ชื่อท้องถิ่น ผักหนาม
ชื่อวงศ์ ARACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lasia spincosa (L)
ลักษณะลำต้น คล้ายบอนแต่ลำต้นมีหนามเล็กๆ
ลักษณะใบ ใบอ่อนมีขน พอกลายเป็นใบเพสลาด จะแผ่บาน ลักษณะใบคล้ายดอกหน้าวัว
ลักษณะดอก เหมือนดอกบอน สีม่วงเข้ม เกสร สีขาวแกมเหลือง ก้านดอกแตกออกจากลำต้น
ลักษณะผล ติดอยู่ที่โคนดอก ออกเป็นกระจุกด้วย ลูกบุกเตียง เมื่อผลยังอ่อนสีเขียว แต่พอสุกสีเหลืองอมแดง
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร ลำต้นอ่อนและใบอ่อน
ใช้เป็นอาหารประเภท ดอง หรือลวกจิ้มน้ำพริก แก้งส้ม แกงกะทิ
รสชาติ จืด
ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ ใช้หัวใต้ดิน และเมล็ดสุก ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ
พื้นที่ที่เจริญเติบโตได้ดี ป่าพรุ หรือชายคลอง
ฤดูกาลที่ให้ผลผลิต ยอดให้ตลอดปี แต่จะมีผลในต้นฤดูแล้ง
ส่วนที่เป็นพิษ หากรับประทานมาก ทำให้เจ็บหลัง มีพิษต่อทางเดินปัสสาวะ
ประโยชน์ใช้สอย ไม่มี
ความเชื่อ ไม่มี
สรรพคุณทางสมุนไพร หัวนำมาฝนกับน้ำกินเป็นยาถ่ายพยาธิ หัว แก้ไอ ขับเสมหะ ต้มอาบแก้คัน เพราะเหือด หัด สุกใส ดำแดง ถอนพิษ ทำให้หายเร็วขึ้น
หมายเหตุ วิธีการดอง นำยอดผักหนามไปลวกแล้วนำไปแช่ ในน้ำเปล่าที่สะอาดเติมเกลือพอออกรสเค็มนิดๆ แล้วเติมข้าวสุกลงไป ปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน ผักหนามจะมีรสเปรี้ยว นำไปเป็นผักเหนาะ หรือต้มแกงได้