ที่กล่าวมานี้ เป็นการพูดอยู่ในขอบเขตของหลักธรรมที่เรียกว่า พรหมวิหาร 4 ประการ โดยโยงเข้ากับคุณสมบัติที่เรียกว่า "ปิโย" หรือ "ครุ"  ซึ่งอยู่ในหลักที่เรียกว่า "กัลยาณมิตรธรรม" หรือธรรมของกัลยาณมิตร 7 ประการ เป็นอันว่าในหลักคุณสมบัติของกัลยาณมิตรนี้ได้กล่าวไปแล้ว 2 ประการ คือ ปิโย และครุ น่าเคารพแล้ว โดยได้ย้ำว่าจะต้องให้ 2 อย่างนี้มาดุลกัน ในแง่คนกับงาน และคนกับหลักการ โดยเฉพาะจะต้องพยายามเอาทั้งคนทั้งงาน ให้ได้ทั้งสองประการมาประสานนั้น

นอกจากนี้ 2 ข้อนี้แล้งยังมีคุณสมบัติของกกัลยาณมิตรเหลืออยู่อีก 5 ประการ คือ ต่อจาก ปิโย น่ารัก และครุ เคารพแล้ว ยังมีภาวนีโย แปลว่า น่าเจริญใจ คือ เป็นแบบอย่างได้ ทำให้ผู้ที่ร่วมอยู่ร่วมไป เช่น คนทั้งหลายที่อยู่ในองค์กรนั้น มีความภาคภูมิใจ พอนึกถึงก็มีความมั่นใจและภาคภูมิใจในตัวผู้นำ ว่าเป็นผู้ที่มีการศึกษาจริงได้พัฒนาตนแล้ว เป็นผู้มีสติปัญญา มีความสามารถ มีคุณธรรมความดีงามอย่างแท้จริง น่าเอาอย่างข้อนี้ก็เป็นคุณสมบัติอีกอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้มีศรัทธาและเกิดความร่วมมือด้วย

ต่อจาก ภาวนีโย ก็คือ วัตตา เป็นผู้รู้จักพูด หมายความว่า รู้จักพูดให้ได้ผล รู้ว่าในสถานการณ์ไหน และกับใคร ควรพูดอะไร อย่างไร เป็นต้น พูดง่าย ๆ ว่า เป็นนักสื่อสารที่ดี และเอาใจใส่สื่อสารกับผู้ร่วมไปด้วยอยู่เสมอ เพื่อให้รู้เข้าใจกัน และรู้เข้าใจในสิ่งที่ทำ เป็นต้น แต่รู้จักพูดนั้น บางที่ยิ่งกว่าสื่อสารเก่งอีก คนที่รู้จักพูดนั้นจะพูดให้เข้าเข้าใจก็ได้  พูดให้เขาเห็นใจก็ได้ พูดให้เขาเชื่อก็ได้ พูดเข้าใจ พูดให้เขาได้ประโยชน์ และพูดให้เขาช่วยกันสร้างสรรค์ประโยชน์  ต่างจากจิตวิทยาทุนนิยม ที่เน้นในแง่การพูดให้ตนเองได้ผลประโยชน์ หรือพูดหาผลประโยชน์ให้แกตน

พระพุทธเจ้าทรงแสดงลักษณะของนักสื่อสารหรือสักสั่งสอนที่ดีไว้ 4 อย่าง คือ

1. พูดแจ่มแจ้ง คือ ชี้แจงอธิบายให้เข้าใจชัดเจน มองเห็นเหตุผลแจ่มแจ้ง หมดสงสัย เหมือนจูงมือไปเห็นกับตา (สันทัสสนา)

2. พูดจูงใจ คือ พุดให้เห็นคุณค่าและความสำคัญ จนเกิดความซาบซึ้งยอมรับ อยากลงมือทำหรือนำปฏิบัติ(สมาปนา)

3. พูดเร้าใจ  คือ ปลูกใจให้คึกคัก เกิดความแข็งขันมั่นใจและมีกำลังใจหาญกล้า กระตือรือร้นที่จะทำให้สำเร็จโดยไม่หวั่นกลัวต่ออุปสรรคและความยากลำบาก (สมุตเตชนา)

4. พูดให้ร่าเริง คือ ทำให้เกิดบรรยากาศแห่งเมตตาไมตรี ความหวังดี และความรู้สึกที่สดชื่นร่าเริง เบิกบานผ่องใส แช่มชื่นใจด้วยความหวังในผลดีและทางที่สำเร็จ (สัมปหังสนา)

ต่อไปก็ วจนักขโม คือรู้จักฟังด้วย ท่านใช้คำว่า วจนักขโมแปลว่า ทนหรือควรต่อถ้อยคำ(ของคนอื่น)  ไม่ใช่ว่าเอาแต่พูดแก่เราอย่างเดียวโดยไม่ยอมรับฟังใคร ต้องยอมรบฟัง เพราะการรู้จักรับฟังเป็นส่วนหนึ่งของการที่จะสื่อสารให้ได้ผล  แม้ว่าเขาพูดมาจะไม่ถูกใจอะไรก็ทนได้ ทั้งนี้ก็เพื่อให้งานการและประโยชน์ที่จะทำนั้นสำเร็จ เช่น ครูอาจารย์ถูกลูกศิษย์ซักไซ้ไล่เลียงไต่ถาม  ถามจุกจิก ถามเรื่องที่ครูคิดว่าน่าจะรู้แล้ว  ถ้าครูอาจารย์ไม่มีความอดทนในการับฟัง เดียวก็จะเบื้อ หรือรำคาญ ท่านบอกว่าต้องมีคุณธรรม ข้อนี้จึงจะแก้ไขได้ ต้องทำใจให้สบาย  อดทนรับฟังเขาเพื่อให้เข้าใจเขาและช่วยเขาได้ดี

ต่อจากนั้นต้อง ค้มภีรัญจะ กะถึง กัตตา แปล รู้จักแถลงเรื่องราวต่าง ๆ ที่ลึกซึ่ง ปัญหาอะไรที่หนักและยาก ก็เอามาชี้แจงอธิบาย ช่วยทำให้คนที่ร่วมงานมีความกระจ่างแจ้ง เรื่องที่ลึกที่ยากก็ทำให้ตื้นให้ง่ายได้ และพาเขาเข้าถึงเรื่องที่ยากและลึกลงไป ๆ อย่างได้ผล

ต่อไปข้อสุดท้าย คือ โน จัฎฐาเน นิดยชะเย แปลว่า ชักนำในเรื่องที่ไม่ใช่เรื่อง  ที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่สาระ ที่ไม่เกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย

ธรรมของกัลยาณมิตร  7 ประการ นี้เป็นคุณสมบัติที่มาประกอบเสริมนั้น และมาประสานเข้ากับพรหมวิหาร 4 ประการ ที่พูดไปก่อนแล้ว