Tradition of Nakhon Sri Thammarat


            ประเพณีสงกรานต์ ในนครจะอยู่ 3 วัน คือ วันที่ 13 , 14 , 15 เมษายน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
 

งานสงกรานต์ของเมืองนครศรีฯ

          วันที่ 13 เมษายน เชื่อกันว่าเมื่อถึงวันนี้ เทวดาผู้ทำหน้าที่รักษาดวงชะตาบ้านเมืองและประชาชน จำเป็นต้องละทิ้งบ้านเมืองที่ตนรักษา เพราะต้องกลับไปชุมนุมกันบนสรรค์ จึงได้เรียกวันนี้ว่า " วันเจ้าเมืองเก่าหรือวันส่งเจ้าเมืองเก่า " ในวันนี้ชาวนครจึงพร้อมใจกันทำความสะอาดบ้านเรือน เครื่องใช้ไม้สอยเครื่องประดับ เครื่องแต่งกาย และทำการซ่อมแซมหากชำรุดเสียหาย และหากรู้ตัวว่าในปีที่ผ่านมาตนมีความเดือนร้อนใจ มีทุกข์โศกโรคัย ก็จะมีการทำพิธีสะเดาะเคราะห์ เรียกพิธีนี้ว่า " ลอยเคราะห์ " หรือ " ลอยแพ "

            การลอยเคราะห์ ทำกันอย่างง่าย ๆ คือ เอาหยวกกล้วยมาตัดเป็นท่อน ๆ แล้วทำแพโดยใช้ไม้เสียบ แล้วเอากระทงใส่อาการต่าง ๆ หมากพลู ธูปเทียน ดอกไม้ วางบแพปักธงรอบ ๆ แพนั้น บางคนก็ตัดผมตัดเล็บและใส่เงินลงในแพ จากนั้นเอาแพลอยน้ำ อธิษฐานให้เคราะห์กรรมลอยไปกกับกระแสน้ำ เพื่อให้เจ้าเมืองเก่ารับเอาไป และขอความสวัสดีจงมีแก่ตนและครอบครัวตลอดปีใหม่ นอกจากนี้ชาวนครยังนิยมฝากเคราะห์ให้กับสัตว์ชนิดต่าง ๆ โดยจับสัตว์มาพรมเครื่องหอมแล้วอธิษฐานฝากเคราะห์ แล้วปล่อยสัตว์ไป

           การเนาคือวันที่ 14 เมษายน ซึ่งชาวนครเรียกว่า "วันว่าง " ตามความเชื่อแต่เดิมวันนี้เป็นวันที่เทวดาจากเมืองต่าง ๆ ที่ไปตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน จะสถิตอยู่นบสวรรค์โดยพร้อมเพรียงกัน ในโลกมนุษย์จะไม่มีเทวดาเหลืออยู่เลย เลยเรียกว่าวันว่าง " วันว่าง " ในวันนี้เทวดาจากเมืองต่าง ๆ จะมาประชุมเพื่อรายงานผลและความเป็นไปในรอบปีของเมืองที่ตนรักษาอยู่ ว่าประชาชนทำความดีความชั่วอะไรบ้าง ทั้งนี้เพื่อจะพิจารณขจัดทุกข์ ให้หมดไปจากมนุษย์ และพิจารณาย้ายเทวดาโดยสับเปลี่ยนให้เหมาะสม
 
        
ขบวนแห่ที่ศาลากลาง จ.นครศรีฯ

           ครั้นเลิกประชุมเทวดาทั้งหมดก็ร่วมสังสรรค์ในคืนนั้น มีการขับกล่อมและรื่นเริง ในวันนี้ชาวนครยุติการทำงานทุกอย่าง เพราะถือว่าวันนี้ไม่มีเทวดาคุ้มครอง ทุกสิ่งทุกอย่างจึงอยู่ในสภาพที่ว่าง สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ก็เก็บ สากและครกที่ตำข้าวก็แช่น้ำเพื่อหยุดการใช้งาน บางครั้งก็เอาด้ายสีต่าง ๆ กับหมาก 1 คำ ผูกไว้กับสาก แช่น้ำจนครบ 3 วัน จึงนำมาใช้อีก ประชาชนส่วนใหญจะพากันไปวัดในวันนี้ จากนั้นก็ไปสักการะและสรงน้ำพระพุทธสิหิงค์ที่สนามหน้าเมือง และนิยมนำน้ำจากการสรงพระเพื่อใช้ในกิจอันเป็นมงคลที่บ้าน

           หลังจากนั้นก็นำอาหาร เครื่องใช้ ของฝาก ไปแสดงความเคารพผู้ใหญ่ และพระสงฆ์ที่ตนนับถือ และถือโอกาสรดน้ำขอพรจากผู้ใหญ่ เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที ในวันนี้จะมีการละเล่นทั่งเมืองนครเช่น มโนห์รา หนังตะลุง เพลงบอก มอญซ่อนผ้า อุบลูกไก่ ชักเย่อ สะบ้า เตย ปิดตาลักซ่อน วัวชน ชนไก่ การละเล่นต่าง ๆ นี้เรียกว่า " เล่นวันว่าง "

           ในวันที่ 15 เมษายน เป็นวันสุดท้ายของประเพณีสงกรานต์ ซึ่งเรียกว่าวัน " วันเจ้าเมืองใหม ่" หรือ วันตอนรับเจ้าเมืองใหม่ วันนี้เทวดาเสด็จกลับยังโลก เพื่อไปประจำรักษาเมืองที่ตนได้ปกครอง ทุกเมืองจะได้เทวดาองค์ใหม่และดูแลรักษาตลอดปีใหม่

           ชาวนครจะเตรียมตัวเพื่อตอนรับเทวดาเจ้าเมืองใหม่ ด้วยการแต่งการด้วยเสื้อผ้าและเครื่องประดับใหม่ แล้วนำภัตตาหารไปทำบุญที่วัดตั้งแต่เช้า จากนั้นก็รดน้ำผู้ใหญ่ ญาติผู้ใหญ่ และพระสงฆ์ ที่ยังไม่ได้รดน้ำในวันว่าง ในวันนี้ตระกูลใดรดน้ำผู้ใหญ่โดยประกอบพิธีใหญ่ เรียกว่า " ขึ้นเบญจา " (โรงหรือพลับพลามีหลังคา 5 ยอด แบบจตุรมุข โดยนับยอดจั่วของพลับพลารวมกับยอดโดม) หรือเพี้ยนเป็น " ขึ้นบิญจา "  ซึ่งเป็นประเพณีที่ทำติดต่อกันมานาน โดยลูกหลานจะนิมนต์พระสงฆ์มาสวดปริตร เพื่อทำน้ำพระพุทธมนต์ผสมกับน้ำธรรมดา เติมของหอม ผสมกันในโอ่ง จากนั้นให้ผู้ใหญ่นั่งในโรงเบญจา ลูกหลานจะรดน้ำ ขณะเดียวกันพระสงฆ์สวดขันโตให้พร เมื่อเสร็จลูกหลานจะเปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ให้ ผู้ใหญ่ให้พร
 

ประเพณีลากพระ                    ประเพณีทำขวัญข้าวและนาหว้า