ศิลปินแห่งชาติ ปี 2529
สาขาทัศนศิลป์
นายเห้ง โสภาพงศ์ (เครื่องถม)
ประวัติชีวิต

ช่างเครื่องถมนคร
เห้ง โสภาพงศ์         นายเห้ง โสภาพงศ์ เกิดเมื่อ พุทธศักราช๒๔๕๕ ที่ บ้านหน้าวัดพระบรมธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็น บุตรของนายชี และนายนุ้ย โสภาพงศ์ นายเห้ง โสภาพงศ์ มีบุตรธิดากับนายตุ้ น ๘ คน (ชาย ๕ ผู้หญิง ๓) ใน จำนวนนี้ มีผู้ชายสองคน คือ นายโสฬส โสภา พงศ์ และนายจรวย โสภาพงศ์ ที่ได้สืบทอดวิชา การทำเครื่องถม และนำไปประกอบอาชีพสืบแทน บิดา
         เครื่องถมไทย นับเป็นวัฒนธรรมทางวัตถุที่ สำคัญอย่างหนึ่ง เพราะ "เครื่องถม" เป็นผลผลิต ของงานประณีตศิลป์อันทรงคุณค่าของไทย และ เป็นสัญลักษณ์ของชาติไทยที่ได้แพร่หลายไปทั่ว โลก

        เครื่องถมเป็นศิลปหัตถกรรมชั้นเลิศของไทย หนึ่ง ในสามอย่างของงานฝีมือทองของช่างศิลป์ ไทยในอดีตอันประกอบด้วย เครื่องเขิน เครื่องทอง และ เครื่องถม ศิลปหัตถกรรมนี้ ชาวนครศรีธรรมราชคงได้รับสืบ ทอดความรู้มาจากช่างโปรตุเกส ซึ่งเข้า มาตั้งหลักแหล่งทำมาหากินอยู่ ตั้งแต่ สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี คือในราว พุทธ ศักราช๒๐๖๑ (ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิ บดีที่ ๒) ช่างฝีมือชาวนครได้พัฒนา งานถมของตนเรื่อยมา ทั้งในด้านการเขียน ลวดลาย การแกะสลักลงในเนื้อเงิน การทำ น้ำยามถ จนกระทั่งกลายเป็นศิลปหัตถกรรมชั้นเลิศ เป็นที่รู้จักกันในนาม "ถมนคร"

        ชาวนครศรีธรรมราชถือว่า เครื่องถมมีโคตรเหง้าหรือกำเนิด ที่เมืองนครศรีธรรมราช "ถมนคร" จึงเป็นโคตรเหง้า ของเครื่องถมทั้งหลายที่มีในประเทศไทย หาก ว่าปัจจุบันวิชาการทำเครื่องถมจะแพร่หลายไป ในถิ่นอื่นบ้างก็นับว่าเป็นหลานเหลนของ "ถมนคร" ทั้งสิ้น

        การทำเครื่องถม มี กรรมวิธีที่ละเอียดอ่อนและซับซ้อนมาก ผู้เป็น ช่างฝีมือในงานประเภทนี้ได้ชื่อว่า " ช่างถม" ช่างถม จึงเป็นช่างฝีมือของ นครศรีธรรมราชที่มีมานานนับได้หลายร้อยปี และ ได้สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน นับได้เป็น ร้อยเป็นพันคนก็ว่าได้ ช่างถมของนครศรีธรรมราช ในสมัยโบราณที่ได้ผลิตผลงานชิ้นสำคัญจน ทำให้ทั่วโลกรู้จักเมืองนี้ในเชิงช่าง ก็มีอยู่หลายยุคหลายสมัย เป็นต้นว่า

        ในสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พุทธ ศักราช๒๑๙๙-๒๒๓๑) สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้มี รับสั่งให้เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชสมัยนั้น จัดหาช่าง ถมฝีมือชาวเมืองนี้ทำเครื่อง "ถมเงิน ลายอรหัน" ส่งไปพระราชทานเป็นเครื่องราช บรรณาการแต่พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งประเทศฝรั่งเศส และยังได้จัดทำเครื่องถมเป็นรูป "กางเขน ถม" เป็นเครื่องราชบรรณาการไปพระราชทานแด่ สมเด็จสันตปาปา ณ กรุงวาติกันอีกด้วย

        ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ช่างถมเมืองนครศรีธรรมราชทำเครื่องถมหลายชิ้นส่ง ไปพระราชทานแดพระเจ้ากรุงอังกฤษ (ควีน วิคตอเรีย) และในปี พุทธศักราช๒๔๐๓ โปรด เกล้าฯ ให้ช่างถมเมืองนครศรีธรรมราชประดิษฐ์เครื่องถม ไป พระราชทานแด่พระเจ้านโปเลียนที่ ๓ แห่ง ประเทศฝรั่งเศสอีก

        ในสมัยต่อมาจนถึงปัจจุบัน เมื่อมีการเสด็จประพาสประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุ โรป และอเมริกาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนบุคคลสำคัญของ ประเทศก็มักจะมอบของที่ระลึกแด่ประมุขของ ประเทศนั้น ๆ ด้วยของมีค่าอันเป็นศิลปหัตถกรรม พื้นบ้านพื้นเมืองของเราอยู่เสมอ ในบรรดาของ ที่ระลึกที่ทรงคุณค่าเหล่านั้นมักจะมี "เครื่องถมนคร" อยู่ด้วยสิ่งหนึ่งเสมอมา "ถมนคร" จึงเป็นเสมือนทูตทางวัฒนธรรม ที่สำคัญของชาติไทยเราก็ว่าได้ เครื่องถมนครมีอยู่สองชนิด คือ ถมเงิน (หรือถม ดำ) ชนิดหนึ่ง และถมทอง (หรือถมทา ทอง) อีกชนิดหนึ่ง ถมเงินนั้นมีลวดลาย เป็นสีขาว (สีเงินนั่นเอง) มีพื้น เป็นสีดำ ส่วนถมทองมีลวดลายเป็นสี ทอง ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าใช้ทองคำบริสุทธิ์ มาผสมกับปรอทเป็นสื่อ ต่อจากนั้นก็ใช้ ความร้อนรมเครื่องถมใส่ปรอทหนีความร้อนไป หมด ทองคำก็ติดเนื้อเงินซึ่งเป็นเครื่องถม ทองแน่นไม่หลุดออก ดูสวยงามเป็นสีเหลือง ส่วนพื้นที่ถมลงไปก็คงมีสีดำ อย่างเดิม ที่เรียกว่า "เครื่องถมทอง" โดย วิธีนี้จึงไม่ใช่เป็นวิธีเดียวกับที่ชุบ ทองทั้งหลาย ตรงข้ามกลับเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่ ทำได้ยากยิ่ง กว่า ๕๐๐ ปีแล้ว ที่ช่างมี มือถมชาวนครได้สร้างสรรค์ผลงานอันเต็ม ไปด้วยสุนทรียภาพ โดยช่างถมรุ่นแล้วรุ่นเล่าที่ สืบทอดสายใยแห่งฝีมือต่อเนื่องกันมา และหนึ่งในจำนวนนี้ก็คือ นายเห้ง โสภาพงศ์ ผู้ได้รับกาายกย่องว่าเป็นช่างถมที่ มีฝีมือยอดเยี่ยมของจังหวัดนครศรีธรรมราช ท่านได้ใช้ ชีวิตอยู่กับเครื่องถมศิลปหัตถกรรมลือชื่อของเมือง นครศรีธรรมราชมากว่า ๖๐ ปี ด้วยความสนใจยิ่ง เพราะ นายเห้ง รู้ดีว่า เครื่องถมเป็นมรดกทางหัตถกรรม ชั้นสูง ที่บรรพบุรุษชาวนครศรีธรรมราชสั่งสมมา จนได้ ชื่อว่า "ถมนคร"

        ชีวิตในส่วนอื่น ๆ นายเห้งได้บวชเรียน 1 พรรษา ที่วัดชายคลอง (วัดชนเฉนียน ปัจจุบัน) โดยมีพระครูปลัดศรีธรรมวัฒน์ (แบน) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุมหาวิหาร เป็นอุปัชฌาย์ แต่งงานเมื่อ 21 ปี กับนางสาวละมุล มีบุตร 1 คน อยู่ร่วมกัน 1 ปี ก็เลิกร้างกัน เป็นโสดอยู่จนอายุ 30 ปี จึงได้แต่งงานเป็นครั้งที่ 2 กับนางสาวตุ้น มีบุตร 7 คน บุตรชาย 2 คน เป็นผู้สืบทอด วิชาถมดังกล่าวแล้ว ถึง พ.ศ.2529 นายเห้งอายุ 76 ปี ยังยึดการทำเครื่องถมเป็นอาชีพ

        
การทำงาน
        เมื่อ พุทธ ศักราช๒๔๗๑ ได้ปฏิบัติงานอยู่ที่โรงเรียนช่างถม วัดวังตะวัน ออก ถึงสามปี แล้วจึงออกไปทำงานเป็น "ช่างถม " อย่างเต็มตัว เมื่ออายุ ๒๒ ปี โดยประจำอยู่ ที่ร้านสุพจน์ (เป็นโรงงานและร้านที่ ผลิตและจำหน่ายเครื่องถมที่มีชื่อเสียงที่สุด ของจังหวัดนครศรีธรรมราช) ณ ที่นี้ นายเห้งได้รับ การฝึกทำเครื่องถมเป็นพิเศษจาก นายรุ่ง สินธุ รงค์ ช่างถมฝีมือเยี่ยมในยุคนั้น จนทำ ให้นายเห้ง โสภาพงศ์ มีฝีมือเข้าขั้น เป็นช่างถมยอดเยี่ยมของเมืองนครศรีธรรมราชตามไปด้วย

         ในการทำเครื่องถม นายเห้งยังคงใช้กรรมวิธีแบบดั้งเดิมงานทุกชิ้นจะทำด้วยวัสดุที่เป็นของแท้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ราคาจึงสูงที่ทำเช่นนี้ก็เพราะต้องการรักษาคุณภาพ นายเห้งยอมรับว่าปัจจุบันในเมืองนคร ช่างรุ่นใหม่มีฝีมือในการทำรูปทรง เขียนลายและลงถม แต่วัสดุมักไม่ใช่ของแท้ ใช้ไม่นานก็เกิดสนิม แต่ก็เหมาะสมกับราคา

         ประมาณ พ.ศ.2513 นายเห้งได้ลาออกจากการเป็นคนงานร้านสุพจน์ สาเหตุเนื่องจากเห็นว่าตนเองชรา ต้องการพักผ่อนถ้าจะทำงานก็อยากทำด้วยความสมัครใจ เมื่อยล้าก็พักได้ลาออกแล้วก็มาอยู่บ้าน ณ บ้านเลขที่ 384 ถนนศรีธรรมาโศก อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช รับทำเครื่องถมขึ้นที่บ้านตามแต่ใครจะว่าจ้าง โดยมากผลงานจะส่งจำหน่ายให้ร้านเจริญพร และห้างทองซีก่วง ในเมืองนครศรีธรรมราช งานที่ทำมีหลายชนิด เช่น หีบบุหรี่ กล่องไม่ขีดไฟ ขันน้ำพานรองสำหรับตักบาตร จานรองแก้วฝาครอบแก้ว ตลับแป้ง คนโทกรวดน้ำ โตก ตลอดจนทำถมเลี่ยม กระเป๋าย่านลิเภา เลี่ยมหัวไม้เท้า เลี่ยมเครื่องลางของขลัง มีเขี้ยวหมูตัน กระดูกหัวเสือ เป็นต้น งานที่ทำส่วนใหญ่ถ้าเป็นของธรรมดา ๆ จะออกแบบเอง แต่ถ้ามีผู้สั่งทำเฉพาะและเป็นของพิเศษ ผู้ ว่าจ้างจะหาตัวอย่างหรือรูปแบบภาพมาให้ การทำเครื่องถมที่บ้านก็แบ่งหน้าที่กัน คือนายเห้งถนัดการตีรูป (ทำรูปทรง) การลงถม ส่วนการเขียนลายมักให้เป็นหน้าที่ของนายโสรส บุตรชาย (เรียนจบวิทยาลัยศิปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช)

         ชีวิตการทำเครื่องถมของนายเห้งไม่ค่อยราบรื่นนัก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตลาด อย่างช่วง พ.ศ.2510 - 2513 รับงานแทบไม่ทันเพราะช่างก็มีน้อย วัสดุโดยเฉพาะทองคำราคายังไม่แพง แต่ประมาณปี พ.ศ.2523 - 2527 งานนี้ซบเซามาก อย่างไรก็ตาม ก็มีงานชิ้นใหม่ ๆ ที่รับทำพิเศษอยู่บ้าง เช่น ขันน้ำพานรองสำหรับตักบาตรและโตก เป็นต้น

        แม้นายเห้งจะเป็นช่างทีมีฝีมือ แต่ก็มิได้ถ่ายทอดวิชานี้ให้ใครนอกจากบุตรชาย 2 คน นายโสรสและนายจรวย ที่ไม่ถ่ายทอดให้คนนอกครอบครัวเพราะงานททำเครื่องถมต้องลงทุนสูงวัสดุแต่ละอย่างแต่ละชิ้นมีราคา จึงไม่ไว้คนนอกที่จะเข้ามาฝึกหัด

ผลงาน
         เครื่องถมที่นายเห้ง โสภาพงศ์ ประดิษฐ์มีตั้งแต่สิ่งของเล็ก ๆ เช่น แหวน ล็อกเกต กำไล ไปจนถึงสิ่งของชิ้นใหญ่ ๆ เช่น ขัน พาน ถาด การประดิษฐ์ทำด้วยมือทั้งสิ้น นับตั้งแต่การขึ้นรูป การเขียนลวดลาย การ สลัก การถม และการขัด โดยใช้ความชำนิชำนาญ และความละเอียดลออ ความอุตสาหะวิริยะเป็นสำคัญ เครื่องถม เหล่านี้ได้ถูกจำหน่ายจ่ายแจกและเปลี่ยนมือไป หลายต่อหลายแห่ง ที่มีสะสมและตกทอดอยู่ บ้างในเวลานี้พอจะหาดูได้ในวิหาร เขียน วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช
        ผลงานที่นายเห้ง โสภาพงศ์ ภาคภูมิใจ ก็คือชุดน้ำชา ถมทอง ซึ่งตนร่วมกับช่างถมชาวนครหลาย คนประดิษฐ์ขึ้นเมื่อ พุทธศักราช ๒๕๐๒ ชุดน้ำชาถม ทองชุดนี้เป็นชุดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวได้ทรงนำไปพระราชทานแด่ประธานาธิบดี ไอเซนฮาวด์ แห่งสหรัฐอเมริกา ในคราวเสด็จประพาสสหรัฐ อเมริกาและยุโรปครั้งแรก เมื่อ พุทธศักราช ๒๕๐๓

        
การศึกษา

        นายเห้งได้รับการศึกษาจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนพระเสื้อเมือง (โรงเรียนวัดพระมหาธาตุในปัจจุบัน) เรียนต่อโรงเรียนช่างถม (ได้พัฒนามาเป็นวิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราชในปัจจุบัน สมัยนั้นโรงเรียนตั้งอยู่ในวัดวังตะวันออก) 3 ปี จบแล้วก็ฝึกงานต่อผลงานที่ทำได้ส่งให้ทางโรงเรียนจัดจำหน่าย มีกำไรโรงเรียนก็แบ่งสรรให้ นายเห้งฝึกงานและส่งผลงานให้โรงเรียนช่างถมอยู่ราว 20 ปี ช่วงเวลาดังกล่าวได้ครูช่างถมที่สำคัญ 2 คนเป็นผู้ฝึกสอน คือครูกลั่น จันทรังษี และครูเปรม

        
รางวัลที่ได้รับ

        ในช่วง ๕๐ ปีเศษของการเป็นช่าง ถม นายเห้ง ได้ทำเครื่องถมเพื่อจำหน่ายบ้าง ทำ ตามที่ลูกค้าสั่งบ้าง รวมหลายร้อยชิ้น ใน นายเห้งเคยส่งผลงานเข้าประกวดในงานเดือนสิบ ของเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อ พ.ศ. 2514 โดยส่งขันตักบาตรขนาด 9 นิ้ว เป็นชนิดถมทอง ปรากฏว่าได้รับรางวัลที่ 3 (จัดประกวดโดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม)

        นายเห้งเป็นช่างถมที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ถมนครไว้ได้อย่างสมบูรณ์ และเป็นช่างอาวุโสที่สุดที่ยังมีชีวิตอยู่ เพื่อเป็นการส่งเสิรมงานช่างและช่างสาขานี้ ตลอดจนเป็นการยกย่องเชิดชูผู้อนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมทำถมนคร สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติจึงเลือกให้ นายเห้ง เป็นศิลปินพื้นบ้านดีเด่น พ.ศ. 2528



ตำนานช่างเครื่องถม

ยุคสมัยของเครื่องถมนคร