ชื่อท้องถิ่น หวม อวม (สุราษฏร์ธานี)
ชื่อวงศ์ ไม่มี
ชื่อวิทยาศาสตร์ ไม่มี
ลักษณะลำต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ลำต้นสี น้ำตาลอ่อน ทรงพุ่ม
ลักษณะใบ เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวลักษณะรีปลายแหลม ความกว้างประมาณ 1.0-2.5 นิ้ว ความยาว 6-7 นิ้ว ขอบใบเรียบ ผิวหน้าใบลื่นมัน สีเขียว ส่วนหลังใบสีเขียวอ่อน ผิวขรุขระเล็กน้อย แต่ละก้านใบประกอบ ด้วยใบ 3 ใบ
ลักษณะดอก ดอกคล้ายดอกกระท่อม ขนาดประมาณ 1 นิ้ว สีขาวเขียว ออกตามรายกิ่งระหว่างโคนกับก้านใบ
ลักษณะผล เป็นกระจุก จำนวน 5-6 ผล ออกตาม ลำกิ่งคล้ายเมล็ดพริกไทยแต่โตกว่าเล็กน้อย
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร ยอด ใบเพสลาด
ใช้เป็นอาหารประเภท ยอดใช้เป็นผักเหนาะหรือหั่นฝอยกินกับข้าวยำ
รสชาติ ขมเจือมัน กลิ่นหอม
ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด หรือลำต้นอ่อน
พื้นที่ที่เจริญเติบโตได้ดี เขตป่าเขา และที่ราบสูง
ฤดูกาลที่ให้ผลผลิต ตลอดปี
ส่วนที่เป็นพิษ ไม่มี
ประโยชน์ใช้สอย ลำต้นใช้แปรรูปทำเฟอร์นิเจอร์ได้
ความเชื่อ ไม่มี
สรรพคุณทางสมุนไพร บำรุงโลหิตและดี เจริญอาหาร แก้โลหิตพิการ บำรุงเส้นเอ็น บำรุงไขข้อ ทำให้เกิดความอบอุ่นแก่ร่างกาย