|
|||
Traditionof Nakhon Sri Thammarat |
งานเดือนสิบเป็นงานเทศกาลประจำปีที่สำคัญและยิ่งใหญ่ที่สุดของจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นงานรื่นเริงที่จัดขึ้นในโอกาสประเพณีสารทเดือนสิบ ซึ่งถือกันว่าเป็นประเพณีทำบุญที่สำคัญ เชื่อกันว่าเป็นการทำบุญให้แก่ปูย่าตายายและญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว | |||||||||||
โดยเชื่อกันว่าพญายมจะปล่อยวิญญาณญาติ ๆ มาพบลูกหลานของตนในเมืองมนุษย์ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 และให้กลับไปเมืองนรกตามเดิมในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ขณะเดียวกันเป็นการแสดงความชื่นชมกับผลิตผลทางการเกษตร ซึ่งให้ผลในปลายเดือนสิบด้วย จึงนับว่าเป็นโอกาสเหมาะทั้งด้านเชื่อและปัจจัยในการทำบุญก่อให้เกิดประเพณีทำบุญสารทเดือนสิบ |
|||||||||||
ต่อมามีการจัดงานรื่นเริงขึ้นด้วย เพื่อเป็นการฉลองและสนุกสนานกันจึงเกิด "งานเดือนสิบ"จนถึงปัจจุบันนี้ ความสำคัญและความยิ่งใหญ่ของการจัดงานนี้ จึงเป็นที่รู้จักกันดีทั่วภาคใต้และทั่วประเทศ |
|||||||||||
![]() ![]() ![]() |
ความเป็นมา การจัดงานเดือนสิบ สืบเนื่องมาจากการจัดงานในวันวิสาขบูชาในปี พ.ศ.2465 ที่วัดพระมหาธาตุฯโดยพลโทสมเด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ (เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นกรมขุน) อุปราชมณฑลปักษ์ใต้ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระยารัษฎานุประดิษฐ์ (สิน เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราชจัดการซ่อมแซมพระวิหารในวัดพระธาตุฯ เช่น ทำช่อฟ้า ใบระกา เพดานที่พระวิหารหลวง และประดับประดาด้วยหนกลวดลายไทยมีดวงดาวแฉกเป็นรัศมีมีวิหารพระทรงม้า และวิหารเขียน เป็นต้น |
||||||||||
แต่งบประมาณในการก่อสร้างไม่เพียงพอ พระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ (สิน เทพหัสดิน ณ อยุธยา) จึงคิดหาเงินด้วยการจัดงานขึ้นในวันวิสาขบูชา พ.ศ.2465 ในวัดพระมหาธาตุฯ ทางทิศใต้ของพระวิหารหลวง (ซึ่งขณะนั้นไม่มีภิกษุสามเณรหรือแม่ชีเข้าอยู่อาศัย เรียกว่า สวนดอกไม้) มีการออกร้านจำหน่ายสินค้าและเล่นการพนันบางประเภทในงานนั้นโดยจัดงานอยู่ 3 วัน 3 คืน |
|||||||||||
ปรากฎว่าได้เงินค่าประมูลร้านและการพนันนับหมื่นบาทสามารถนำไปซ่อมแซมพระวิหารในครั้งนั้นได้เพียงพอ ต่อมาในปี พ.ศ.2466 พระภัทรนาวิกธรรมจำรูญ (เอื้อน ภัทรนาวิก) เวลานั้นยังเป็นหลวงรามประชา ผู้พิพากษหัวหน้าศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชและเป็นนายยกศรีธรรมราชสโมสร (ปัจจุบันคือสโมสรข้าราชการ) เห็นว่านครศรีธรรมราชสโมสรซึ่งสร้างมาหลายปีแล้วชำรุด สมควรที่จะได้สร้างขึ้นใหม่ให้เป็นตึกถาวรสง่างามแต่ก็ขัดข้องเรื่องเงินที่จะใช้ในการก่อสร้างจึงได้ปรึกษาหารือกับพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ (สิน เทพหัสดิน ณ อยุธยา) จึงได้ตกลงกันให้จักงานขึ้นอีก เพราะเห็นว่าการจัดงานวันวิสาขบูชาในปีก่อน (พ.ศ.2465) มีรายได้สูงแต่ในปี พ.ศ.2466 นั้นให้กำหนดเอางานทำบุญเดือนสิบมาเป็นช่วงที่จัดงาน งานเดือนสิบ ณ สนามหน้าเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช |
|||||||||||
ในปี พ.ศ.2482 คณะกรมการจังหวัดได้มอบให้เทศบาลเมืองนครศรีธรรมราชเป็นผู้จัดงานเดือนสิบเพื่อนำรายได้บำรุงเทศบาลเมือง ส่วนในปี พ.ศ.2484-2488 งดจัดงานเดือนสิบเพราะอยู่ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2504 คณะกรรมการจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นผู้จัดงานเดือนสิบ หลังจากนั้นจังหวัดก็ได้จัดงานเดือนสิบติดต่อกันเรื่อยมา โดยร่วมมือกับเทศบาลเมืองนครศรีธรรมราช และหน่วยงานต่าง ๆ ภายในจังหวัด |
|||||||||||
![]() ![]() |
|||||||||||
ความสำคัญของงานเดือนสิบ
|
|||||||||||
งานเดือนสิบในปัจจุบัน ยังคงจัด ณ ทุ่งท่าลาด โดยมีกิจกรรมดังนี้
|
|||||||||||
![]() ![]() ![]() |
|||||||||||
พีธีกรรม เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือนสิบ ซึ่งถือว่าเป็นวันที่พญายมปล่อยตัวผู้ล่วงลับไปแล้วที่ (เรียกว่า "เปรต") มาจากนรก สำหรับวันนี้บางคนก็ประกอบพิธี บางคนจะประกอบพิธีในวันแรม 13 ค่ำ 14 ค่ำ และ 15 ค่ำ โดยการนำอาหารไปทำบุญที่วัดเรียกว่า "หฺมฺรับเล็ก" เป็นการต้อนรับบรรพบุรุษ และญาติมิตรที่ขึ้นมาจากนรกเท่านั้น |
|||||||||||
การเตรียมการสำหรับประเพณีสารทเดือนสิบ เริ่มขึ้นในวันแรม 13 ค่ำ เดือน 10 วันนี้ เรียกว่า "วันจ่าย" เป็นวันที่เตรียมหฺมฺรับ และจัดหฺมฺรับ คือการเตรียมสิ่งของต่าง ๆ ที่ใช้ในการจัดหฺมฺรับ เมื่อได้ของตามที่ต้องการแล้วก็เตรียมจัดหฺมฺรับรับการจัดหฺมฺรับแต่เดิมใช้กระบุงเตี้ย ๆ ขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ได้ แต่ภายหลังใช้ภาชนะได้หลายชนิด เช่น กระจาด ถาด กะละมัง ถัง หรือ กระเชอ สำหรับสิ่ง |
|||||||||||
การจัดหฺมฺรับ ชั้นแรกใส่ข้าวสารรองกระบุงแล้วใส่หอม กระเทียม พริก เกลือ กะปิ น้ำตาล และเครื่องปรุงอาหารคาว หวาน ที่เก็บไว้ได้นาน ๆ เช่น มะพร้าว ฟัก มัน กล้วย (ที่ยังไม่สุก) อ้อย ข้าวโพด ข่า ตะไคร้ ขมิ้น และพืชผักอื่น ๆ นอกจากนั้นก็ใส่ของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันก๊าดไต้ ไม้ขีดไฟ หม้อ กะทะ ถ้วยชาม เข็ม ด้าย เครื่องเชี่ยนหมาก ได้แก่ หมาก พลู ปูน กานพลู การบูน พิมเสน สีเสียด ยาเส้น บุหรี่ ยาสามัญประจำบ้าน ธูปเทียน แล้วใส่สิ่งอันเป็นหัวใจอันสำคัญของหม.รับคือ ขนม 5 อย่างมี ดังนี้ |
|||||||||||
|
|||||||||||
การประกอบพิธี
|
|||||||||||
![]() ![]() |
|||||||||||
วิวัฒนาการ ปัจจุบันประเพณีสารทเดือนสิบของเมืองนครศรีธรรมราชได้เปลี่ยนแปลงไปทั้งพิธีการและรูปแบบคือ เนื่องจากในวันแรม 13 ค่ำ เดือน 10 ที่เรียกว่า "วันจ่าย" ชาวนครจะชวนกันไปชุมนุมซื้อของตามที่นัดหมาย หรือตามตลาดจ่ายต่าง ๆ กันมาก ดังนั้นเมื่อประมาณ 50 ปีที่ผ่านมาได้จัดงานรื่นเริงสมทบกับประเพณีสารทเดือนสิบด้วยด้วยชื่อว่า "สารทเดือนสิบ" จัดขึ้นที่สนามหน้าเมืองเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2466 และจัดสืบมาถึงปัจจุบัน อนึ่ง ในวันแรม 15 ค่ำ เดือนสิบ ซึ่งเป็นวันยกหฺมฺรับนั้น มีการจัดขบวนแห่หฺมฺรับกันอย่างสนุกสนาน เพื่อนำหฺมฺรับไปประกวดที่ศาลาประดู่หก และหฺมฺรับก็จะจัดแต่งอย่างสวยงามเพื่อประกวดแข่งขันกันด้วย ส่วนตามชนบทก็ยังคงปฏิบัติตามแบบเดิม |
|||||||||||
![]() ![]() ![]() |
|||||||||||
ประเพณีสวดมาลัย ![]() ![]() ![]() |