นุษย์เป็นสัตว์ที่จะต้องฝึก จึงจะสามารถพัฒนา และดำรงชีวิตต่อไปได้ การฝึกนี้
หมายถึงทำเป็นกระบวนการ กล่าวคือ มีทั้งการฝึกหัด ปฏิบัติ และเรียนรู้ ต่างกับสัตว์อื่นๆ ซึ่งอาศัยสัญชาตญาณ หากจะมีการฝึกหัดและเรียนรู้บ้างก็เป็นส่วนน้อย ส่วนใหญ่มันอยู่ได้ด้วยสัญชาตญาณเกิดมาได้ประเดี๋ยวเดียวก็เดินได้ และดำรงชีวิตต่อไปได้
ส่วนมนุษย์อาศัยการฝึกเป็นสำคัญ ถ้าไม่ฝึก คือไม่เรียนรู้ ไม่ฝึกหัดพัฒนาแล้ว
จะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อยู่ไม่รอด ขอให้ลองดูตัวเรา กว่าจะพัฒนามาถึงขั้นนี้ ได้ผ่านกระบวนการฝึกมาแล้วอย่างโชกโชนและยาวนาน มีการลองผิด ลองถูก ยิ่งฝึกฝนพัฒนาชีวิตยิ่งเจริญงอกงามขึ้นเป็นลำดับ

จุดประสงค์ของการฝึก ก็คือ เพื่อให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ (Home Excellence)
สามารถพึ่งตนเอง และเป็นที่พึ่งของคนอื่นและสังคมได้ ทำตัวให้สอดคล้องกับธรรมชาติ เพราะคนเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ลักษณะของธรรมชาติคือมีความหลากหลาย พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และมีวิธีจัดการตัวเอง ขอให้ดูชีวิตในป่าจะเห็นถึงความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ ต่างมีการพึ่งพิงอิงแอบ อาศัยกันและกัน จึงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
ฉะนั้น มนุษย์ก็ไม่ควรจะเอาตัวรอดเพียงคนเดียว ต้องรู้จักเอื้ออาทรต่อผู้อื่น ต่อ
สรรพสัตว์และสรรพสิ่งด้วย โลกนี้จึงจะสามารถดำรงอยู่ได้ หากเอาแต่เบียดเบียนผู้อื่น วันหนึ่งสังคมก็จะพัง แล้วตัวเราเองก็ไม่ได้ถ้าเบียดเบียนธรรมชาติ เช่น ตัดไม้ทำลายป่า ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่บันยะบันยัง จนกระทบถึงระบบนิเวศทำให้โลกเสียดุลยภาพ เราก็จะถูกธรรมชาติลงโทษ ซึ่งทุกวันนี้ก็ได้เห็นกันชัดๆ แล้วว่านับวันภัยธรรมชาติจะรุนแรงและถี่ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในบ้านเรา หรือในส่วนต่างๆ ของโลก แม้กระนั้นคนส่วนใหญ่ก็ยังไม่ตระหนักถึงมหันภัยนี้
การฝึกประการแรกซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่สุดคือ ให้มีสุขภาพดีทั้งกายและจิต คือให้
มีร่างกายแข็งแรง ปลอดจากโรค และมีจิตเข็มแข็ง ต่อไปจึงเป็นเรื่องของการฝึกและเรียนรู้ให้มีทักษะและปัญญารู้จักตนเอง และรู้เท่าทันโลก ฉะนั้น การฝึกตนจึงแยกออกได้เป็น 3 ส่วน คือ การฝึกตน ฝึกจิต และการอภิวัฒน์สมอง ซึ่งทั้ง 3 ส่วนนี้ คือ สุขภาพองค์รวมที่จะทำให้ผู้ฝึกมีชีวิตอยู่ได้อย่างมีคุณภาพและเป็นที่พึ่งของคนอื่นและสังคมได้

1. การฝึกกาย การบริหารหรือออกกำลังกายนั้นมีหลายวิธีสุดแต่ใครจะชอบ
แบบไหน
ซึ่งก็ต้องพิจารณาถึงอายุด้วย แต่ที่ถือว่าดีที่สุด คือการออกกำลังกายแบบเคลื่อน
ไหวช้าๆ แบบโยคะหรือไทเก็ก (รวมทั้งชี่กงแบบอื่นๆ) เพราะการบริหารแบบนี้ นอกจากจะช่วยเผาผลาญไขมันแล้วยังช่วยบริหารกล้ามเนื้อ และอวัยวะภายใน ช่วยให้ลมปราณโคจรทั่วร่างช่วยพัฒนาสมอง โดยการหลั่งสาร "มอร์ฟีนในสมอง" ทำให้อายุยืนปลอดโรคและแก่ช้า ข้อดีอีกข้อหนึ่งของการฝึกโยคะ (โยคะอาสนะ) หรือไทเก็ก ซึ่งมีการยืดกล้ามเนื้อยืดเส้นเอ็นด้วยการบิดตัว คือทำให้กระแสโลหิตซึมเข้าไปในกระดูกมากกว่าการออกกำลังทั่วไป และจะช่วยป้องกันการเสื่อมของกระดูกด้วย
สำหรับการฝึกโยคะ ถ้าไม่มีเวลาจะฝึกให้ครบทุกท่า ฝึกท่าไหว้พระอาทิตย์ (สุริยะ
นมัสการ) ท่าเดียวก็พอ ท่านี้มีท่าย่อย 12 ท่าต่อเนื่องกันไป ท่าสุริยะนมัสการนื้ถือว่าเป็นการออกกำลังกายที่สมบูรณ์ที่สุดท่าหนึ่งเท่าที่มนุษย์คิดได้ ทำให้เราสามารถปรับตัวให้เข้ากับแหล่งพลังคอสมิค ซึ่งได้แก่ พระอาทิตย์ ทำให้อวัยวะที่มีอยู่ในร่างกายทั้งหมดแข็งแรง เช่น กระดูก กล้ามเนื้อ เส้นโลหิต กระเพาะอาหาร ระบบหายใจ และระบบประสาท
การฝึกอีกอย่างหนึ่งที่ถือว่าเป็นสุดยอดอีกวิชาหนึ่ง คือวิชาพลังธรรมจักร (ฝ่าหลุน
กง) วิชานี้ถือว่าเป็นวิชาในสายพุทธและเต๋ารวมกันเป็นการฝึกทั้งกายและจิต การฝึกวิชานี้ไม่ใช่การออกกำลังหรือบริหารร่างกายแบบทั่วๆ ไป แต่ถือเป็นการบำเพ็ญปฏิบัติธรรม เพราะเป็นการฝึกยกระดับจิตของผู้ฝึกด้วย โดยเน้นให้ผู้ฝึกไม่ยึดติดปล่อยวาง การยึดมั่นถือมั่น ทำตนให้เข้ากับหลักธรรมแห่งจักรวาล ซึ่งได้แก่ความจริง (Truthfulness) ความเมตตา (Compassion หรือ Benevolence) และความอดทน (Forbearance)
การฝึกก็ไม่ยาก มีเพียง 5 ท่า ใช้เวลาประมาณชั่วโมงครึ่ง เป็นท่าที่เรียบง่าย
ไม่ซับซ้อนแต่ให้ผลที่เป็นพลังต่อร่างกายอย่างมากมาย การบริหารจะสิ้นสุดลงด้วยท่านั่งสมาธิ เพื่อให้เกิดความสงบอย่างแท้จริง ผลที่ได้รับจากการฝึก คือช่วยผ่อนคลายความเครียด สร้างความสมดุลแก่ร่างกาย ชำระล้างภายใน เสริมสร้างสุขภาพให้สมบูรณ์ ช่วยให้ดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขฝึกฝนและพัฒนาการยกระดับทางจิตวิญญาณ เจริญสติปัญญาเพื่อรู้แจ้งหลักธรรรมของจักรวาล
การบริหารอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งไม่อยากให้ผ่านไปเพราะไม่ยากแก่การฝึก คือ การฝึกการ
หายใจ ซึ่งมีทั้งแบบการหายใจสลับรูจมูกแบบ โยคะ ที่เรียกว่า "อนุโลมะ วิโลมะ ปราณยามะ" การฝึกหายใจแบบสลับรูจมูกนี้ ส่วนใหญ่ก็เพื่อรักษาความสมดุลระหว่างระบบเผาผลาญอาหาร และระบบสร้างพลังกับเนื้อหนังของร่างกายให้อยู่ในอัตราส่วนที่ดีที่สุดนั่นเอง กล่าวคือ ให้สมดุลระหว่างพลังสุริยันกับพลังจันทรา
ส่วนการหายใจอีกแบบ คือ แบบที่หลวงปู่พุทธอิสระสอน การหายใจแบบนี้ท่าน
เรียกว่า "ลมเจ็ดฐาน" ซึ่งมีอยู่ในพระพุทธศาสนา คือวิชาอานาปานสติกรรมฐาน ท่านบอกว่าสัตว์ที่หายใจสั้นและถี่จะมีชีวิตสั้น ส่วนสัตว์ที่หายใจยาวและเป็นระบบ จะมีอายุยืนยาว อวัยวะในกาย เซลล์ต่างๆ ในกายจะตื่นตัว และเปลี่ยนแปลงในทางดีเสมอ ใครที่ร่างกายอ่อนแอ ออกกำลังหรือบริหารร่างกายอย่างอื่นไม่ไหว ขอแนะนำให้ฝึกการหายใจดังกล่าวข้างต้น ก็จะเป็นประโยชน์แก่สุขภาพของท่าน
2. การฝึกจิตโดยที่จิตกับกายอยู่ด้วยกัยต่างสัมพันธ์กันและกัน จึงจำเป็นต้องให้
ความสำคัญแก่สุขภาพของจิตด้วย ไม่ใช่สนใจแต่กาย ความจริงดูออกจะให้ความแก่จิตมากกว่าด้วยซ้ำ ดังมีคำกล่าวว่า "จิตเป็นนาย กายเป็๋นบ่าว"
วิธีการฝึกจิตมีมากมาย มีทั้งสายโยคะ สายทิเบต สายพุทธ สายเต๋า สายเซ็น ฯลฯ
สำหรับการฝึกจิตโดยทำสมาธิตามที่มีสอนในพุทธศาสนานั้นมีหลายวิธี และแล้วแต่จุดมุ่งหมาย ว่าเพียงเพื่อให้อยู่ในโลกได้อย่างมีความสุข ในระดับโลกียะหรือให้ถึงซึ่งความหลุดพ้น คือ นิพพาน และสุญญตาในระดับโลกุตระ
การทำสมาธิมีหลายวิธี และหลายสำนักด้วยกัน แต่จุดมุ่งหมายนั้นเหมือนกันคือ เพื่อ
ให้จิตเป็นสมาธิหรือให้จิตว่าง ซึ่งจะไม่ขอขยายความเพราะท่านผู้อ่านคงรู้ดีอยู่แล้ว
จิตที่เป็นสมาธิในพุทธศาสนานั้น ท่านพุทธทาสกล่าวว่า ต้องประกอบด้วยองค์
ประกอบ 3 อย่างคือ
1. จิตบริสุทธิ์ สะอาดี (Pure) ไม่มีอะไรเจือปน สะอาดบริสุทธิ์
2. จิตมั่นคงที่สุด หรือตั้งมั่นดี (Steady หรือ Firm)
3. จิตว่องไวในหน้าที่ของมันอย่างที่สุด (Active)
สำหรับจิตว่าง ท่านพุทธทาสว่า จิตว่างมีคุณสมบัติคือ บริสุทธิ์ สะอาดที่สุด สว่าง
ไสว แจ่มใส
แจ้งที่สุด สงบเยือกเย็นที่สุด ที่เรียกว่า "สาม ส" คือ สะอาด สว่าง สงบ (Clean,
Clear, Calm)
ท่านพุทธทาสกล่าวด้วยว่า ให้ระวังเรื่อง"สาม  ก " ซึ่งเป็นข้าศึกแก่กัน มีอันตรายอย่าง
ยิ่งได้แก่ กิน กาม เกียรติ
การที่จะให้จิตเป็นสมาธิได้ พระบรมศาสดาสอนไว้ว่า ต้องอย่าประมาท ต้องเตรียม
อาวุธไว้ต่อสู้กับความชั่วให้พร้อม
เมื่อมีศีลอยู่ในจิตสืบเนื่องกันอยู่ จิตก็จะตั้งมั่นในสมาธิ แต่สมาธิจะมั่นคงได้ ก็ต้องมี
สติเป็นเครื่องประคับประคอง ความรู้ตัว รู้เท่า รู้ทัน หรือสติที่เกิดขึ้นนั้น เป็นอาวุธที่จะใช้ทำสงครามกับศัตรูที่คมกล้า รู้จักตัด รู้จักลานกิ่งก้านของความชั่วออกไปได้ทีละกิ่งทีละต้น
ผู้มีสติจะเป็นผู้มีอาวุธคมกล้า สามารถตัดและยับยั้งกระแสของกิเลสได้ง่าย
ฉะนั้น เมื่อมีสติต่อเนื่องกันไปโดยไม่ขาดสาย สมาธิก็ย่อมจะเกิดขึ้น พร้อมที่จะทำ
สงครามชนะความชั่วได้เสมอ"
จิตที่เป็นสมาธิกับคลื่นสมองจะสัมพันธ์โดยคลื่นสมองแบ่งได้เป็น 5 ระดับ คือ
1. คลื่นเบต้า (Beta Wave) มีความถี่ประมาณ 13 รอบต่อวินาที จนถึง 40 รอบ
ต่อวินาที ยิ่งสูงขึ้นไปเท่าไร จิตใจก็ยิ่งวุ่นวายสับสนมากขึ้นไปเท่านั้น
2. คลื่นอัลฟา (Alpha Wave) เป็นสภาพที่จิตสงบ เยือกเย็น มีความถี่ประมาณ
8 - 13 รอบต่อวินาที มีจังหวะที่ช้ากว่า มีขนาดใหญ่กว่า และมีพลังงานมากกว่า คลื่นอัลฟาทำให้คนเรามีอารมณ์ดี ร่าเริง เบิกบาน มีความคิดสร้างสรรค์สูง มีภูมิคุ้มกันในร่างกายสูง มีจินตภาพดี ความจำดี มีการผ่อนคลายสูง มีสมาธิสูง มีพลังความคิดด้านบวกสูง มีความคิดที่นำไปสู่ความเป็นจริงสูง ฯลฯ
3. คลื่นเธตต้า (Theta wave) มีความถี่ 5-7 รอบต่อวินาที คนปกติทั่วไปมักจะเข้า
สู่สภาวะนี้ในขณะที่หลับลึกๆ อย่างสบาย
4. และ 5. คลื่นเดลตา (Delta Wave) และคลื่นคอสมิค (Cosmic Wave) มีความถี่
อยู่ระหว่าง 4 รอบต่อนาที จนถึงนิ่งเป็นเส้นตรง
โยคีโบราณได้กล่าวไว้ว่า ผู้ที่เข้าถึงสภาวะนี้จะเกิดภาวะปีติสุขที่ยิ่งใหญ่ที่สุด มี
ความรัก ความเมตตาที่ยิ่งใหญ่ (Universal Love) ให้กับทุกสรรพสิ่งความรู้สึกแบ่งแยกว่า "ตัวฉัน" "พวกฉัน" จะค่อยๆ จางหายไป จนเหลือแต่ "ตัวเรา" "พวกรา" มีควมรักความเมตตาที่ยิ่งใหญ่ให้กับทุกสรรพสิ่งในจักรวาลเข้ามาแทนที่
คลื่นคอสมิคหรือคลื่นของจักรวาล จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่า คลื่นแห่งความรัก
ความเมตตาที่ยิ่งใหญ่
3. การอภิวัฒน์สมอง แก่นแท้ของการอภิวัฒน์สมองนั้น อยู่ที่การมีความคิดในเชิง
บวก เชิงสร้างสรรค์ ไม่ว่าในการทำงาน การใช้ชีวิตและการคบหากับผู้คน ซึ่งจะทำให้สมองหลั่งสารฮอร์โมน หรือ "มอร์ฟีนในสมอง" ออกมา ซึ่งจะก่อให้เกิดผลดีต่อร่างกาย จิตใจ และระบบดภูมิคุ้มกันโรค เคล็ดของการปฏิบัติเพื่อ "การอภิวัฒน์สมอง" นั้นก็อยู่ที่การมุ่งกระตุ้นใช้สมองซีกขวาอย่างไรถึงจะทำให้สมองหลั่ง "มอร์ฟีนในสมอง" ออกมาได้
สมองซีกซ้ายเป็นสมองที่มนุษย์สมัยนี้ใช้งานหนักมากที่สุด โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการ
ความก้าวหน้า ความสำเร็จทางสังคม อย่างไรก็ดีการมีวิถีชีวิตโดยมีสมองซีกซ้ายเป็นศูนย์กลาง มีข้อเสียอยู่ประการหนึ่งที่ไม่อาจมองข้ามได้ คือการดำเนินชีวิตโดยใช้สมองซีกซ้ายมากเกินไป แม้จะทำให้ผู้นั้นประสบความสำเร็จทางโลกก็จริง แต่ก็จะทำให้ผู้นั้นแก่เร็ว ร่างกายทรุดโทรมเร็ว เป็นโรคมะเร็ง โรคหัวใจ และโรคต่างๆ ได้ง่าย โลกที่มี "มนุษย์สองซีกซ้าย" เป็นผู้นำ จึงกลายเป็นโลกของวัตถุนิยม เต็มไปด้วยการขัดแย้ง ปะทะ ทำลายแม้กระทั่งสภาพแวดล้อมของโลก ฉะนั้น ถ้าจะติดเปลี่ยนแปลงโลกนี้ ก่อนอื่นจะต้องเปลี่ยนซอฟท์แวร์ของการใช้สมองคนเราเสียก่อน โดยหันมาใช้สมองซีกขวาให้มากขึ้น
ผู้ที่ใช้สมองซีกขวาจะมองโลกในแง่ดี มีความคิดในเชิงบวกจิตใจสงบ มุ่งปรองดอง
กับผู้คน ซึ่งการทำเช่นนี้จะทำให้ผู้ที่มีสุขภาพดีอยู่แล้วกระปรี้กระเปร่ายิ่งขึ้น สามารถชะลอความแก่เฒ่าคงความหนุ่มสาวไว้ได้นาน โดยปกติในสังคมสมัยใหม่นี้ คนเราต้องฝึกฝนใช้สมองซีกซ้ายอยู่แล้ว หากฝึกสมองซึกขวาประกอบด้วยก็จะทำให้สมดุล ทั้งสมองซีกซ้ายและสมองซีกขวา ซึ่งเป็นพัฒนาการที่จำเป็นยิ่งสำหรับการดำรงชีวิตใน "สังคมข่าวสาร" ในศตวรรษที่ 21
นอกจากนี้ให้ฝึกใช้จินตภาพ (Image Tranining) ในสมองให้มากก่อนที่จะลงมือ
ทำจริงแล้วจะทำได้อย่างราบรื่นขึ้น เพราะการฝึกใช้จินตภาพ เป็นการใช้สมองซีกขวาเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าเราจะมีจินตภาพเกี่ยวกับชีวิตของเราอย่างไร ก็ไม่ควรลืมเจตนารมณ์ที่จะรับใช้เพื่อนมนุษย์อย่างจริงใจ การมีความอยากรับใช้เพื่อนมนุษย์จะทำให้สมองหลั่งสารฮอร์โมนที่ทำให้ผู้นั้นรู้สึกเป็นสุขใจออกมาอย่างเป็นธรรมชาติ
ความสัมพันธ์ระหว่างสมองซีกซ้ายกับสมองซีกขวา และการมีทัศนคติในเชิงบวก
ต่อทุกเรื่องราวแสดงออกมาเป็นแผนภูมิได้ดังนี้



พัฒนาการที่เป็นองค์รวม
1. Physical Development                     พัฒนาการทางกาย
2. Social Development                        พัฒนาการทางสังคม
3. Emotional Development                  พัฒนาการทางจิตใจ
4. Intellectual/Wisdom Development    พัฒนาการทางปัญญา

วัตถุประสงค์ในการนำเสนอบทความนี้ ก็เพื่อต้องการแบ่งผันสิ่งที่ได้ศึกษาค้นคว้า
และเรียนรู้ฝึกหัดปฏิบัติมา และจากประสบการณ์ตรงที่ได้จากการฝึกฝน เพื่อจุดประกายให้ผู้สูงอายุ ได้ตระหนักและเห็นคุณค่าของการฝึกตน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเอง ให้แกร่งพอที่จะมีชีวิตอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ พึ่งตัวเองได้ และมีความสุข เมื่อถึงเวลาตาย ก็ขอให้ตายในวัยอันสมควรและตายอย่างสงบ ไม่ทรมาน ไม่เป็นภาระแก่ผู้อยู่ใกล้ชิด ผลที่จะได้อีกประการหนึ่งก็คือประสิทธิภาพในการทำงานจะเพิ่มขึ้น และที่สำคัญเป็นการประหยัดงบประมาณค่ารักษาพยาบาลอีกทางหนึ่งด้วย

ที่นำเสนอมานี้ ไม่สามารถครอบคลุมได้อีกหลายๆ เรื่องหลายๆ จุดที่อยากจะพูด
เพราะเกรงว่าบทความจะยาวเกินไป การนำเสนอจึงรวบรัดและอาจขาดความสำคัญบางตอนไป สิ่งที่ต้องการเน้นคือ ขอให้เข้าใจถึงหลักสัจธรรมข้อหนึ่งที่ว่า "ไม่เสีย ก็ไม่ได้" ฉะนั้น ถ้าไม่ยอมเสียเวลาลงทุนลงแรงฝึกฝน จะไปหวังให้มีสุขภาพดีนั้นเป็นไปไม่ได้

จากหนังสือ
วิถีสุขภาพแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ : วิถีทรรศน์, 2545 หน้า 13 - 23.

[อ่านบทความย้อนหลัง]