ชื่อท้องถิ่น เดื่อชุมพร
ชื่อวงศ์ TIEACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ - Ficus Schwarzi Koord.
- Ficus Clomerata,Rox
- Ficus Racemosa Linn.
ลักษณะลำต้น เป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่มขนาดใหญ่ สูง 8-10 เมตร ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เมตร
ลักษณะใบ เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ ใบยาวรีปลายแหลม ขอบใบหยักเล็กน้อย มีเขียวนวล (เขียวอมขาว) หน้าใบลื่น
ลักษณะผล คล้ายลูกฉิ่ง แต่ขนาดผลโตประมาณ 1 นิ้ว ผลอ่อนสีเขียวอ่อน ผลสุกสีแดงเข้มมีรสหวาน
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร ยอด ผลอ่อน (มียางสีขาวแต่ไม่อันตราย) หรือผลสุก
ใช้เป็นอาหารประเภท ยอดและผลอ่อนใช้เหนะสดและแกงกะทิ หรือ ยอดใช้แกงเลียงรวมกับผักอื่นๆ ส่วนผลสุกใช้กินเล่น
รสชาติ ฝาด มัน อมเปรี้ยว
ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
พื้นที่ที่เจริญเติบโตได้ดี ที่ราบ ป่าเขา ริมคลอง
ฤดูกาลที่ให้ผลผลิต ยอดมีตลอดปี ผลมีเฉพาะฤดูแล้ง
ส่วนที่เป็นพิษ ไม่มี
ประโยชน์ใช้สอย ไม่มี
ความเชื่อ ไม่มี
สรรพคุณทางสมุนไพร ใช้รากมาเคี่ยวกับน้ำในอัตราน้ำ 3 ส่วน เคี่ยวเหลือ 1 ส่วน รับประทานดับพิษร้อนถอนพิษไข้ครั้งละครึ่งแก้ว เปลือกจากต้นแก่ต้มกับน้ำ ใช้รับประทานแก้ท้องเสีย เป็นตัวยาหลักชนิดหนึ่งในการปรุงยาแผนโบราณ เปลือกต้น แก้ท้องร่วง ต้ม ล้างชะบาดแผล สมานแผล แก้ประดงผื่นคัน แก้ไข้ท้องเสีย ไข้รากสาดน้อย-ใหญ่ แก้ธาตุพิการ ราก แก้ไข้ และพิษไข้ กล่อมเสมหะ ไข้กาฬ แก้พิษร้อน ถอนพิษไข้ ผล แก้ท้องร่วง สมานแผล