หตุการณ์มหาวาตภัยครั้งนั้นระหว่างวันที่ 24-25 ตุลาคม พ.ศ. 2505 ซึ่งเกิดลมพายุโซนร้อนเป็นพายุหมุนพัดเข้าเต็มพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีความเร็วประมาณ 90 กม.ต่อชั่วโมง ทั้งแรงลมที่พัดใส่อาคารบ้านเรือนโยกคลอน หลังคาหลุดปลิวและลอยทั่วไปทั้งจังหวัด แล้วแรงคลื่นยักษ์ ซึ่งสูงกว่า 2-3 เมตร ยังโถมพัดเข้าใส่แหลมตะลุมพุกจนหมู่บ้านขนาดประชากร 4,000 คนราบเรียบเหลืออยู่เพียง 5 หลังเท่านั้น พายุโซนร้อนแฮเรียตเริ่มพัดเข้าใส่จังหวัดนครศรีธรรมราชตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2505 ตั้งแต่ยังเป็น ดีเปรสชั่นจนทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในบ่ายวันที่ 25 ตุลาคมนั้น ประมาณ 16.00 น. ทางขอบฟ้าตะวันออกและทิศใต้
ก็พลันมืดคลุ้มเหมือนอย่างผืนม่านกั้นแล้วเกิดเป็นสายๆ หลายสายแบบลมงวงช้างหรือลมป่องหรือลมหางหนู แต่ครั้งนี้มีเกิดหลายสายอย่างไม่เคยมีมาก่อน จากนั้นฝนคงตกหนักต่อไปจนค่ำเวลาประมาณ 19.00 น. ก็เกิดมีลมพัดอู้แรง จากทางทิศเหนือ บ้านหลายหลังเริ่มพังในขณะที่ทางทิศเหนือนั้นปรากฎเป็นเสียงดังลั่น เห็นแสงสว่างจ้าและน้ำก็ไหลเชี่ยวกรากเป็นฟองแตกพุ่งเข้าใส่แหลมตะลุมพุก แม้ที่ปากพนังน้ำในแม่น้ำก็ล้นท่วมเมืองเช่นกัน ลม ฝนและน้ำคลื่นยักษ์จากทาง ทิศเหนือนี้พัดกระหน่ำอยู่ประมาณ 1 ชั่วโมงแล้วสงบลงโดยผู้คนเกิดสับสนอลหม่าน บ้านพังบ้างแล้ว ที่เจ็บตายก็ช่วยเหลือกันไป ที่ยังรอดอยู่ต่างก็อพยพไปอยู่บ้านหลังที่ใหญ่มั่นคงแข็งแรงกว่า บางหลังอยู่กันเป็นร้อยคนเฉพาะที่โรงพระจีน นั้นอยู่กันถึง 300 คน แต่ลมพายุสงบเพียง 5 นาทีเท่านั้น น้ำที่ท่วมอยู่ประมาณ 2-3 เมตร ลดลงเพียง 1 คืบ ก็บังเกิดลมจากทางทิศใต้พัดหวีดหวือเข้ามาใหม่ คราวนี้ทั้งแรงกว่าและระดับคลื่นก็สูงกว่าบ้านที่ถูกทิ้งโยกไว้นั้นพังในพริบตาขณะที่บ้านหลังมั่นคง จุดอพยพของคนนับร้อยๆ ค่อยๆ ถูกน้ำท่วมท้นจนมิด หรือไม่ก็หลุดลอยย้ายตำแหน่ง แตกรานกระทั่งไปกระทบต้นไม้ หลายหลังถูกคลื่นซัดพาลงไปกลางทะเล โดยทุกหลังล้วนแต่มีผู้คนแออัดยัดเยียดติดไปด้วย จากคำบอกเล่าของผู้รอดชีวิตจากบางหลังๆ ละเพียง 2-3 ชีวิต เล่าว่าต่างกระเสือกกระสนดิ้นรนไม่ผิดกับแมวที่ถูกจับใส่กล่องโยน น้ำ ระลอกหลังนี้พายุพัดอยู่อีก 1 ชั่วโมง จึงสงบพร้อมกับระดับน้ำที่ลดลงทิ้งซากผู้คนสิ่งของที่ลอยไว้ตามยอดมะพร้าวและป่าแสม รวมทั้งผู้ที่รอดชีวิตทั้งหลายด้วยส่วนบนพื้นนั้น ซากศพ อาคารบ้านเรือนสิ่งของต่างๆ ระเกะระกะไปทั่ว
        หาวาตภัยที่แหลมตะลุมพุกคราวนั้น มีคนตายและสูญหายถึง 1,030 คน บาดเจ็บสาหัส 422 คน ไร้ที่อยู่อาศัย 16,170 คน อาคารบ้านเรือนทั่วทั้งจังหวัดพังทั้งหลัง 22,296 หลัง ชำรุด 50,775 หลัง สวนยางสวนผลไม้เสียหายประมาณ 791 ล้านต้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระบรมราชานุเคราะห์ผู้ประสบวาตภัยในครั้งนี้หลายๆ ประการ รวมทั้งการก่อกำเนิดของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ก็เกิดขึ้นในครั้งนี้เช่นกัน





เจ้าพ่อดำ อัลบั๊มภาพ มหาอุทกภัย