Traditionof Nakhon Sri Thammarat


        ให้ทานไฟ เป็นประเพณีเฉพาะของพุทธศาสนิกชนในจังหวัดนครศรีธรรมราชที่สืบเนื่องมาแต่โบราณ กระทำกันใน เดือนยี่ ของทุกๆ ปี ไม่กำหนดวันที่แน่นอน สุดแต่ความสะดวกของประชาชนในแต่ละท้องที่ เมื่อถึงวันกำหนดจะร่วมกันก่อไฟกองใหญ่ขึ้นในลานวัด ตั้งแต่เช้าตรู่ ปูเสื่อใกล้กองไฟแล้วนิมนต์ภิกษุสามเณรทั้งหมดในวัดมานั่งผิงไฟ จากนั้นก็ตั้งเตาทำอาหารหวานคาวตามแบบพื้นเมืองถวายพระ เลี้ยงอาหารหวานคาวแก่เด็กวัดและประชาชนที่ไปร่วมงานทั้งหมด

           สันนิษฐานว่าประเพณีให้ทานไฟเกิดแต่ฤดูกาลดังกล่าวนี้ อากาศหนาว เป็นเหตุให้ภิกษุสามเณรซึ่งมีเพียงจีวรบางๆ ผืนเดียวพันกายหนาวจัด และบรรดาภัตตาหารที่ได้จากบิณฑบาตรเย็นชืดไม่เป็นรสชาติ จึงคิดกันจะอุปัฏฐากภิกษุสามเณรให้ได้รับความอบอุ่นจากความร้อนของไฟ และได้ฉันภัตตาหารที่ปรุงขึ้นทันที่ทันใด เชื่อว่าคติอันนี้ยึดเอาความเรื่องราวอันมีมาในชาดกขุททกนิกายเป็นมูล

           ขุททกชาดกกล่าวถึงเศรษฐีโกสิยะในแค้วนสักกะ กรุงราชคฤห์ สมัยพุทธกาล ว่าเป็นผู้มีทรัพย์ถึง ๘๐ โกฏิ มีข้าทาสบริวารนับพัน สร้างคฤหาสน์กว้างใหญ่ถึง ๗ ชั้น แต่เป็นคนตระหนี่ถี่เหนียวจนกลายเป็นคนเห็นแก่ตัว นึกอยากกินขนมเบื้องก็ไม่กล้าซื้อจากที่เขาทำขาย กลัวจะถูกขอ ครั้นลงมือทำกินเองก็แอบขึ้นไปทำบนชั้นที่ ๗ ของคฤหาสน์เพื่อไม่ให้ใครเห็นเพื่อนบ้านทั่วไปจึงพากันเกลียดชัง ครั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับ ณ วัดแต่นครศรีธรรมราชแห่งเดียว นอกนั้นไม่มีที่ไหนทำกัน ส่วนประเพณีนิยมที่คล้ายกันกับการให้ทานไฟของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชก็มีทางภาคอีสาน ซึ่งมีการทำบุญข้าวจี่ในเดือน ๓ เดือน ๔ โดยการ

           เชตวันวิหาร กรุงราชคฤห์ ทรงทราบเรื่องจึงทรงส่งโมคคัลลานไปทรมานจนละนิสัยตระหนี่ ขนแป้งและกระทะไปตั้งเตาติดไฟละเลงขนมเบื้องถวายองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและสาวก ๕๐๐ รูปที่วัดเชตวันวิหาร และเมื่อเศรษฐีโกสิยะได้ฟังพระธรรมเทศนาจากพระโอษฐ์ในครั้งนั้นก็บังเกิดความปีติอิ่มเอิบในการบริจาคทานและบรรลุโสดาปัตติผลในที่สุด

           เชื่อกันว่าตำรับการทำขนมเบื้องของโกสิยะเศรษฐีที่ทำถวายพระสงฆ์ ณ วัดเชตวิหารนั้น สืบทอดมาเป็น "ขนมกรอก" ที่ชาวพุทธเมืองนครศรีธรรมราชทำถวายสงฆ์ในประเพณีให้ทานไฟด้วย ขนมกรอกหรือขนมให้ทานไฟมีส่วนผสมและวิธีทำง่ายๆ คือใช้ข้าวสารเจ้าแช่น้ำ กรอกบดด้วยหินเครื่องโม่ที่ชาวนครศรีธรรมราชเรียกว่า "หินบด" โดยบดอย่าให้ข้นหรือเหลวเกินไปแล้วคั้นกะทิติดไฟเคี่ยวให้แตกมันผสมลงไปในแป้งพร้อมน้ำตาลพอให้ออกรสหวาน ตอกไข่สดใส่ตามส่วน ซอยหอมให้ละเอียด โรยแล้วตีให้เข้ากัน ต่อจากนั้นก็เอากระทะตั้งไฟให้ร้อน ใช้น้ำมันพืชผสมไข่แดงเช็ดทากระทะให้เป็นมันลื่น เพื่อไม่ให้แป้งติดผิวกระทะเมื่อหยอดแป้ง ละเลงให้เป็นแผ่นและต้องระวังไม่ให้แผ่นขนมกรอกบางเหมือนขนมเบื้องทั่วไปเพราะจะไม่นุ่มและขาดรสชาติ พอสุกก็ตลบพับตักรับประทานทั้งร้อนๆ ปัจจุบันขนมกรอกดังกล่าวนี้ไม่นิยมทำกัน แต่นิยมทำขนมพื้นเมืองประเภทอื่นๆ เช่น ขนมครก ขนมฝักบัว (ซึ่งเรียกตามภาษาพื้นเมืองว่า ขนม "จู้จุน") เป็นต้น

           เป็นที่น่าสังเกตว่าการทำขนมกรอก นอกจากอินเดีย ลังกาเจ้าตำรับเดิมแล้ว ในประเทศไทยคงมี ก่อไฟกองใหญ่ตามลานวัด เอาข้าวเหนียวนึ่งสุกแล้วปั้นเป็นก้อนขนาดผลมะตูม ใช้น้ำตาลปึกเป็นไส้ใน เสียบไม้คลุกไข่ แล้วย่างไฟจนสุกกรอบแล้วจึงถวายพระ (ดิเรก พรตตะเสน)

 

ประเพณีสวดด้าน                    ประเพณีไล่แม่มด