http://www.tungsong.com

ขนมจีน ผักเหนาะ ครกบด บอกหนมจีน

หน้าแรก

 

                 ผักเหนาะ ผักเกล็ด ผักแกล้ม ผักจิ้ม หมายถึง ผักสด ผักลวกกะทิ หรือผักดอง ชาวใต้มักรับประทานควบคู่กับ อาหารเผ็ดเช่น น้ำพริก(น้ำชุบ) แกงพุงปลา แกงคั่ว ขนมจีน ฯลฯ

 ชาวใต้นิยมกินผักเหนาะเพื่อให้ต่างรส แก้เอียนคาว หรือลดรสชาติบางชนิดลง ทั้งยังให้คุณค่าทางโภชนาการ และ คุณค่าทางยาสมุนไพรเพิ่มขึ้น

ที่เรียกว่าผักเกล็ดเพราะ คำว่า “เกล็ด” ในภาษาถิ่นใต้หมายถึง การกัดกินที่ละนิด ๆ
ที่เรียกว่าผักจิ้มเพราะ เมื่อกินกับน้ำพริกจะนิยมใช้ผัก “จิ้ม” ลงไปในน้ำพริก
 ปัจจุบันความนิยมกินผักเหนาะของชาวใต้ ยังคงมีอยู่โดยทั่วไป โดยเฉพาะการกินผักเหนาะกับขนมจีน หากไม่มีแล้ว จะรู้สึกว่าการทานขนมจีนมื้อนั้น จะขาดรสชาติไปในทันที
วัฒนธรรมการกินผักเหนาะกับขนมจีน เท่าที่นิยมกันมีอยู่ 3 ลักษณะคือ
 1. กินในลักษณะผักสด เป็นที่นิยมกันมากเพราะสะดวก และให้คุณค่าทางอาหาร โดยการนำเอาพืชผักหรือผล เช่น แตงกวา ถั่วฟักยาว มะเขือ ลูกเนียง ฯลฯ หรือยอดผักต่าง ๆ เช่นแมงลัก โหระพา มันปู แซะ กระถิน มะม่วงหิมพานต์ ฯลฯ มาล้างให้สะอาด แล้วนำมาจัดรวมไว้ในภาชนะเดียวกัน ทั้งที่ยังเป็นผล ต้นผัก หรืออาจนำมาหั่นเป็นชิ้นพอคำก็ได้
 2. นำผักสดมาลวกกะทิ ผักเหนาะที่นิยมนำมาลวกกะทิก่อนกิน เช่นผักบุ้ง ปลีกล้วย หยวกกล้วย มะเขือ ผักกูด ลูกเหรียง หน่อไม้ ฯลฯ
 3. นำผักสดมาหมักดอง ผักเหนาะที่นิยมนำมาหมักดองก่อนกิน เช่นผักเสี้ยน ผักหนาม สะตอ ประ ผักกาด ฯลฯ ซึ่งการดองต้องใช้เวลาหลายวัน แต่สำหรับผักบุ้ง แตงกวา ปลีกล้วย จาก สามารถดองแล้วรับประทานได้เลย
 

วิธีการล้างผักให้สะอาดเพื่อลดปริมาณสารพิษ

วิธีการล้างผักผลไม้ให้สะอาดหลายๆ วิธี การบริโภคผักให้ปลอดภัยจากสารพิษ

ผักเป็นอาหารที่สำคัญต่อร่างกาย ประกอบด้วยเซลลูโรสจำนวนมากซึ่งมีประโยชน์ช่วยในการขับถ่ายทำให้ไม่เป็นโรคท้องผูก และที่สำคัญในผักมีวิตามินเอช่วยบำรุงสายตา วิตามินซี ช่วยบำรุงเหงือกและฟัน และสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย แต่ในปัจจุบันผู้บริโภคมักประสบปัญหาสารตกค้างในพืชผัก อันเนื่องมาจากการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชที่ไม่ถูกต้องไม่เหมาะสม และไม่ระมัดระวังของเกษตรกรผู้ผลิต ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนผู้บริโภค ดังนั้นผู้บริโภคจึงควรพิจารณาเลือกซื้อผักที่ปลอดภัยจากสารพิษ เช่น ผักที่ได้รับรองจากหน่วยราชการ หรือองค์กรต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีวิธีการที่ทำให้สารพิษตกค้างในผักลดน้อยลง เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภคด้วยวิธีการต่างๆ ก่อนนำประกอบอาหารรับประทาน ดังนี้

ผักเหนาะ ผักเกล็ด ผักแกล้ม ผักจิ้ม หมายถึง ผักสด ผักลวกกะทิ หรือผักดอง ชาวใต้มักรับประทานควบคู่กับ อาหารเผ็ดเช่น น้ำพริก(น้ำชุบ) แกงพุงปลา แกงคั่ว ขนมจีน ฯลฯ

 ชาวใต้นิยมกินผักเหนาะเพื่อให้ต่างรส แก้เอียนคาว หรือลดรสชาติบางชนิดลง ทั้งยังให้คุณค่าทางโภชนาการ และ คุณค่าทางยาสมุนไพรเพิ่มขึ้น

ที่เรียกว่าผักเกล็ดเพราะ คำว่า “เกล็ด” ในภาษาถิ่นใต้หมายถึง การกัดกินที่ละนิด ๆ
ที่เรียกว่าผักจิ้มเพราะ เมื่อกินกับน้ำพริกจะนิยมใช้ผัก “จิ้ม” ลงไปในน้ำพริก
 ปัจจุบันความนิยมกินผักเหนาะของชาวใต้ ยังคงมีอยู่โดยทั่วไป โดยเฉพาะการกินผักเหนาะกับขนมจีน หากไม่มีแล้ว จะรู้สึกว่าการทานขนมจีนมื้อนั้น จะขาดรสชาติไปในทันที
วัฒนธรรมการกินผักเหนาะกับขนมจีน เท่าที่นิยมกันมีอยู่ 3 ลักษณะคือ
 1. กินในลักษณะผักสด เป็นที่นิยมกันมากเพราะสะดวก และให้คุณค่าทางอาหาร โดยการนำเอาพืชผักหรือผล เช่น แตงกวา ถั่วฟักยาว มะเขือ ลูกเนียง ฯลฯ หรือยอดผักต่าง ๆ เช่นแมงลัก โหระพา มันปู แซะ กระถิน มะม่วงหิมพานต์ ฯลฯ มาล้างให้สะอาด แล้วนำมาจัดรวมไว้ในภาชนะเดียวกัน ทั้งที่ยังเป็นผล ต้นผัก หรืออาจนำมาหั่นเป็นชิ้นพอคำก็ได้
 2. นำผักสดมาลวกกะทิ ผักเหนาะที่นิยมนำมาลวกกะทิก่อนกิน เช่นผักบุ้ง ปลีกล้วย หยวกกล้วย มะเขือ ผักกูด ลูกเหรียง หน่อไม้ ฯลฯ
 3. นำผักสดมาหมักดอง ผักเหนาะที่นิยมนำมาหมักดองก่อนกิน เช่นผักเสี้ยน ผักหนาม สะตอ ประ ผักกาด ฯลฯ ซึ่งการดองต้องใช้เวลาหลายวัน แต่สำหรับผักบุ้ง แตงกวา ปลีกล้วย จาก สามารถดองแล้วรับประทานได้เลย
 

วิธีการล้างผักให้สะอาดเพื่อลดปริมาณสารพิษ

วิธีการล้างผักผลไม้ให้สะอาดหลายๆ วิธี การบริโภคผักให้ปลอดภัยจากสารพิษ

ผักเป็นอาหารที่สำคัญต่อร่างกาย ประกอบด้วยเซลลูโรสจำนวนมากซึ่งมีประโยชน์ช่วยในการขับถ่ายทำให้ไม่เป็นโรคท้องผูก และที่สำคัญในผักมีวิตามินเอช่วยบำรุงสายตา วิตามินซี ช่วยบำรุงเหงือกและฟัน และสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย แต่ในปัจจุบันผู้บริโภคมักประสบปัญหาสารตกค้างในพืชผัก อันเนื่องมาจากการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชที่ไม่ถูกต้องไม่เหมาะสม และไม่ระมัดระวังของเกษตรกรผู้ผลิต ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนผู้บริโภค ดังนั้นผู้บริโภคจึงควรพิจารณาเลือกซื้อผักที่ปลอดภัยจากสารพิษ เช่น ผักที่ได้รับรองจากหน่วยราชการ หรือองค์กรต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีวิธีการที่ทำให้สารพิษตกค้างในผักลดน้อยลง เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภคด้วยวิธีการต่างๆ ก่อนนำประกอบอาหารรับประทาน ดังนี้

วิธีการ ลดสารพิษได้
1. ลอกหรือปอกเปลือก แล้วแช่น้ำสะอาดนาน 5-10 นาที จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ร้อยละ 27-72
2. แช่น้ำปูนใส นาน 10นาทีจากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ร้อยละ 34-52
3. การใช้ความร้อน ร้อยละ 48-50
4. แช่น้ำด่างทับทิม นาน 10 นาที (ด่างทับทิม 20-30 เกล็ด) ผสมน้ำ 4 ลิตร) ล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ร้อยละ 35-43
5. ล้างด้วยน้ำไหลจากก๊อก นาน 2 นาที ร้อยละ 25-39
6. แช่น้ำซาวข้าว นาน 10 นาที และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ร้อยละ 29-38
7. แช่น้ำส้มสายชูหรือเกลือป่น ( น้ำส้มสายชูหรือเกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 4 ลิตร) และล้างด้วยน้ำสะอาด ร้อยละ 29-38
8. แช่น้ำยาล้างผัก นาน 10 นาที และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ร้อยละ 22-36
ข้อมูลโดย ฝ่ายตรวจวิเคราะห์สารเคมีและบริการเครื่องมือ กองป้องกันและกำจัดศัตรูพืช กรมส่งเสริมการเกษตร โทร. 561-4663
 

กล้วย | กะถิน | กะสัง | กุ่มน้ำ | แก้มช่อน  |  ขนุน | ขมิ้นขาว | ขี้มูกมุดสัง | จิกนา | ฉิ่ง | ชีล้อม | แซะ | ดอกดาหลา
ตะลิงปิง | แตงกวา | แต้ว | ถั่วฝักยาว | ทำมังยอดขาว | บัวกวัก | บัวบก | ผักกาดนกเขา  | ผักกูด | ผักเขลียง | ผักริ้น  ผักสัง | ผักเสี้ยน (เสี้ยนบ้าน) | ผักหนาม | แพงพวยน้ำ | มะกอก | มะกอกป่า | มะเขือเปราะ | มะเดื่อ | มะระขี้นก มะละกอ | มังค่า | มันปู |แมงลัก | ยอดเทียม | ยาร่วง | รกช้าง | ลำเพ็ง | ลูกเนียง | ลูกประ | สะเดา | สะตอ |
สาระแหน่ | แส้ | เหรียง | แหมะ | โหระพา