เพื่อตอบคำถามนี้ เราต้องทราบก่อนว่า นักบริหารทำหน้าที่อะไร จากนั้นเราจึงจะสามารถกำหนด  ข้อธรรมที่ช่วยให้นักบริหารปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หน้าที่ของนักบริหารปรากฏอยู่ในคำจำกัดความที่ว่า "การบริหารหมายถึงศิลปะแห่งการทำงานให้สำเร็จโดยอาศัยคนอื่น"  นักบริหารมีหน้าที่วางแผน จัดองค์การอำนวยการและควบคุมทรัพยากรบุคคลและทรัพยากรอื่นๆ ให้ดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกันเพื่อบรรลุเป้าหมายที่วางไว้

กล่าวโดยสรุป หน้าที่ของนักบริหารมีอยู่ 5 ประการ ตามอักษรภาษอังกฤษทั้งห้าคือ POSDC ดังนี้

๑) การวางแผน (Planning) หมายถึง การกำหนดนโยบายและมาตรการอันเป็นแนวทางปฏิบัติ เพื่อบรรลุเป้าหมายที่วางไว้  มีรายละเอียดที่เรียกว่าโครงการ ประกอบด้วย

๒) การจัดองค์การ (Organizing) คือการกำหนดตำแหน่งสายบังคับบัญชาในองค์การ ว่ามีตำแหน่งอะไรบ้าง แต่ละตำแหน่งมีอำนาจหน้าที่เช่นไร ใครสั่งการใคร เป็นต้น

๓) การแต่งตั้งบุคลากร (Staffing) หมายถึงการสรรหาบุคลากรมาบรรจุแต่งตั้งในตำแหน่งที่กำหนดไว้ตามคุณลักษณะข้อที่ ๑ และข้อที่ ๓ สำคัญมาก ส่วนข้อที่ ๒ มีความสำคัญน้อยเพราะเขาสามารถใช้ผู้บังคับบัญชาที่มีความชำนาญเฉพาะด้านได้

สำหรับนักบริหารระดับกลาง คุณลักษณะทั้งสามข้อมีความสำคัญพอ ๆ กัน นั่นคือ เขาต้องมีความชำนาญเฉพาะด้านและมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชา ในขณะเดียวกันเขาต้องมีปัญญาที่มองภาพกว้างและไกล เพื่อเตรียมตัวสำหรับขึ้นเป็นนักบริหารระดับสูง นักบริหารระดับกลางบางคนไม่ได้เตรียมตัวให้พร้อมในด้านสติปัญญาเมื่อขึ้นสูงก็ถูกผู้ใต้บังคับบัญชานินทาว่า "โง่แล้วยังขยัน" เหมือนกับภาษาอังกฤษที่ว่า "สัญชาติลิงยิ่งปีนสูงขึ้นไปเท่าไร คนก็รู้ว่าเป็นลิงมากขึ้นเท่านั้น"

สำหรับนักบริหารระดับต้นที่ต้องลงมือปฏิบัติงานร่วมกับพนักงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างใกล้ชิดนั้น คุณลักษณะข้อที่ ๒ และที่ ๓ คือความชำนาญเฉพาะด้าน และมนุษย์สัมพันธ์สำคัญมาก แต่กระนั้นเขาก็ต้องพัฒนาคุณลักษณะข้อที่ ๑ คือ ปัญญาเอาไว้เพื่อเตรียมเลื่อนสู่ระดับกลางต่อไป

ขงจื้อเตือนว่า "อย่าห่วงว่าใครไม่รู้ว่าท่านเก่ง หรือมีความสามารถ จงห่วงแต่ว่าสักวันหนึ่งเมื่อคนเขายกย่องหรือเลื่อนตำแหน่งท่าน ท่านมีความเก่งและความสามารถสมกับที่เขายกย่องหรือเลื่อนตำแหน่งหรือเปล่า"

ในฐานะนักบริหาร ขุนหมื่นทำหน้าที่ทุกอย่างตั้งแต่วางแผน จัดองค์การ แต่งตั้งบุคลากรและอำนวยการในตอนสั่งการยังอัดฉีดพนักงานด้วยว่า  ถ้าทุกคนทำงานเสร็จเขาจะแจกของแปลกให้รับประทาน

การบริหารสมัยโบราณมีกระบวนการครบทุกประการก็จริง แต่ก็มีหลักฐานว่าย่อหย่อนในเรื่องการควบคุม เมื่อควบคุมไม่ดีจึงมีการรั่วไหลหรือการทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวงเรื่องเหล่านี้เป็นปัญหาเรื้อรังในสังคมไทยที่มีมานานแล้ว ถึงขนาดโคลงโลกนิติได้บันทึกเอาไว้ว่า

สวนสัตว์แห่งหนึ่งได้เสือโคร่งใหม่มาหนึ่งตัวทางผู้บริหารระดับสูงของสวนสัตว์ตั้งงบประมาณอาหารเสือตัวนั้นเป็นเงินหนึ่งบาทต่อวันตามค่าเงินในสมัยนั้น  เมื่อคนเลี้ยงเสือได้เบิกเงิน ๑ บาท ไปซื้อเนื้อมาเลี้ยงเสือแต่ละวัน  เขาได้ยักยอกเงินค่าอาหารเสือไป 1 สลึง เสือได้กินเนื้อราคา ๗๕ สตางค์ต่อวัน  เสือไม่อ้วน ผู้คนมาชมสวนสัตว์เห็นเสือไม่อ้วน  จึงร้องเรียนไปที่ผู้อำนวยการสวนสัตว์ว่า ตั้งงบประมาณค่าอาหารเสือน้อยไป ผู้อำนวยการจึงส่งผู้ตรวจการไปตรวจ  ผู้ตรวจการคนนั้นไปตรวจแล้วรู้ความจริงว่ามีการยักยอกเงินไป ๑ สลึง  เขาจึงขอเงินค่าปิดปากอีก ๑ สลึง สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายเพราะคน ๒ คนยักยอกไป ๒ สลึง เหลือค่าอาหารวันละ ๒ สลึงเท่านั้น เสือจึงผอมลงไปอีก ต่อมามีผู้รายงานว่าเสือผอมลงๆ  ผู้อำนวยการจึงส่งผู้ตรวจการระดับสูงไป ผู้ตรวจการคนนี้ ไปตรวจได้ ๓ วัน รู้ความจริงเรื่องทุจริต จึงขอแบ่งเงินค่าปิดปากอีก ๑ สลึง คน ๓ คนยักยอกไป ๓ สลึง  เสือเหลือค่าอาหารหนึ่งสลึงจึงผอมเหลือแต่หนังหุ้มกระดูก  นอนหายใจระรวย  มีคนรายงานไปที่ผู้อำนวยการสวนสัตว์ว่าทำไมยิ่งตรวจ สถานการณ์ของเสือยิ่งย่ำแย่ ผู้อำนวยการจึงส่งผู้ตรวจการระดับสูงสุดไปตรวจเหตุการณ์  ผู้ตรวจการคนนี้ไปได้ ๓ วัน  เสือตาย  เพราะเขาไปขอแบ่งสลึงสุดท้ายเป็นค่าปิดปาก ดังโคลงโลกนิติ (๒๙๘) ที่ว่า

เบิกทรัพย์วันละบาทซื้อ     มังสา

นายหนึ่งเลี้ยงพยัคฆา             ไป่อ้วน

สองสามสี่นายมา                    กำกับ  กันแฮ

บังทรัพย์สี่ส่วนถ้วน                 บาทสิ้นเสือตาย

โคลงโลกนิติบทนี้แสดงว่า ปัญหาเรื่องการทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องเก่ามีมานานแล้วในสังคมไทย  นักบริหารต้องปฏิบัติธรรมข้อใด จึงจะแก้ปัญหานี้ได้

ยิ่งไปกว่านั้นการทำงานร่วมกันของคนหมู่มากก็มักมีความขัดแย้งในองค์การ คนเก่งทั้งหลายตั้งหน้าขัดขากันเอง  นักบริหารต้องสามารถจูงใจคนเก่งให้ปรองดองกันและพร้อมใจกันทำงานให้บรรลุผลตามเป้าหมาย เข้าทำนองที่ว่า "ผลัดกันดี ดีทุกคน ชิงกันดีไม่ดีสักคน"  คนไทยจะทำงานเป็นทีมได้ดีขึ้นถ้ามีนักบริหารที่ดีคอยกำกับดูแล