www.tungsong.com
น้ำตกคลองจัง ยางดังพันธุ์ดี พื้นที่อุดม ชมงานปิดกรีด
  ศักยภาพ          นโยบาย 8 เร่งรัด          นโยบายกระทรวง ทบวง กรม
  ความเข้มแข็งของชุมชน          ปัญหาและอุปสรรค


ข้อมูลตำบล :นาบอน / ทุ่งสง / แก้วแสน

         อำเภอนาบอนตั้งอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดนครศรีธรรมราชห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 77 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 192.57 ตร.กม. (120,561 ไร่) สภาพพื้นที่เป็นที่สูงลาดเชิงเขาสลับกับที่ราบบางแห่ง มีเทือกเขาเหมนตั้งเด่นตระหง่านอยู่ทางทิศตะวันออกของที่ว่าการอำเภอ มีลำน้ำธรรมชาติ คลองจัง คลองลำประ คลองสำร่วน คลองมิน คลองลำสาว คลองโอม พื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ เนื้อที่ประมาณ 16,857 ไร่

         เชิงความได้เปรียบของพื้นที่ ประชากร ทรัพยากรธรรมชาติ ของอำเภอนาบอน กล่าวคือ มี 3 ตำบล (ตำบลนาบอน ตำบลแก้วแสน ตำบลทุ่งสง) ประชากรทั้งสิ้น 27,980 คน (ชาย 13,871 คน หญิง 13,992 คน) ความหนาแน่น เฉลี่ย 143 คน/ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นด้านการเกษตรประมาณ 75,228 ไร่เฉพาะพื้นที่ปลูกยางพารา ประมาณ 54,500 ไร่ คิดเป็น 72.45% จึงเป็๋นแหล่งการผลิตและการแปรรูปยางพาราส่งออกต่างประเทศ นำเงินตราเข้าประเทศทำรายได้ปีละมากกว่า8,000 ล้านบาท ถึงแม้เป็นเมืองขนาดเล็กแต่เป็นเมืองที่อุดมไปด้วยโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ รวม 10 โรง โรงงานผลิตกระเบื้อง 5 ห่วง 1 โรง นอกจากนั้นยังมีเขาเหมนเป็นแหล่งธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ สวยงาม เหมาะแก่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มียอดเขาสูงจากระดับน้ำทะเล 1,235 เมตร พันธุ์ไม้นานาชนิดที่หายาก นับเป็นความได้เปรียบในเชิงธรรมชาติ
Top

 การพัฒนาเศรษกิจชุมชนพึ่งตนเอง ในจำนวน 30 หมู่บ้าน อย่างน้อยการดำเนินกิจกรรมตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจแบบพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ ได้ดำเนินการทุกหมู่บ้าน โดยเฉพาะกิจกรรมหลัก ๆ อันได้แก่
        - การเกษตรแบบผสมผสาน เกษตรปลอดสารพิษ การใช้เทคโนโลยีพึ่งตนเอง ได้ดำเนินกิจกรรมทุกหมู่บ้านโดยเฉพาะ หมู่ที่ 1 ตำบลแก้วแสน ได้จัดทำจุดสาธิตปลูกผักปลอดสารพิษ การใช้ปุ๋ยหมัก การทำปุ๋ยหมักแทนปุ๋ยเคมีการใช้สารสมุนไพรกำจัดศัตรูพืช
        - การจัดกลุ่มออมทรัพย์ รวมทั้งสร้างเครือข่ายทุกระดับเป็นกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการเกษตร 9 กลุ่ม สมาชิกทั้งหมด 779 คน เงินสัจจะทั้งหมด 3,765,010 บาท และการสร้างเครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตรวมสมาชิก 779 คน เครือข่ายอาสาพัฒนาชุมชน จำนวน 120 คน
        - การสร้างกลุ่มอาชีพและแปรรูปสินค้าเกษตร ได้แก่ กลุ่มจักสาน หมู่ที่ 1 ตำบลแก้วแสน กลุ่มเพาะเห็ดนางฟ้า หมู่ที่ 6 ตำบลแก้วแสน กลุ่มส่งเสริมการใช้ประ.โยชน์จากแหล่งน้ำ หมู่ที่ 7 ตำบลแก้วแสน กลุ่มเลี้ยงโค หมู่ที่ 7 ตำบลแก้วแสน
        - กิจกรรมลานค้าชุมชน ตลาดนัดชุมชน ร้านค้ารินทาง มี 5 แห่งกล่าวคือ หมู่ที่ 2 ตำบลนาบอน (อังคาร,พฤหัสบดี) หมู่ที่ 4 ตำบลนาบอน (พุธ) หมู่ที่ 1 ตำบลแก้วแสน (เสาร์) หมู่ที่ (ศุกร์พุธ) หมู่ที่ 1 ตำบลทุ่งสง (อาทิตย์)
        - การบริโภคสินค้าชุมชน การปลูกพืชผักสวนครัวทุกตำบลหมู่บ้านและการจัดบริโภคสินค้าจากแปลงเพาะปลูกสินค้าปลอดสารพิษขององค์การสวยยาง กิ่งอำเภอช้างกลาง
        - แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ การท่องเที่ยวเขาเหมน โดยมีเจ้าหน้าที่ (อส.) เป็นผู้นำทางบริการทุกครั้งที่มีการร้องขอและการรักษาความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว
        - การสร้างประชาคมทุกระดับ ทั้งระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ รวมสมาชิกประชาคม 1,516 คน คิดเป็น 5.6% ของประชากรส่วนกิจกรรมด้านการสร้างศูนย์การศึกษาและการพัฒนาด้านเกษตร และการพัฒนาแพทย์แผนไทย ยังไม่ได้ดำเนินการในพื้นที่
        ส่วนกิจกรรมด้านการสร้างศูนย์การศึกษาและการพัฒนาด้านเกษตร และการพัฒนาแพทย์แผนไทย ยังไม่ได้ดำเนินการในพื้นที่
 ขจัดความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหาในด้านนี้มีน้อยแต่ได้สร้างภูมิคุ้มกันในระดับหมู่บ้าน ตำบล ร่วมกันระหว่างพนักงานฝ่ายปกครอง กับตำรวจองค์กรประชาชน และประชาชนในหมู่บ้าน
 การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด อำเภอนาบอนเป็นอำเภอแรกที่มีการสนองตอบนโยบายตัดฟันพืชกระท่อมได้สำเร็จ รวม 4 หมู่บ้าน จังหวัดมีหนังสือชมเชยให้อำเภออื่น ๆ เป็นแบบอย่าง นอกจากนั้นยังจัดตั้งหมู่บ้านชุมชนเฉลิมพระเกียรติปลอดยาเสพติดผ่านการประเมินระดับจังหวัด 7 หมู่บ้าน และครั้งล่าสุดได้เป็น 1 ใน 8 หมู่บ้านของจังหวัดที่ได้รับธงเฉลิมพระเกียติหมู่บ้านปลอดยาเสพติด คือ หมู่ที่ 10 ตำบลนาบอน
 เร่งรักส่งเสริมการท่องเที่ยว เป็นการท่องเที่ยวเขาเหมน ยอดสูง 1,235 เมตรซึ่งมีคณะท่องเที่ยวเป็นครั้งคราว อำเภอจัดบริการผู้นำเที่ยวและจัดชุดรักษาความปลอดภัยนอกจากนั้นน้ำตกคลองจัง หมู่ที่ 4 (บ้านคลองจัง) ตำบลนาบอน เป็นแหล่งลำน้ำตามธรรมชาติเหมาะแก่การพักผ่อนและท่องเที่ยว
 เร่งรัดดำเนินการโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งไม่มีในพื้นที่
 เร่งรัดและส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ซึ่งอำเภอได้ดำเนินการตามกระบวนการประชาคม อำนวยการเลือกตั้งระดับชาติและจัดการเลือกตั้งระดับท่องถิ่นให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เช่น การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด การเลือกตั้งสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล และเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2543 จัดอบรมโครงการชูธงเพื่อประชาธิปไตยประชาคมพร้อมใจไปเลือกตั้ง มีประชาคม กลุ่มพลังประชาชน รวม 103 คน เข้ารับการอบรม
 เร่งรัดอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการสนองโครงการพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าศิริกิติ์ ปลูกไม้มิ่งมงคล 1 ต้น หน้าที่ว่าการอำเภอปลูกไม้โตเร็วตำบลละ 1,000 ต้น ปลูกไม้ผลอำเภอละ 100 ต้น รวมทั้งการรณรงค์ส่งเสริมมาตรการปลูก การสร้างความตระหนัก การบำรุงรักษา การดำเนินการทางกฏหมาย นอกจากนั้นโครงการปลูกไม้แสนกล้าทุกหมู่บ้าน ในวันที่ 5 ธันวาคม 2543 จำนวน 5,000 ต้น
 เร่งรัดและสานต่อโครงการต่อเนื่อง อันได้แก่โครงการของกระทรวง ทบวง กรม ที่จะกล่าวในแนวทางต่อไป

      
Top
 โครงการก่อสร้างศูนย์เพาะพันธุ์พืช หมู่ที่ 5 ตำบลนาบอน เป็นการก่อสร้างอาคารศูนย์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นงบผูกพันธุ์ ปี 2542 จำนวน 14 ล้านบาท ปี 2543 จำนวน 28 ล้านบาท และปี 2544 จำนวน 28 ล้านบาท
 ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลแก้วแสน หมู่ที่ 2 เป็นศูนย์ถ่ายทอดนำความรู้เทคโนโลยีการเกษตรและการบูรณาการเกษตร ให้เกษตรกรนำไปปฏิบัติเป็นตัวอย่าง
 การปฏิบัติตามนโยบายอื่น ๆ ของกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งปรากฏในแผนปฏิบัติการประจำปี ได้ดำเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
Top

 ชุมชนเข้มแข็ง ประชากรมีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง โดยเฉลี่ย 29,000 บาท/ปี เป็นดัชนีที่เหมาะแก่การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านอื่น ๆ เนื่องจากชาวนาบอนส่วนใหญ่เป็นชุมชนดั่งเดิมเกาะเกี่ยวสายสัมพันธ์เหนียวแน่น มีการรวมกลุ่ม รวมอาชีพหลากหลายการพบปะสนทนาในเวทีประชาคมทั้งในรูปแบบและนอกรูปแบบ สนใจในงานประเพณีโดยเฉพาะงานประเพณีปิดกรีด ซึ่งจะจัดในราวประมาณเดือนมีนาคมของทุกปี เป็นศูนย์รวมความสามัคคีของชุมชนนาบอน จึงเป็นทุนทางสังคมที่ทำให้สังคมเข้มแข็งและยั่งยืน
 ภาคประชาชน ภาคราชการ ภาคองค์กรประชาชนเข้มแข็ง เป็นภาคีการพัฒนาของชาวนาบอนเป็นเวลาช้านาน รวมกลุ่มเป็นสังคมที่มีคุณภาพ เป็นสังคมที่เอื้ออาทรเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ พิจารณาตัวชี้วัดที่สำคัญ ได้แก่ การศึกษา คุณภาพชีวิตอยู่ในเกณฑ์ดี การบริหารราชทุกส่วนเป็นไปในเชิงรุก โดยจัดประชุมหัวหน้าส่วนราชการ การประชุมประจำเดือนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตามวัดวาอารามต่าง ๆ หมุนเวียนแต่ละเดือนโดยทุกคนนำปิ่นโตไปถวายพระรับศีล ถวายปัจจัยเสร็จแล้วดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระการประชุม เพื่อให้พระสงฆ์ได้รับทราบข้อราชการ เป็นหนทางหนึ่งในการเทศนาเผยแพร่ ซึ่งได้รับหนังสือชมเชยจากผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นการสร้างความเข้มแข็งของ
 คำ ว่า  "บ - ว- ร"
     จากยุทธศาสตร     ์เป้าหมาย
     - ศักยภาพ
     - นโยบาย 8 เร่งรัด
     - นโยบาย กระทรวง ทบวง กรม
     - ชุมชนเข้มแข็ง
     - นาบอนน่าอยู่
Top

         ปัญหาอุปสรรคในเชิงนโยบายคือ การนำนโยบายไปปฏิบัติส่วนใหญ่ไม่มีหรือมีก็น้อยที่สุด สามารถแก้ไขได้ในระดับพื้นที่หรือระดับอำเภอ แต่ปัญกาส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาเชิงสังคมเชิงโครงสร้างตามธรรมชาติ กล่าวคือ
        1. ด้านแหล่งน้ำ ซึ่งประกอบด้วยน้ำกินน้ำใช้ ในเขตชุมชนโดยเฉพาะเขตเทศบาล ปัญหาด้านน้ำกินน้ำใช้ ได้แก้ไขปัญหาโดยระบบประปาภูมิภาค แต่ในระดับตำบลหมู่บ้าน ระบบประปาไม่ทั่วถึง บางพื้นที่ขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ โดยเฉพาะตำบลแก้วแสน หมู่ที่ 3,4,5,6 ซึ่งอำเภอแก้ไขปัญหาโดยนำน้ำไปแจกจ่ายตามจุดต่าง ๆ
        2. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะถนนภานในหมู่บ้านประมาณ 80% เป็นถนนดินลูกรัง ถนนหินผุหรือดินเดิมบางสายเป็นหลุมเป็นบ่อ และหากฤดูฝนจะเป็นดินโคลน การสัญจรไปมาไม่สะดวก ถึงแม้จะใช้งบประมาณของท้องถิ่นก็ไม่เพียงพอ
        3. ด้านความมั่นคง พื้นที่อำเภอนาบอนเป็นแหล่งอุตสาหกรรมโรงงานต้องอาศัยแรงงานต่างชาติ และเป็นเป้าหมายของแรงงานต่างชาติ ซึ่งได้วางแผนแก้ไขปัญหากับผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม สามารถควบคุมปัญหาแรงงานต่างด้าวได้ในระดับหนึ่ง แต่ที่ระมัดระวังเป็นกรณีพิเศษ คือ การเพิ่มชื่อบุคคลในงานทะเบียนราษฎรได้ประชุมซักซ้อมแนวทางปฏิบัติอย่างชัดเจนแล้ว
        จากสภาพปัญหาและความต้องการของประชาชนด้งกล่าว ได้ร่วมกับประชาชนหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แปลงไปสู่แนวทางปฏิบัติตามแผนงานโครงการปรากฏในแผนพัฒนาอำเภอ ประจำปี 2545 ดำเนินการแก้ไขแล้ว หากดำเนินการตามแนวทางขั้นตอนต่าง ๆ จะทำให้ "นาบอนน่าอยู่" อีกระดับหนึ่งต่อไป


Top