Tradition of Nakhon Sri Thammarat


        ประเพณีกวนนมธุปยาสยาค  เชื่อกันว่าแต่เดิมเป็นพิธีของศาสนาพราหมณ์ พทุธศาสนาเกิดขึ้นท่ามกลางอิทธิพลพราหมณ์ซึ่งเจริญมาก่อนเมื่อมีพราหมณ์จำนวนมากเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนา จึงนำเอาพีธีต่าง ๆ ที่ตนเคยทำมาปฏิบัติต่อไปด้วยความเคยชิน พระพุทธองค์ทรงเห็นว่าพิธีทางศาสนาพราหมณ์บางพิธีนั้นไม่ทำให้เสียหายแก่ผู้ปฏิบัติ กลับทำให้เกิดความศัทธาในความดีงามและบำรุงกำลังใจ ก็ไม่ทรงห้ามการปฏิบัติเหล่านั้นแต่ประการใด



ข้าวอ่อนสำหรับทำยาคู เรียกว่า " พอตั้งนม "

           ดังนั้นพุทธศาสนิกชนสมัยหลัง ๆ มาจึงพบว่า ประเพณีพราหมณ์เข้ามาปะปนในพระพุทธศาสนามากจนบางครั้งก็ไม่รู้ว่าในชั้นต้นนั้นเป็นประเพณีอันเนื่องด้วยศาสนาพุทธ หรือศาสนาพราหมณ์กันแน่ ที่มาของประเพณีกวนมธุปายาสคู มีผู้สันนิษฐานต่างกันออกไปเป็น 2 แนว คือ

           แนวแรก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงกล่าวไว้ในพระราชพิธีเดือนสิบสองว่า ประเพณีที่มาปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์ธรรมบทแห่งหนึ่ง และในคัมภีร์มโนถบุรณีอีกแห่งหนึ่ง พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงบุรพชาติของอัญญาโกญฑัญญะ ผู้ซึ่งมีความประสงค์อันแน่วแน่ที่จะศึกษาธรรมเพื่อบรรลุพระอรหันต์ จุดมุ่งหมายในการแสดงของพระพุทธองค์เพื่อที่จะให้พระภิกษุได้ฟังทรงแสดงว่า " เมื่อพระพุทธวิปัตสีอุบัติขึ้นในโลกมีกุฎมพีสองคนพี่น้อง คนพี่ชื่อมหากาฬ คนที่สองชื่อจุลกาฬ ทั้งสองคนทำนาข้าวสาลีในแปลงเดียวกัน เมื่อข้าวกำลังจะออกรวง จุลกาฬไปในนา เอาท้องข้าวมากินก็รู้ว่าหวานอร่อย เลยจะเอาข้าวไปถวายพระภิกษุ จึงไปบอกพี่ชาย แต่พี่ชายไม่เห็นด้วย ในที่สุดแบ่งนาออกเป็น 2 ส่วน จุลกาฬให้ชาวบ้านช่วยกับเก็บข้าวที่กำลังตั้งท้องไปผ่าแล้วต้มเอานมสด นำไปถวายพระพุทธองค์และพระสาวก โดยอธิษฐานว่าผลทานนั้นจงเป็นให้ตนบรรลุธรรมวิเศษก่อนคนทั้งปวง เมื่อจุลกาฬทำทานแล้วกลับไปดูนาเต็มไปด้วยข้าวสาลี หลังจากนั้นก็ทำบุญในวาระต่าง ๆ รวม 9 ครั้ง จนในที่สุดก็ได้บรรลุพระอรหันต์ก่อนพุทธสาวกทั้งปวง จึงสันนิษฐานว่าประพเณีกวนขาวมธุปายาสน่าจะเกิดจากเหตุนี้

           แนวที่สอง เป็นความเชื่อของชาวนครที่ว่า นางสุชาดาถวายข้าวมธุปายาสก่อนอภิสัมโพธิกาล ดังหลักฐานที่ปรากฏในพระพุทธประวัติเล่ม 1 ปุริมกาล ปริจเฉทที่ 5 ตอนหนึ่งว่า " ในเช้าวั้นนั้นนางสุชาดาบุตรีกุฎมพีนายใหญ่แห่งชาวบ้านเสนานิคม ณ ตำบลอุรุ เวลาปรารถนาจะทำการบวงสรวงเทวดา หุงข้าวมธุปายาสด้วยนมโค " หลังจากพระพุทธเจ้าทรงเสวยข้าวมธุปายาสทรงบรรลุอภิสัมโพธญาณในคือนั้น เหตุนี้ชาวนครเชื่อกันว่า ข้าวมธุปายาสนี้เองที่ส่งผลให้พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้



        
นำข้าวอ่อนมาฝานตำให้ละเอียดและคั้นน้ำนมข้าว

           ด้วยความเชื่อดังกล่าวนี้ ประเพณีกวนมธุปายาสยาคูจึงเป็นประเพณีที่ชาวนครปฏิบัต้สืบทอดกันมา แต่มีข้อปลีกย่อยต่างกันไปจากเดิม แต่เดิมนั้นการกวนข้าวมธุปายาสมักทำในเดือนสิบสองบ้าง เดือนหกบ้าง แต่ปัจจุบันทำกันในวัน 13 ค่ำ ขึ้น 14 ค่ำ เดือนสาม การกะรทำแต่เดิมใช้ผู้หญิงพราหมณ์และเชื้อพระวงศ์ผู้หญิง ซึ่งเป็นพรหมจารีเป็นผู้กวน แต่ต่อมาไม่ได้ยืดถือ ปัจจุบันชาวเมืองมักหาเครื่องปรุงมาร่วมกวนที่วัด

            ประเพณีกวนมธุปายาสยาคู เรียกกันทั่วไปว่า " ยาคู " หรือ " ยาโค " ซึ่งจัด ณ วัดชายนา ต. นา อ.เมือง จ. นครศรีธรรมราช ดังนี้

           1.กำหนดวัน เมื่อถึงวันขึ้น 12 ค่ำ เดือนสาม ชาวเมืองต่างนำข้าวของต่าง ๆ ไว้สำหรับกวนในวันขึ้น 13 และ 14 ค่ำเดือนสาม

           2.เครื่องปรุง ส่วนใหญ่เป็นไปตามสภาพท้องถิ่นและฤดูกาลของพืชผลเป็นสำคัญ เข่น น้ำนมข้าว (ได้จากข้าวที่รวงยังไม่แก่ ตำทั้งเมล็ด คั้นเอาน้ำ เป็นเครื่องปรุงสำคัญที่สุด) ทุเรียนสด นม ขนุน องุ่น น้ำตาลทราย น้ำผึ้งรวง กล้วย เผือก มัน มะตูม ขนมพอง มังคุด ละมุด ฟักทอง ข้าวโพด อินทผลัม มะละกอ ทุเรียนกวน หอม กระเทียมเจียว น้ำมะพร้าว แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว น้ำมันบัว กะทิ พริกไทย ผักชี สาคูวิลาด น้ำตาลกรวด พุทรา ส้มแป้น ข้าวโพดอ่อน ( เอาเฉพาะเมล็ดมาหั่นละเอียด) ราทั้งห้า (ยกเว้นราดำเพราะมีกลิ่นฉุนมาก) น้ำบัวบก ถั่วลิสงคั่ว ลูกจัน ดอกจัน พริกไทยอ่อน (เมล็ดสีขาว) ลูกกระวาน กานพลู ข้าวฟ่าง




เตรียมมะพร้าวและเครื่องปรุงอื่น ๆ

           3. วิธีกวน
                1. นำน้ำนมข้าวกับกะทิใส่ผสมกัน ใส่น้ำตาลลงไปแล้วใส่เครื่องปรุงอื่น ๆ ทั้งหมด (ยกเว้นเครื่องราและโกฐซึ่งบดละเอียด เก็บไว้โรยตอนที่กวนเสร็จ)
               2. คลุกให้เข้ากัน แบ่งใส่กะทะที่เตรียมไว้ กวนจนหนืด
               3. ต้องใส่น้ำมันพืชลงไป เพื่อให้น้ำมันไปทำให้ขนมแยกตัวออกไม่เกาะกะทะและพาย
               4. เมื่อกวนได้ที่แล้วก็โรยเครื่องรา โกฐ และเครื่องยา

 

ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ                    ประเพณีแรกนาขวัญ