ชื่อท้องถิ่น จิกง่วงนอน จิกหาวนอน จิงเหานอน
ชื่อวงศ์ BARRIGNTONIACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Barringtonia acutangula Gaerth
Barringtonia augusta Kurz
ลักษณะลำต้น เป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่ม ขนาดกลางสูงกว่าจิกนา เป็นไม้เนื้ออ่อน
ลักษณะใบ ใบยาวรีคล้ายใบมะม่วง ใบบางกว่าจิกนา ยอดอ่อนสีแดง ใบกว้างประมาณ 2 นิ้ว ยาว 4.5 นิ้ว ขอบใบเรียบ หน้าใบเขียวเรียบมันหลังใบก้านนูน ก้านใบเป็นร่องลึกโคนก้านใบยาวออกจากกิ่งประมาณ 2-3 นิ้ว
ลักษณะดอก เป็นช่อยาว เหมือนดอกจิกนาแต่โตกว่า ช่อหนึ่งประมาณ 40-50 ดอก ลักษณะดอกเหมือนชมพู่มะเหมี่ยวแต่สีขาวอมแดง ขนาดดอกตูม ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร บานแล้ว (รวมพู่) ยาวประมาณ 1-2 นิ้ว
ลักษณะผล ผลเป็นเหลี่ยมพูคล้ายผลชมพู่มะเหมี่ยว
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร ยอดอ่อน
ใช้เป็นอาหารประเภท ผักเหนาะ
รสชาติ ฝาด เจือมัน
ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ ผลสุก
พื้นที่ที่เจริญเติบโตได้ดี ป่าเขา
ฤดูกาลที่ให้ผลผลิต ตลอดปี
ส่วนที่เป็นพิษ กินมากง่วงนอน
ประโยชน์ใช้สอย ใช้ลำต้นทำเป็นเสารั้ว
ความเชื่อ ชาวบ้านเชื่อกันว่า ถ้าถูกยางของต้นรักป่า ทำให้เกิดแผลเปื่อย พุพอง จะต้องมาแก้ผ้ารำใต้ต้นจิก พร้อมกับร้องว่า "ต้นจิก ต้นจัก ต้นรักขี้หนู รักนี้ขบกู รำใต้ต้นจิก" จะทำให้แผลหาย
สรรพคุณทางสมุนไพร ส่วนที่ใช้ เปลือกต้น สรรพคุณใช้ล้างแผน ช่วยสมานแผลเรื้อรัง โดยนำเปลือกแก่ 3 กำมือ มาต้มใส่น้ำให้ท่วม เคี่ยวให้งวด เอานิ้วไปชะล้างแผน เนื้อไม้เป็นยาขับระดูขาว เมล็ด แก้แน่นท้อง