ชื่อท้องถิ่น ทำมังยอดขาว แมงดาไม้ แมงดาต้น
ชื่อวงศ์ LAURACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Litsea Petiolata L took.F. Hook.f.
ลักษณะลำต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ แผ่กิ่งก้าน ออกเป็นทรงพุ่ม
ลักษณะใบ ใบกลมมนรี ปลายแหลม ผิวใบด้านหน้าเขียวเข้ม เป็นมัน ขอบใบเรียว หลังใบขรุขระ
ลักษณะดอก ปุยสีขาว ออกตามรายกิ่ง
ลักษณะผล กลม ผลสุกสีดำ
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร ยอดใบแก่ ใบเพสลาด ดอก ผล
ใช้เป็นอาหารประเภท ใบใส่ในแกงเผ็ด หรือใบและผลแก่ใช้ตำน้ำพริก หรือใส่ในเครื่องแกงใบอ่อนและดอกอ่อนเป็นผักเหนาะ
รสชาติ ฝาด มันร้อนและอมขมเล็กน้อย มีกลิ่นคล้าย แมลงดานา
ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ เมล็ด การตอนกิ่งนิยมปลูกตามบ้านเป็นไม้มงคล(ธรรมมัง)
พื้นที่ที่เจริญเติบโตได้ดี ได้เกือบทุกสภาพพื้นที่ ยกเว้นที่มีน้ำท่วมถึงหรือน้ำขัง
ฤดูกาลที่ให้ผลผลิต ตลอดปี
ส่วนที่เป็นพิษ ไม่มี
ประโยชน์ใช้สอย ลำต้นแก่ใช้แปรรูปทำบ้านเรือน ปลวก มอดไม่กิน
ความเชื่อ นิยมปลูกตามบ้านเรือน ถือเป็นไม้มงคลมาแต่สมัยพุทธกาล
สรรพคุณทางสมุนไพร ใบสด กินเป็นผักเหนาะ มีสรรพคุณช่วยขับลม แก้ท้องอืด เปลือก ผายลมในลำไส้ แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้จุกเสียด