ชื่อท้องถิ่น ชะเมา (ยอดขาว) (ยอดแดง) ไม้เมา (สงขลา-พัทลุง) แคมวง (นราธิวาส)
ชื่อวงศ์ MYRTACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ - (Eugenia grandus Wight)=synonym
-
(Eugenia grandis Wight=synonym
ลักษณะลำต้น เป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่ม กิ่งอ่อน สีน้ำตาลแดง
ลักษณะใบ ใบรีเรียวปลายแหลมสีเขียวอ่อน ขนาดประมาณ 4 นิ้ว แตกออกจากกิ่ง ใบเป็นคู่ หน้าใบและหลังใบเรียบมัน
ลักษณะดอก เป็นพุ่มเล็ก ๆ ประมาณ 1 เซนติเมตร ออกติดกับลำต้น สีขาว เป็นฝอยคล้ายดอกชมพู่
ลักษณะผล มีลักษณะคล้ายยอบ้าน แต่ขนาดเล็ก กว่าโตประมาณ 1 นิ้ว ออกติดกับลำต้น โดยเฉพาะดอกมาเป็นผล ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกจะมีสีดำ
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร ยอด ผลอ่อน
ใช้เป็นอาหารประเภท ผักเหนาะ (กินสด)
รสชาติ ฝาด มัน และขมเล็กน้อย
ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ ชะเมาขยายพันธุ์ได้หลายวิธี การติดตา การตอนกิ่ง การทาบกิ่ง แต่การตอนเป็นวิธีที่นิยมและได้ผลดีที่สุด
พื้นที่ที่เจริญโตได้ดี ขึ้นได้ในดินทุกชนิด มีการระบายน้ำ ดีพอสมควร มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง
ฤดูกาลที่ใช้ผลผลิต ตลอดปี
ส่วนที่เป็นพิษ ไม่มี
ประโยชน์ใช้สอย ลำต้นแก่ใช้ทำบ้านและเฟอร์นิเจอร์
สรรพคุณทางสมุนไพร ใช้เปลือกจากต้นแก่ เคี่ยวกับน้ำกินแก้ท้องเสีย ในอัตราส่วนน้ำ 3 ส่วน เคี่ยวให้เหลือ 1 ส่วน เช่นเดียวกับจิกนากินครั้งละครึ่งแก้ว ต้นผสมกับยาอื่น ๆ แก้ไข้สะบัดร้อนสะบัดหนาว ไข้จับสั่น