Tradition of Nakhon Sri Thammarat


       การแห่ผ้าขึ้นธาตุของนครเกิดเพราะชาวนครเริ่มนับถือศาสนาพุทธจากอินเดีย จึงรับเอาประเพณีต่าง ๆ ตามแบบพุทธศาสนาในอินเดียมาด้วย


แห่ผ้าขึ้นธาตุที่วัดพระธาตุฯ
 

           แห่ผ้าขึ้นธาตุ คือ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นห่มโอษฐานเจดีย์พระบรมธาตุเมืองนคร ซึ่งสมัยก่อนเรียกว่า " แห่พระบฎขึ้นธาตุ" กระทำกันในวันมาฆบูชา ปีละ 2 ครั้งทุกปี ตามตำนานกล่าวว่า ในสมัยอาณาจักรศรีวิชัย ราว พ.ศ.1773 ในสมัยพระเจ้าสามพี่น้อง คือพระเจ้าศรีธรรมโศกหมาราช พระเจ้าจันทรภาณุ และพระเจ้าพงษาสุระ ทรงประกอบพระราชพิธีวิสาขะสมโภชพระบรมธาตุครั้งแรก

ความเป็นมา
           สมัยพญาศรธรรมโศก มีเเรื่องปรากฏในตำนานพระบรมธาตุเมืองนรคศรีธรรมราชว่า ก่อนเริ่มพิธีสมโภชพระบรมธาตุไม่กี่วัน คลื่นได้ซัดผ้าแถบผืนหนึ่งมีลายเขียนเป็นรูปเรื่องราวพุทธประวัติที่เรียกกันว่า "พระบต" หรือ " พระบฏ " ขึ้นที่หาดปากพนัง ชาวปากพนังเก็บได้ส่งมาทูลเกล้าฯ ถวายพญาศรีธรรมโศกราชจันทรภานุที่เมืองนครศรีธรรมราช หลังจากนั้นพระองค์ทรงให้เจ้าพนักงานซักทำความสะอาด แต่ลวดลายรูปในผืนผ้ายังเด่นชัดสวยงาม เมื่อซักเสร็จก็ผึ่งไว้ในพระราชวังและประกาศหาเจ้าของ

           ต่อมาปรากฏว่า พระบฏเป็นของพุทธศาสนิกชนกลุ่มหนึ่ง เชิญลงเรือมาจากเมืองอินทรปัตซึ่งอยู่แถวลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อนำไปถวายเป็นพุทธบูชาพระทันตธาตุคือ พระเขี้ยวที่ลังกา แต่เรือถูกมรสุม หัวหน้าพุทธศาสนิกชนกลุ่มนี้ตาย เหลือเพียงบริวารรอดขึ้นฝั่งที่ท่าศาลา ประมาณ 10 คน ส่วนพระบฏถูกคลื่นซัดขึ้นฝั่งที่ปากพนัง

           พญาศรีธรรมโศกราชจันทรภาณุสทรงพิจารณาเห็นว่า พระบฏซึ่งเจ้าของ ตั้งใจนำไปถวายเป็นพุทธบูชา จึงโปรดให้พุทธศาสนิกชนจัดแห่แหนห่มองค์เจดีย์พระบรมธาตุ อุทิศส่วนกุศลให้เจ้าของในครั้งวิสาขบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 แม้จะไม่ใช้ดั่งที่ เจ้าของตั้งใจไว้แต่ก็เป็นพระบรมสารริกธาตุองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

           จากเหตุดังกล่าวจึงเกิดเป็นประเพณีประจำปีองค์กษัตริย์สืบมาถึงเจ้าเมือง กรมการเมืองนครศรีธรรมราชทุกสมัย จะต้องจัดให้มีการแห่พระบฏขึ้นห่มโอบฐานพระบรมธาตุในเทศกาลวิสาขบูชา จนกลายเป็นประเพณีอย่างหนึ่งของจังหวัดนครศรีธรรมราช

                

           ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีหลักฐานปรากฎว่า ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุกระทำในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ในวันดังกล่าวมีการเวียนเทียนรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์ และพระสงฆ์มาประชุมพร้อมกันที่วัดพระมหาธาตุมหาวิหารเพื่อสวดสมโภชประจำปี ประจวบกับระยะดังกล่าวเป็นระยะที่เก็บเกี่ยวพืชผลเสร็จ เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วประชาชนชวนกันไปทำบุญ ด้วยเหตุนี้ในวันแห่ผ้าขึ้นธาตุของแต่ละปีจึงมีประชาชนไปร่วมคับคั่งทุกปี

           ครั้งถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชประสงค์ให้พุทธศาสนิกชนจัดพิธีทางศาสนาพุทธ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ชาวเมืองจึงจัดให้มีการเวียนเทียนรอบพระบรมธาตุเจดีย์อีกวัน (แต่ในวันนี้ไม่มีการสวดสมโภชพระบรมธาตุแต่อย่างใด) แต่ประชาชนที่มาจากต่างเมืองได้ถือโอกาสเอาผ้าที่เตรียมมาห่มแห่ขึ้นพระธาตุด้วย

                

           เหตุนี้ ประเพณีแห่พระขึ้นธาตุของเมืองนครจึงมีปีล่ะ 2 ครั้ง คือ ในวันเพ็ญเดือนสาม (วันมาฆบูชา) และในวันเพ็ญเดือนหก (วันวิสาขบูชา) แต่ประชาชนนิยมร่วมในประเพณีนี้ในวันเพ็ญเดือนสามมากกว่าวันเพ็ญเดือนหก เพราะในสมัยก่อนการคมนาคมไม่สะดวก ชาวพุทธจากต่างจังหวัดจึงมักนิยมมานมัสการพระบรมธาตุเจดีย์โดยทางเรือ เพราะในเดือนสามน้ำในแม่น้ำลำคลองจะเต็ม ส่วนในเดือนหกน้ำจะแห้ง

            บางขบวนมาจากต่างเมือง มีเครื่องประโคม มีการร่ายรำนำขบวน และมักมีดนตรีนำหน้า เช่น ปี่ กลอง (บางท้องที่เรียกว่า โพน หรือ ตะโพน) ระนาด และฉิ่ง มักเป็นเพลงจังหวะที่ครึกครื้น หลังจากขบวนมาพร้อมกันที่วัดมหาธาตุฯ ทุกคนก็จะกล่าวคำถวายพระบฏ จากนั้นจะเคลื่อนขบวนไปแห่ทักษิณาวรรตรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์ เพื่อสักการะบูชา แล้วนำพระบฏเข้าสู่พระวิหารม้า (หรือพระวิหารมรงม้า หรือพระวิหารมหาภิเนษกรม) จากนั้นผู้ที่ร่วมในขบวนแห่จะส่งผู้แทน 3-4 คน ร่วมกับเจ้าหน้าที่ นำพระบฏขึ้นโอบรอบพระบรมธาตุเจดีย์

           การบูชาองค์พระบรมธาตุโดยการแห่ผ้าขึ้นธาตุนั้น นอกเหนือจากการแห่ผ้าขึ้นธาตุในช่วงประเพณีที่จัดขึ้น ยังอาจกระทำในโอกาส เช่น ในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในสมัยก่อน ๆ เสด็จเมืองนครทุกคราวโปรดฯ ให้มีการแห่ผ้าขึ้นห่มพระบรมธาตุจดีย์

           สำหรับประเพณีแห่พระบฏขึ้นธาตุของหมู่ประชาชนยังทำสืบกันมา แต่แยกเป็นต่างกลุ่มต่างทำ คือ พระบฏกลายเป็นผ้าขาว ผ้าเหลือง ผ้าแดงสุดแต่จะชอบ และไม่มีการเขียนรูปพระพุทธประวัติ เนื่องจากช่างเขียนไม่คิดค่าจ้าง การเรียกชื่อประเพณีก็จะไม่มีคำว่า "พระบฏ" ไปจนในที่สุดก็คงเหลือเพียง "แห่ผ้าขึ้นธาตุ" เป็นพุทธบูชา การแห่ก็มีเพียงช่วยกันจับชายผ้า เทินผ้า ไปตามถนน ไม่มีสำรับคับค้อน ไม่มีกระบุง กระจาด ของสด ของแห้ง บางขบวนก็ตั้งขบวบ ไปวัดพระธาตุฯ อย่างเงียบ ๆ พอเป็นพิธี แต่ละคน แต่ละคณะต่างเตรียมผ้าขึ้นธาตุไม่พร้อมเพรียงกัน แล้วแต่สะดวก ตลอดวันมีขบวนแห่ผ้าขึ้นธาตุไม่ขาด
 
                    กวนอธุปายาสยาคู