข้อมูล

·     ข้อมูลเผยแพร่ในเว็บไซต์

๒.        ต้นไม้ทั่วไป ที่อยู่ในความรับผิดชอบของเทศบาลได้รับการขึ้นทะเบียนทุกต้น

มีรายการต้นไม้ที่ทำการสำรวจเพื่อขึ้นทะเบียนที่สามารถตรวจสอบได้

ประเมินจากเอกสารรายการต้นไม้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน

๓.        สามารถลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้เพิ่มขึ้น

ปริมาณการดูดซับคาร์บอนของต้นไม้ที่อนุรักษ์ไว้ = มวลชีวภาพของต้นไม้ทุกต้นรวมกัน x 0.5

(เช็คในสูตรอีกที)

เก็บข้อมูลความสูงและเส้นรอบวงระดับอกของต้นไม้ทุกต้นที่อนุรักษ์ และนำมาใส่โปรแกรมของโครงการที่พัฒนาขึ้น