Tradition of Nakhon Sri Thammarat


         เป็นประเพณีที่เชื่อกันว่ามีเทพเจ้าเป็นเจ้าของมีอำนาจในการดลบันดาลให้ผู้ปลูกได้ผลผลิตมากหรือน้อย คือ " เจ้าแม่โพสพ "

         ตามตำนานกล่าวว่า ประชาชนไม่ให้ความสำคัญแก่เจ้าแม่โพสพ เพราะหลังจากเจ้าแม่โพสพกำเนิดสัตว์โลกต่างพูดจากันเข้าใจ แต่ชาวบ้านกลับคิดว่าพระพุทธเจ้ามีความสำคัญที่สุด ดังนั้นนางจึงหนีไปอยู่ที่ถ้ำอันห่างไกล ทำให้นาข้าวของชาวบ้านได้ผลผลิตไม่เต็มที่ ชาวบ้านจึงทูลถามพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงตรัสว่าชาวบ้านไม่รู้จักบุญคุณของนาง จากนั้นพระพุทธเจ้าให้มาตุลีแปลงตัวไปเป็นปลาสลาดไปบอกนาง แต่นางได้ฝากเม็ดข้าวเก้าเม็ด และกำชับให้ระลึกถึงนาง นางจะมาเยี่ยมปีล่ะหน และจะต้องมีปลาสลิดเป็นเครื่องเซ่น
 
        
การมัดเลียงข้าวโดยใช้เชือกที่ฟั่นจากต้นข้าว

         ด้วยเหตุนี้ชาวนาจึงทำขวัญข้าว เพื่อระลึกถึงบุญคุณของแม่โพสพจนถึงทุกวันนี้

       พิธีทำขวัญข้าว มีขั้นตอนดังนี้
    1. เริ่มด้วยการปลุกนางธรณีหรือเทพเจ้าประจำนา
    2. อุปกรณ์ที่ต้องใช้คือ บายศรีปากถ้วย แก้วแหวนเงินทอง ขนมแดง ขนมขาว กล้วย อ้อย แตงกวา ถั่ว งา ผมไม้ ชุมเห็ด ชุมแสง ชมพู่ น้ำ ข้าวสุก กำชำ ไม้พรคต ไม้หว้า ไม้ระกำ ไม้ถบ ย่านเต่าให้ ย่านลิเพา ด้ายดำ ด้ายแดง ด้ายขาว กุ้ง ปลา วัวดิน และแมงดา

        การทำขวัญข้าวมี 2 ประเภทคือ การทำขวัญข้าวในนา ทำในขณะที่ยังไม่เก็บเกี่ยว และ การทำข้าวในยุ้งฉาง ทำภายหลังเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว
 
        
เลียงข้าวหลังจากเก็บแล้วนำมาผึ่งแดด

        การทำขวัญข้าวในนา มีขั้นตอนดังนี้
    1. รวบกอข้าวเข้าด้วยกันจำนวน 9 กอ
    2. เตรียมย่านลิเพา ด้ายแดง ด้ายขาว ด้ายดำ
    3. ยกบายศรีตั้งไว้ใกล้ ๆ นา กับข้าว 9 กอ ปากถ้วยบายศรีใส่ขนมแดง ขนมขาว ข้าวสุก กุ้ง กล้วย อ้อย แตงกวา ถั่ง งา และแหวน
    4. หลังจากนั้นกล่าวคำขวัญ เมื่อกล่าวจบใช้ด้ายดำ ด้ายขาว ด้ายแดง ย่านลิเพา ผูกกอข้าว เป็นอันว่าเสร็จ ของในบายศรทิ้งไว้ 3 งาย ( 3 วัน ) ยกเว้นของมีค่ายกกลับบ้านได้

        การทำขวัญข้าวในยุ้งฉาง ในยุ้งฉางของชาวปักษ์ใต้มีกองข้าวที่เรียงกันเป็นระเบียบเรียกว่า " ลอม " ของที่ใช้ในการทำขวัญข้าวมีของที่จำเป็นที่จะใช้เหมือนกับการทำขวัญข้าวในนา เว้นแต่ในบายศรีปากถ้วยจะต้องเพิ่มผลไม้หลาย ๆ ชนิด มีขั้นตอนดังนี้
    1. เริ่มด้วยเลือกข้าวเลียง 3 เลียง ( คือข้าวที่เก็บมาเป็นรวง ๆ ผูกมัดไว้เป็นกำ ๆ ) นำมาชุมหัวกันกลางวงลอมข้าว
    2. นำบายศรีตั้งบนข้าว 3 เลียง
    3. ผู้ทำขวัญข้าวว่าบททำขวัญข้าว เมื่อกล่าวจบนำด้ายแดง ด้ายดำ ด้ายขาว ผูกรอบคอข้าว 3 เลียง เป็นอันว่าเสร็จพิธี ข้าวสามเลียงถือเป็นมงคล นิยมเก็บไว้ทำพันธุ์

         ประเพณีการทำนาหว้า แสดงออกถึงความมีน้ำใจต่อกัน ความเข้าใจและการช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างเจ้าของที่นากับผู้ที่ไม่มีที่นา ประเพณีการทำนาหว้าทำให้เกิดช่องว่างระหว่างคนจนและคนรวยน้อยลง
 

ชาวนากำลังถอนกล้าจากแปลง

        การทำนาหว้า หรือเรียกอีอย่างว่า นาหวะ ตรงกับภาษามลายูว่า " rawah "  หมายถึงการรวมหุ้นทำกิจ โดยฝ่ายหนึ่งลงทุนอีกฝ่ายหนึ่งลงแรง ซึ่งจะมีหลายรูปแบบเช่น การทำนาหว้า การวิดบ่อปลาหว้า และทำไร่จากหว้า (น้ำผึ้งจาก)

        วิธีการทำนาหว้า ใครที่ทีมีที่นามาก ๆ ทำด้วยตนเองไม่หมดหรือมีนาแต่ไม่ทำนา ก็จะให้คนอื่นทำ โดยตกลงตามเงื่อนไข ส่วนใหญ่จะตกลงกันด้วยปากไม่มีการบันทึกหลักฐาน เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวก็นำส่วนข้าวที่ตกลงกันไว้ไปให้เจ้าของ
 
        
การเก็บเกี่ยวข้าวโดยใช้แกะ

        สภาพสังคมและระบบเศษฐกิจการทำนาหว้าก่อให้เกิดประโยชน์ทั่งผู้ที่มั่งมี และผู้ที่อยากจน
 

ประเพณีสงกรานต์                    ประเพณีสวดมาลัย