การสืบสานภูมิปัญญา

เรือนจำกลางนครศรีธรรมราช

        เรือนจำกลางจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยคุณถวิน ณ ตะกั่วทุ่ง (ผู้บัญชาการเรือนจำสมัยนั้น) ได้พยายามที่จะส่งเสริมให้มีการทอผ้ายกเมืองนครขึ้น โดยการจ้างครูซึ่งเป็นลูกสาวของนางวิเชียร ศรีวัชรินทร์ ให้ไปสอนวิธีทอผ้ายกให้แก่นักโทษหญิงที่ต้องโทษอยู่ในเรือนจำ
        ยังเป็นที่น่าชื่นชมยินดีว่ายังมีส่วนราชการและกลุ่มอาชีพบางกลุ่มในจังหวัดได้พยายามจะสืบสานและส่งเสริมงานหัตถกรรมผ้าทอพื้นเมืองขึ้นในลักษณะและรูปแบบต่าง ๆ กันหลายหน่วยงาน ต่อมาครูวรจิตลาออกไปประกอบอาชีพส่วนตัว การสอนงานทอผ้าพื้นเมืองของเรือนจำกลาง จึงยกเลิกไปใน พ.ศ. 2525

บ้านนางวิเชียร ไชยสิทธิ์

        นางวิเชียร อยู่บ้านเลขที่ 753/ค ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช เล่าว่าแต่เดิมหมู่บ้านละแวกนี้ทอผ้ากันทุกบ้าน ครูคนสำคัญในช่วง พ.ศ.2490 ซึ่งเป็นปีที่นางวิเชียร เริ่มประกอบอาชีพทอผ้า คือนายพิณ และนางเขียน ณ นคร เป็นช่างเก่าแก่ของตระกูล ณ นครครูทั้งสองคนนี้หวงวิชามาก แต่อาศัยความสนใจจริงความพยายามและความอดทนอย่างสูง จึงสามารถเรียนวิชาช่างทอผ้ามาจากครูทั้งสองคนนี้ได้ ด้วยการเลียนแบบแอบดูและจดจำมา จนกระทั่งเกิดความชำนาญ สามารถตั้งโรงทอผ้าขึ้นที่บ้าน ผ้าที่ทอเป็นพวกผ้ายกดอก ผ้าเก้ากี่ ผ้าหางกระรอก และผ้าราชวัตร ซึ่งเคยมีรายได้ดีมาก เพิ่งจะเลิกทอไปเมื่อ พ.ศ.2522 เพราะขาดวัสดุที่มีคุณภาพและช่างที่ชำนาญ

กลุ่มทอผ้า

        จากข้อมูลกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ซึ่งสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราชรวบรวมไว้เมื่อ พ.ศ.2534 ปรากฏว่ามีกลุ่มทอผ้าอยู่ 12 กลุ่ม คือ
1) กลุ่มทอผ้าตำบลนาสาร อ.เมือง ในพื้นที่ 2,4,และ 5 ตำบลนาสารมีการทอผ้ายกเงินยกทอง ผ้าเก้ากี่ ผ้าเก็บชาย ผ้าราชวัตร และผ้าหางกระรอก
2) กลุ่มทอผ้าบ้านมะม่วงปลายแขน ตำบลท่างิ้ว อ.เมือง ในพื้นที่หมู่ที่ 8 มีการทอผ้าพื้น ผ้ายกและผ้าขาวม้า
3) กลุ่มทอผ้าตำบลฉลอง อำเภอสิชล
4) กลุ่มทอผ้าหัวตะพาน อำเภอท่าศาลา
5) กลุ่มทอผ้าประดู่หอม อำเภอท่าศาลา
6) กลุ่มทอผ้าสวนหลวง อำเภอเชียรใหญ่
7) กลุ่มทอผ้าเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่
8) กลุ่มทอผ้าบ้านแหลม อำเภอหัวไทร
9) กลุ่มทอผ้าเขาพังไกร อำเภอหัวไทร
10) กลุ่มทอผ้าบ้านขอนหาด อำเภอชะอวด
11) กลุ่มทอผ้าบ้านควนพัง อำเภอร่อนพิบูลย์
12) กลุ่มทอผ้าบ้านสามตำบล อำเภอจุฬาภรณ์



ประเภทผ้าทอ

ผ้ากับชีวิตของชาวนคร