ประจำเดือนผิดปกติ

ผู้หญิงจำนวนไม่น้อยที่มีปัญหากับ ประจำเดือนอย่างน้อยๆ ก็อาการ ไม่สบายตัว ก่อนที่คุณจะคิดว่าการมีรอบเดือนของคุณนั้นผิดปกติ ควรทำ ความเข้าใจกับรอบเดือน ปกติเสียก่อน ว่าเป็นฉันใด...

ประจำเดือนปกติ

ประจำเดือน คือเลือดที่ออกจากโพรงมดลูกเป็นรอบๆ ห่างกันทุก 28 วัน ผิดพลาดได้ไม่เกินบวกลบ 7 วัน หมายความว่า บางเดือน หรือ ของ บางคน รอบของประจำเดือนอาจจะเป็น 21 วัน 22 วัน หรือ30 วัน 35 วันก็ได้ ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ ระยะเวลาที่มีเลือดประมาณ 2-7 วัน โดยปริมาณเลือดที่ไหลออกมาทั้งหมด ราวๆ 20-60 ซีซี ต่อรอบ

เด็กสาวที่เริ่มมีประจำเดือนใหม่ๆ ในช่วง 1-2 ปีแรก จะมีประจำเดือน ไม่สม่ำเสมอ รอบมักจะยาว บางคน 2-3 เดือนจึงจะมาสักครั้ง เนื่องจาก การทำงานของรังไขยังไม่ค่อยสมบูรณ์ ทำให้ไข่ตกไม่สม่ำเสมอ ประจำเดือน จึงมาห่างๆ และมักจะมามากนานหลายวัน หลังจากนั้น เมื่อเข้าที่เข้าทาง ก็จะมีรอบเดือนสม่ำเสมอมากขึ้น เพราะมีการตกไข่ ทุกเดือน

ปัจจัยที่ทำให้มีประจำเดือนเร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับพันธุกรรม เชื้อชาติ สิ่งแวดล้อม แสงสว่าง ความอ้วน ผอมของร่างกาย สุขภาพทั่วไป สภาวะ ทางจิตใจ และเชื่อหรือไม่ คนที่อาศัยอยู่ในเมือง หรือประเทศใกล้เส้น ศูนย์สูตร พื้นที่ระดับน้ำทะเล เช่น กรุงเทพมหานคร จะมีประจำเดือน เร็วกว่า พวกที่อยู่ในชนบทไกลจากเส้นศูนย์สูตร หรืออยู่บนยอดเขา เช่น ธิเบต เป็นต้น ที่น่าแปลกก็คือมีการศึกษาพบว่า เด็กที่ตาบอดกลับมีประจำเดือนเร็วกว่าเด็กปกติ แสดงว่า แสงสว่างน่าจะมีผลต่อการ มีประจำเดือนด้วย

สาเหตุของการมี ประจำเดือน ผิดปกติ

ความไม่สมดุล ของระดับ ฮอร์โมน เป็นสาเหตุ ที่พบบ่อยที่สุด ของ การมี ประจำเดือน ไม่สม่ำเสมอ หรือประจำเดือน ออกมาก มักเกิดจากการตกไข่ไม่สม่ำเสมอ เรียกว่าภาวะประจำเดือน ออกผิด ปกติ (Dysfunctional uterine bleeding หรือ DUB)

สาเหตุของภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล

  • การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในช่วงวัยรุ่น หรือวัยใกล้ หมดประจำเดือน

  • โรคเบาหวาน, ความผิดปกติของต่อมธัยรอยด์ ;หรือต่อมใต้ สมอง(Pituitary) หรือความผิดปกติอื่นๆ

  • อ้วนมากเกินไป

  • ภาวะเครียด

  • การออกกำลังกายหนักเกินไป

  • ความผิดปกติของการทานอาหารบางอย่าง เช่น โรคเบื่ออาหาร (Anorexia nerversa)

  • เนื้องอกของมดลูก :

    ส่วนใหญ่แล้วเนื้องอกประเภทนี้มักเป็นเพียงเนื้องอกธรรมดา ไม่ค่อยมี เนื้อร้ายซึ่งนอกจากทำให้มีเลือดออก ผิดปกติแล้ว ยังอาจ ทำให้รู้สึก ปวดหรือถ่วงในท้องน้อยได้ด้วย

    สาเหตุอื่นที่พบไม่บ่อยเช่น

  • การตั้งครรภ์นอกมดลูก

  • ผลจากยาบางอย่าง เช่น ยาประเภทฮอร์โมน หรือยาคุมกำเนิด

  • มีโรคที่ทำให้การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ

  • การติดเชื้อ หรือมะเร็งของระบบอวัยวะสืบพันธุ์

  • ปัญหาจากการใส่ห่วงอนามัย

  • เยื่อบุช่องคลอดที่บางและเกิดแผลอักเสบง่าย

  • ข้อมูลจาก : นิตยสาร Health Today