ชื่อท้องถิ่น ส้มป่อย
ชื่อวงศ์ LEGUMINOSAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ - Acacia comcinna(cwild) DC,
- Acacia rugata Merr.
ลักษณะลำต้น เป็นไม้เถาเนื้อแข็งคล้ายชะอม มีหนามตามลำต้น เลื้อยพาดพิงไม้อื่น กิ่ง ก้าน ใน และยอดอ่อนสีแดงเรื่อ
ลักษณะใบ มีลักษณะคล้ายใบมะขาม เรียงสลับก้านใบยาว 7-20 เซนติเมตร มีใบย่อยเล็กๆ
ลักษณะดอก เป็นช่อ ออกจากโคนใบคล้ายดอกกระถิน สีขาวนวล
ลักษณะผล เป็นฝัก สีน้ำตาลดำ ผิวย่นขรุขระ ขอบมักเป็นคลื่นคล้ายฝักกระถินแต่หนาและสั้นกว่า มีเมล็ดในฝักในประมาณ 3-4 เมล็ด
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร ยอด
ใช้เป็นอาหารประเภท ใช้ยอดแกงเลียง แกงส้มและฝักอ่อนแกงส้มเช่นกัน
รสชาติ เปรี้ยวอมฝาดเล็กน้อย
ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด หรือใช้ต้นอ่อน
พื้นที่ที่เจริญเติบโตได้ดี ตามโคกสูง จอมปลวก
ฤดูกาลที่ให้ผลผลิต ฤดูแล้ง
ส่วนที่เป็นพิษ ไม่มี
ความเชื่อในการนำมาใช้ประโยชน์    ใช้ฝักส้มป่อยที่มี 7 เมล็ด ผสมลงในน้ำที่ผ่านพิธีการปลุกเสก (น้ำมนต์) แก้คุณไสย
   ใช้ใบใส่ลงไปในน้ำเพื่อสระผมก่อนพิธีโกนผมนาค เพื่อเป็นสิริมงคล จากผลการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้อง(กมลาภรณ์ เสราดี,2536) ยืนยันว่า ฝักส้มป่อยคนนิยมใช้สระผมโดยนำไปปิ้งไฟพอเหลืองแล้วนำไปต้มรวมกับลูกมะกรูดที่หมกไฟแล้ว แล้วนำมาขยำให้ เข้ากันจะทำให้เกิดฟองเล็กน้อยซึ่งฝักส้มป่อยจะทำให้เกิดกลิ่นหอม นอกจากนี้ยังระบุว่า ชาวบ้านก่อนจะออกจากบ้านไปงานศพให้เอาฝักส้มป่อยติดตัวไปด้วย โดยเหน็บไว้ที่ผม หรือใส่กระเป๋าเสื้อเชื่อว่าเป็นการป้องกันผีสางมิให้มารบกวนหรือเวลามีพายุให้เอาฝักส้มป่อยไปเผาไฟจะทำให้ลมพายุอ่อนแรงลง
สรรพคุณทางสมุนไพร - ส่วนที่ใช้ฝัก สรรพคุณ แก้ริดสีดวงจมูก
- กรรมวิธีการใช้
- ส่วนที่ใช้ ใช้ส่วนทั้ง 5 หรือหัวกับใบ
- สรรพคุณ ขับปัสสาวะแก้บวม
- กรรมวิธีการใช้ ต้ม 3:1 ผสมเกลือ (น้ำ 3 ส่วนเคี่ยมเหลือ 1 ส่วน) ดื่มครึ่งแก้วก่อนอาหาร
- ส่วนที่ใช้ ใช้ใบสดหรือใบแห้งประมาณ 1 กำมือ น้ำหนัก 40 กรัมและแห้ง 10 กรัม ต้มน้ำใส่เกลือจิบบ่อย ๆ หรือฝักแห้งใช้ 7-10 ฝัก หนัก 10-15 กรัม ปิ้งไฟพอเกรียมต้มกับน้ำพอควรใส่เกลือจืบบ่อย ๆ (กมลาภรณ์ เสราดี,2536)
- สรรพคุณ แก้ไอ ขับเสมหะ
  - ใบ ต้มดื่ม ถ่ายเสมหะ ถ่ายระดูขาว ล้างเมือกมัมในลำไส้ แก้บิด ฟอกโลหิตตระดู แก้โรคตา ตำประคบให้เอ็นอ่อน
  - ดอก แก้เส้นเอ็นพิการ
  - ฝัก ต้มเป็นยาถ่าย ขับเสมหะ แก้ไอ แก้ไข้จับสั่น ทำให้เอาเจียน แก้น้ำลายเหนียว ต้มเอาน้ำสระผม แก้รังแค ตำพอกปิดแผล แก้โรคผิวหนัง
  - เปลือกฝัก เจริญอาหาร ขับเสมหะ แก้ไอ แก้ซางเด็ก
  - เมล็ด คั่ว บดให้ละเอียด ใช้เป่าจมูกทำให้จาม
  - ต้น ราก ต้มกับแก่นขนุน หัวย่านนาง คนทา น้ำนอง เท้ายายม่อม หญ้าเข็ดมอน เปลือกมะเดื่อ ชิงช้าชาลี แก้ไข้ เจ็บยอกในอก โบราณเรียกไข้ยมบน