Traditionof Nakhon Sri Thammarat


          ในเมืองนครแต่เดิมมีพิธีศพมักมีประเพณีหนึ่งที่สืบต่อกันมาคือ ประเพณีสวดมาลัย

           การสวดมาลัยมีจุดมุ่งหมาย เฝ้าศพ เพื่อไม่ให้งานศพเงียบ ทำให้เจ้าบ้านหรือญาติของผู้ตายต้องเศร้าโศกจนเกินไป การนั่ง นอนกันเฉย ๆ หรือเล่นการพนันจะไม่เหมาะสม จึงคิดหาวิธีที่ทำให้ไม่เงียบเหงา จึงมีการสวดขึ้นมาเพื่อความรื่นเริงเข้ามาแทรกบ้าง

            ความเป็นมา เริ่มต้นด้วยการตั้งวงมาเพื่ออ่านหนังสือพระมาลัย ( เป็นกวีนิพนธ์ซึ่งร้อยกรองเพื่อการนี้โดยเฉพาะ) ส่วนใหญ่เป็นการประพันธ์แบบกาพย์กลอนในชั้นแรกนั้นการสวดพระมาลัยตฃคงยึดเค้าเรื่องพระมาลัยจริง ๆ ซึ่งมีเนื้อเรื่องดังนี้

           พระมาลัย  เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งมีฟทธิ์มาก เคยไปโปรดสัตว์ในนรกและเทศน์สั่งสอนประชาชนทั่วไปให้ปฏิบัติดีเพื่อหลีกเหลี่ยงนรก วันหนึ่งพระมาลัยรับดอกบัวจากชายยกาจนคนหนึ่ง พระมาลัยนำดอกบัวไปบูชาพระเจดีย์จุฬามณีในสววร์ชั้นดาวดึงส์ และได้สนทนากับพระอินทร์ และได้ถามพระอินทร์ถึงเรื่องการประกอบกรรมดี การบำเพ็ญกุศลต่าง ๆ ในที่สุดพระศรีอาริย์ได้ร่วมสนทนาด้วย โดยไตร่ถามความเป็นไปของโลกมนุษย์ และวพระศรีอาริย์ได้เทศน์ให้พระมาลัยฟังว่า " พระองค์จะเสด็จมาประกาศศาสนาเมื่อศาสนาของพระพุทธองค์สิ้นสุด 5000 ปีแล้ว ผู้ที่จะเกิดในศาสนานี้ได้ต้องทำบุญฟังเทศน์มหาชาติถาคาพันจบได้ (ทั้ง 13 กัณฑ์) เป็นต้น เมื่อหมดศาสนาของพระองค์จะเกิดกลียุค อายุคนทั้งโลกจะสั้นมาก เพียง 5-10 ปีเท่านั้น ครั้นผ่านกลียุคจะเกิดความอุดมสมบูรณ์ทั่วไป ในระยะนี้เองที่พระศรีอาริย์จะมาโปรดให้ทุกคนทำความดี พระมาลัยจึงนำมาเล่าให้ประชาชนทุกคนในชุมพูทวีปฟัง "
 

           แต่ในสมัยหลัง ๆ การสวดพระมาลัยเปลี่ยนไปมาก มีเรื่องพระมาลัยพอเป็นเค้า ได้แทรกเนื้อเรื่องอื่น ๆ เพื่อเพิ่มบรรยากาศให้สนุกสนานขึ้นจนแทบจะหาพระมาลัยเรื่องเดิมไม่ได้ ทำให้งานศพเกิดความรื่นเริงมากยิ่งขึ้น

           คัมภีร์ที่ใช้ในบทสวดนี้เรียกว่า " คัมภีร์มาลัย " หรือ หนังสือสวดมาลัย หรือ หนังสือมาลัย เป็นหนังสือบุดจารึกตัวอักษรขอมไทย ทำนองประพันธ์เป็นกาพย์ มีความหนาประมาณ 1 คืบ ยาวประมาณ 1-2 ศอกเศษ ซึ่งสามารถพบได้ที่วัด สวนป่าน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครศรธรรมราช

           การสวดมาลัยเริ่มสวดตั้งแต่หัวค่ำ เมื่อพระสวดศพจบและกลับวัดไปแล้ว ผู้ที่อยู่ในงานศพ หรือวง(คณะ) ตั้งวงสวดต่อ จนกระทั่งรุ่งเช้าจึงหยุด ผู้สวดในวงหนึ่ง ๆ มีประมาณ 4 คน มีตาลปัตรบังหน้าทุกคน เป็นแม่เพลง 2 คน เรียกแม่ " แม่คู่ " และอีก 2 คน เรียก " คู่หู " แม่เพลงนั่งหันหลังให้โลงศพ ลูกคู่นั่งหันข้างให้โลงศพ ลูกคู่มีหน้าที่ร้องรับการสวดของแม่เพลง แต่หากตอนใดที่แม่เพลงเห็นว่าสำคัญ ก็เปิดโอกาสให้ลูกคู่ออกท่าทางรำประกอบตอนนั้นด้วย การสวดบางตอนอาจมีการผสมโรงจากคนดูเพื่อความสนุกสนาน ส่วนเครื่องดรตรีน้อยวงที่จะมี ส่วนใหญ่ใช้เสียงลูกคู่ทำเป็นเสียงประกอบต่าง ๆ ที่ต้องการ บางวงที่มีเครื่องดนตรีเช่น รำมะนาและขลุ่ย

           แต่เดิมงานศพแทบทุกงานในเมืองนครต้องรับวงมาลัยไปประจำงาน เพราะค่าใช้จ่ายน้อย เพียงแต่เลี้ยงอาหารให้ค่าตอบแทนเล็กน้อย ได้คืนล่ะ 100 บาท หรือ 200 บาท ตามแต่ฐานะของเจ้าภาพ

           ในระยะหลัง การสวดมาลัยไม่ค่อยเป็นไปตามที่ปฏิบัติแต่เดิม ส่วนมากนิยมนั่งล้อมวงข้างหน้าศพจำนวนกี่คนก็ได้ ไม่จำกัดว่าใครนั่งตำแหน่งไหน นั่งกันได้ตามสะดวก มีการผลัดกันร้องผลัดกันรับ หรือไม่ก็ต่อกลอนกันทั้งวง ไม่มีการใช้ตาลปัตรเหมือนแต่ก่อน
 

           แต่เดิมนั้นการสวดมาลัยมีพิธีการตามลำดับดังนี้

    1. เริ่มต้นด้วยการสวดบท " นโม " เพื่อไหว้ครู เป็นการสวดทำนองกลอนเรียกว่า " ตั้งนโม "
    2. ดำเนินเรื่องที่เรียกว่า " ตั้งในการ " กล่าวประวัติของพระมาลัยอย่างละเอียด
    3. กล่าวบทที่เรียกว่า " สำหรับบท " เป็นการกล่าวถึงพระพุทธองค์และพระเกียรติคุณ
    4. กล่าวบทที่เรียกว่า " พระเถร " ก็คือพระมาลัยนั้นเอง
    5. กล่าวบทที่เรียกว่า " ฉันชา " บรรยายโทษของการผิดลูกเมียผู้อื่น
    6. กล่าวบที่เรียกว่า " เมียท่าน " บรรยายความชั่วช้าในการคบชู้
    7. กล่าวบทที่เรียกว่า " เบ็ดเตล็ด " หรือ " ลำนอก " เป็นการนอกเรื่องพระมาลัย เป็นของแถมที่นักสวดมาลัย คิดขึ้นมาเพื่อความสนุกสนานในการสวด โดยมากมักจะเล่นเรื่องต่าง ๆ ต่อไปนี้ " จัทโครพ " (ตอนฤษีให้ผะอบแก่จันทโครพ) ลักษณวงศ์ (ตอนฆ่าพราหมณ์) พระอภัยมณี (ตอนศรีสุวรรณเข้าเมืองรมจักรและตอนจับเจ้าละมาน) และราชาธิราช (ตอนพระยาน้อยชมตลาด) และก่อนจบจะมีการกล่าวร่ำลาให้พรเจ้าของบ้านและผู้ตาย

           บัดนี้การสวดมาลัยในเมืองนครยังมีอยู่บ้างแถวชนบท วงมาลัยบางวงได้รับงานเพียงเดือนละครั้งสองครั้ง ส่วนใหญ่คนต่างเมืองจะรับไปสวด

           การสวดมาลัยนับว่าจะสูญหายไปทุกที่ เพราะประเพณีที่มีค่าสูญหายไปทุกที ทั้งนี้ผู้สนใจฝึกฝนและหาคนที่มีพรสรรค์ในด้านนี้ยาก
 

ประเพณีทำขวัญข้าวและการทำนาหว้า                    ประเพณีสารทเดือนสิบ