พระพุทธศาสนาได้แสดงคุณสมบัติสำคัญของผู้นำในแง่นี้เรียกว่า " ธรรมาธิปไตย" แปลว่า ถือธรรมเป็นใหญ่  ยึดเอาธรรมเป็นสำคัญ เชิดชูหลักการ ปฏิบัติการตามและเพื่อเห็นแก่ความเป็นจริง  ความถูกต้อง ความดีงาม ไม่เป็นอัตตาธิปไตย คือ ไม่ถือตัวเป็นใหญ่ แล้ว ก็ไม่เป็นกาธิปไตย  คือ ไม่มุ่งหาคะแนนนิยมเป็นใหญ่ไม่ทำเพียงเพื่อหาเสียงหรือให้คนชอบ แต่เอาธรรม เอาตัวความจริง ความถูกต้อง ความดีงาม เอาหลักการเป็นใหญ่ ตัดสินกันด้วยหลักการ ตั้งแต่หลักการโดยการจัดตั้งของมนุษย์ ลงไปจนถึงหลักการที่เป็นนามธรรมซึ่งรองรับการหลักการจัดตั้งนั้น แม้เมื่อมีอะไรจะต้องวินิจฉัย ก็ทำตัวเป็นกระบอกเสียงหรือเป็นสื่อของธรรมหรือเป็นช่องทางแสดงตัวของธรรม คือหลักการ หรือกฎกติกา คุณสมบัติ ข้อนี้จะคล้าย ๆ กบการวางตัวของผู้พิพากษา

 

ผู้พิพากษาเมื่อวินิจฉัยคดี ก็อาจจะต้องตัดสินลงโทษผู้ที่กระทำความผิด ในกรณีเช่นนี้ ถ้าผู้พิพากษามีความรู้สึกที่เกี่ยวข้องกับตัวเองว่าฉันจะลงโทษเขา ก็อาจจะทำให้เกิดความรู้ศึกษาขุ่นมัวเศร้าหมองไม่สายใจ แต่ถ้าปฏิบัติตามหลักธรรม ท่านผู้ตัดสินโทษก็เป็นเพียงกระบอกเสียงของธรรมหรือ เป็นเพียงช่องทางที่แสดงตัวของธรรม เมื่อมีการตัดสินลงโทษคน ก็จะเป็นการกระทำโดยไม่มีตัวตน  แต่เป็นการกระทำของปัญญาบริสุทธิ์ที่เอาหลักการเข้าวินิจฉัย ตัดสินไปตามกฎกติกาตามความเป็นจริง  ความถูกต้องดีงามที่ประชุมตัดสินก็ไมได้ถือว่าคนลงโทษ แต่ตัวธรรมหรือตัวหลักการลงโทษเขาเอง หมายความว่า บุคคลตั้งแต่ตัวประธานลงมาเป็นเพียงสื่อหรือกระบอกเสียงของธรรมเพื่อให้ธรรมปฏิบัติการออกมาได้เท่านั้นเอง

 

คนที่ทำด้วยจิตใจอย่างนี้จะมีความมั่นใจ  และไม่มีความรู้สึกทุกข์ยากลำบากใจ ไม่หวั่นใจไปตามความรู้สึกที่เรียกว่าเป็นอารมณ์  เพราะว่าตัวเองไม่เกิดมีตัวตนที่เป็นผู้ทำขึ้นมาเลย  มีแต่เพียงการปฏิบัติไปตามหลักการโดยที่ตนเองมาเป็นช่องทางปรากฏตัวของธรรม หรือเป็นสื่อให้กับธรรมอย่างที่กล่าวแล้วเท่านั้นเอง อันนี้เรียกกว่าการถือธรรมเป็นใหญ่

 

อย่างไรก็ตาม จะต้องระลึกโดยตระหนักว่าธรรมจะปรากฏตัวออกมาและเป็นผู้ตัดสินหรือปฏิบัติการ ก็ต่อเมื่อบุคคลที่เป็นสื่อหรือกระบอกเสียงนั้น ทำการด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์ มุ่งความจริง ความถูกต้องดีงามแท้จริง และด้วยปัญญาที่ใสสะอาด ซึ่งแสวงหาความจริงและไตร่ตรองทั่วตลอดที่สุด คือทำด้วยเจตนา และปัญญาที่ดำเนินไปด้วยความไม่ประสาท

 

เมื่อทำได้อย่างนี้ผู้นำก็จะได้คุณสมบัติอีกอย่างหนึ่ง คือ เป็นผู้เที่ยงตรง  ไม่มีอคติ  ไม่มีความลำเอียง  ซึ่งเป็นแกนกลางของการรักษาดุลยภาพ  และความสาสามัคคี พร้อมตั้งความมั่นคงของหมู่ชนที่ไปด้วยกัน เพราะถ้าเสียความเป็นธรรมแล้ว แม้แต่จะมีความรักใคร่กันอยู่หรือแม้แต่จะเอาอกเอาใจกัน ก็จะเกิดความกินแหนงและไม่เสียงสามัคคี

 

อคติ คือ ความลำเอียง หรือการเขวออกไปนอกทางที่ควรจะประพฤติปฏิบัติ มี 4 ประการด้วยกัน คือ ลำเอียงเพราะชอบลำเอียงเพราะชัง ลำเอียงเพราะเขลา ลำเอียงเพราะกลัว

ลำเอียงเพราะชอบ  เรียกว่า ฉันทาคติ

ลำเอียงเพราะชัง    เรียกว่า โทสาคติ

ลำเอียงเพราะขลาด เรียกว่าภายาคติ

ลำเอียงเพราะเขลา เรียกว่า โมหาคติ

 

ผู้นำจะต้องเป็นผู้หลีกพ้นไป คือไม่มีอคติ 4 ประการนี้ ถึงตอนนี้ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างตัวผู้ที่ร่วมไปด้วย ก็ได้หลักการใหญ่ ๆ แล้ว ถ้าผู้นำมีคุณสมบัติสำคัญแค่นี้ การปฏิบัติต่อผู้ที่ร่วมไปด้วย ก็จะได้ผลดีมากแล้ว ดังที่กล่าวเมื่อกี้ว่าได้ทั้งคนได้ทั้งงาน ก็จะพากันไปด้วยดีสู่จุดหมาย