พลงบอกเป็นการละเล่นอย่างหนึ่งของชาวปักษ์ใต้ บริเวณจังหวัดภาคใต้ตอนบนและตอนกลางอันได้แก่ จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง และสงขลา ซึ่งนิยมเล่นกันแพร่หลายที่สุดในวันสงกรานต์ เพื่อเป็นการป่าวประกาศให้ชาวบ้านได้รู้โดยทั่วกันว่าวันนี้เป็นวันขึ้นปีใหม่แล้ว หรือใช้เป็นการบอกเรื่องราวข่าวสารต่าง ๆ เช่น บอกงานบุญกุศล เพราะในสมัยโบราณคนที่รู้หนังสืออ่านออกเขียนได้มีน้อย กิจการการพิมพ์ก็ไม่แพร่หลายโดยเฉพาะรายละเอียดการเปลี่ยนปี หรือการประกาศสงกรานต์ประจำปีไม่ได้มีการพิมพ์ปฏิทินอย่างเช่นปัจจุบัน

สำหรับเพลงบอกเมืองนครศรีธรรมราชเป็นการละเล่นพื้นบ้านต่างมีข้อสันนิษฐานตรงกันว่า มีการเล่นเพลงบอกอย่างแพร่หลายในนครศรีธรรมราชมานานแล้ว ประมาณ 150 - 200 ปีที่ผ่านมา
กลอนเพลงบอก ดัดแปลงมาจากเพลงพื้นบ้านโบราณชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า " เพลงเห่ " บ้าง " เพลงฉะ" และ " แปดบท" บ้าง


ะเล่นกันประมาณปลายปีเดือนสี่หรือย่างเดือนห้า ซึ่งระยะนี้ชาวนาทางปักษ์ใต้ส่วนใหญ่ทำการเก็บเกี่ยวข้าวขึ้นยุ้งฉางเสร็จเรียบร้อยแล้ว ตอนพลบค่ำตามละแวกบ้านจะได้ยินเสียงเพลงบอกแทบทุกบ้านของจังหวัดนครศรีธรรมราช คณะเพลงบอกจะออกตระเวณตามบ้านใกล้เรือนเคียงโดยมีบุคคลซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่บ้านนั้น ๆ เป็นคนนำทางคอยไปปลุกเจ้าของบ้านให้เปิดประตูรับเจ้าของบ้านจะเปิดประตูรับก็ต่อเมื่อเขาแน่ใจว่าคนที่มานั้นเป็นผู้ซึ่งเขารู้จักดี ทั้งนี้เพราะว่าบางทีก็มีการสวมรอยของผู้ร้ายมาทำทีเป็นเพลงบอกแล้วเข้าปล้นบ้านก็มี เมื่อเจ้าของบ้านเปิดประตูรับ แม่เพลงก็จะขับกล่อมเพลงบอกขึ้นในทันที เนื้อความตอนแรกมักจะเป็นบทไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์และกล่าวขมเชยเจ้าของบ้านตามสมควร แล้วเจ้าของบ้านจะเชิญขึ้นขึ้นบนเรือน
ยกเอาหมากพลู บุหรี่ หรือบางที่ก็นำเหล้ายาปลาปิ้งออกมาเลี้ยง หรือหยิบยื่นให้เป็นเสบียง เป็นยาแก้หนาวในขณะที่ออกตระเวนว่าเพลงบอก เจ้าของบ้านบางคนอาจลองภูมิรู้ของเพลงบอกบอกโดยถามถึงเรื่องราวทั่ว ๆ ไป เช่น หลักธรรมคำสอน ความเป็นมาของวันสงกรานต์ แม่เพลงก็จะขับเป็นเพลงบอกเล่าให้ฟัง หากตอบถูกเจ้าของบ้านก็จะตกรางวัลให้ แต่ถ้าบอกไม่ได้ก็อาจเคราะห์ร้ายถูกเจ้าของบ้านเชิญให้ลงจากบ้านก็เป็นได้ แต่ส่วนใหญ่เจ้าของบ้านก็ไม่ถึงกับไล่คณะเพลงบอกเพราะอยากจ่ายรางวัล จึงมักมีรางวัลติดไม้ติดมือกลับไปเสมอ ก่อนจะอำลากลับไปบ้านอื่น ๆ คณะเพลงบอกจะขับเพลงบอกให้ศีลให้พรตามธรรมเนียม และคณะเพลงบอกก็จะตระเวนกันต่อไปจนตลอดรุ่งจึงจะเลิก แต่ส่วนใหญ่มักจะไปเมามายอยู่ที่ใดที่หนึ่ง
รายได้จากการเล่นเพลงบอกสงกรานต์นิยมแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งถวายวัด อีกส่วนหนึ่งแบ่งปันกันในคณะสำหรับเที่ยวและเล่นการพนันในงานสงกรานต์ซึ่งเรียกว่า " เล่นว่าง "

อกจากเพลงบอกจะบอกสงกรานต์อันถือเป็นสัญลักษณ์เฉพาะ แล้วยังบอกข่าวคราวทั่ว ๆ ไปด้วย เช่น บอกบุญเรี่ยไรในงานบุญงานกุศล ประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งและเชิญชวนให้ใช้สิทธิ์ลงคะแนนเสียง ตลอดจนโฆษณาสินค้าต่าง ๆ เป็นต้น ข่าวที่ใช้เพลงบอกจะเข้าถึงและได้รับความสนใจจากชาวบ้านมากกว่าการสื่อสารธรรมดา เพราะท่วงท่าทำนอง ลีลาจังหวะ ถ้อยคำ และน้ำเสียง ขวนให้เกิดความหรรษาไปด้วย

นการประชันหรือโต้เพลงบอกนิยมยกพื้นเวทีสูงขึ้นกว่าพื้นปรกติเพื่อให้ผู้ชมเห็นได้ชัดเจน คู่โต้พร้อมลูกคู่นั่งฝ่ายละฟากเวที มีผู้อาวุโสนั่งกลางเป็นประธาน แต่เดิมการโต้ไม่กำหนดหัวข้อหรือญัตติและเวลา เรื่องที่โต้แล้วแต่ใครจะหยิบอะไรขึ้นมา แต่ส่วนใหญ่จะเป็นเชิงเปรียบเทียบ เช่น ถ้าฝ่ายหนึ่งว่าเรื่องชนไก่หรือวัวชน อีกฝ่ายก็ต้องว่าเรื่องนั้นด้วย และต่างพยายามนำเรื่องไก่ชน วัวชน มาเปรียบเทียบกับคนโดยเฉพาะแม่เพลงทั้งสอง และต้องว่าในทำนองข่มกัน บางครั้งอาจว่าเกี่ยวกับธรรมะ และเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ การประชันครั้งสำคัญ ๆ ก่อนประชันต่างฝ่ายต้องสืบประวัติ ตลอดจนชั้นเชิงความสามารถของฝ่ายตรงข้ามอย่างละเอียด เพื่อจะได้หาทางกล่าวโจมตีและกล่าวแก้ได้ทันควัน การโต้เพลงบอกต้องอาศัยไหวพริบความฉับไว
เข้าแย่งกันว่าเมื่อสบโอกาส ในการตัดสินแพ้ชนะใช้เสียงของผู้ชม ผู้ฟังเป็นหลัก โดยฟังจากเสียงโห่ฝ่ายใดโห่สิ้นเสียงก็เป็นฝ่ายชนะ หรือไม่ก็โต้กันจนจนฝ่ายหนึ่งยอมแพ้ไปเลย
การโต้เพลงบอกในปัจจุบันต่างไปจากสมัยโบราณเป็นอันมาก มีการกำหนดญัตติให้โต้กัน มีฝ่ายเสนอ ฝ่ายค้าน มีการกำหนดเวลาในการว่า มีกติกากำหนดไว้ชัดเจน และมีกรรมการตัดสินเช่นเดียวกับการโต้วาที โดยวิธีนี้ทำให้เพลงบอกคณะที่เตรียมตัวมาดีกว่าได้เปรียบ การโต้ก็ไม่ค่อยสนุกและไม่เห็นปฏิภาณไหวพริบของเพลงบอกได้เด่นชัดนัก

ป็นการร้องบูชาหรือชมเชยสิ่งชองหรือบุคคลที่ควรชมเชยหรือบูชา เช่น ชาขวัญข้าว ชาประธาตุ ชาเจ้านายหรือข้าราชการผู้ใหญ่ ชาผู้อาวุโสและครูอาจารย์ เป็นต้น การร้องชาแม่เพลงจะสรรหาแต่สิ่งดีงาม สวยงามขึ้นมากล่าว เพื่อให้สิ่งของหรือผู้ที่ถูกชาเกิดความมีคุณค่า รู้สึกอิ่มเอมใจ การชาพบได้บ่อยในงานบุญ โดยเพลงบอกจะชาผู้ทำบุญว่าเป็นผู้สูงส่งด้วยคุณธรรมต่าง ๆ

พลงบอกคณะหนึ่งจะมี แม่เพลง 1 คน และลูกคู่อีก 4-6 คน อาจจะน้อยกว่าหรือมากกว่าก็ได้ เครื่องดนตรีจะมีเพียงอย่างเดียวคือ ฉิ่ง การร้องจะใช้ ภาษาถิ่นปักษ์ใต้ โดยร้องด้นเป็นกลอนสดแท้ ๆ ใช้ปฏิภาณร้องไปตามเหตุการณ์ต่าง ๆที่พบเห็น แต่ถ้าร้องในโอกาสพิเศษอื่น ๆ มักจะเตรียมตัวโดยประพันธ์เรื่องไว้ก่อนไปร้องก็มี สำหรับดนตรีประกอบบางคราวก็มีเพิ่มขึ้น คือ นอกจากจะมีฉิ่งแล้วก็ยังมี ขลุ่ย ปี่ ทับ กรับ ก็ได้

สำหรับวิธีการขับเพลงบอก เมื่อแม่เพลงบอกร้องจบวรรคแรกลูกคู่ก็รับครั้งหนึ่งโดยรับว่า " ว่าเอ้ว่าเห้ " พร้อม ๆ กับต้องคอยตีฉิ่งให้เข้ากับจังหวะ ถ้าหากแม่เพลงว่าวรรคแรกซ้ำอีก ลูกคู่ก็จะรับว่า " ว่าทอยช้าฉ้าเอ้" และเมื่อแม่เพลงว่าไปจนจบบทแล้ว ลูกคู่จะต้องรับวรรคสุดท้ายอีกครั้ง

ในเพลงบอกหนึ่ง ๆ มีจำนวนวรรคอยู่ 4 วรรค วรรคหนึ่ง ๆ มีจำนวนคำไม่ค่อยแน่นอน บางทีขาดบางที่เกินไปบ้าง และสัมผัสก็ไม่เคร่งครัดนัก โปรดสังเกตแผนผังและสัมผัสดังต่อไปนี้
                                                      
ครั้นได้มิตรชนิดดี                    ผูกไมตรีไว้ในแน่น
อย่าคลอนแคลนลอดลักลั่น                      ทำเป็นหักหุน
เมื่อข้าวของเงินทองเฟือ           หยิบแผ่เผื่อแจกเจือจุน
กับหมั่นหมุนเอาใจคอ                             กันให้พอดี

แต่ก่อนเมื่อใกล้ถึงเทศกาลต่าง ๆ คณะเพลงบอกต่างก็เตรียมฝึกซ้อม หาลูกคู่และคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ เพื่อประกวดกัน หลังจากทำบุญเสร็จ ตกบ่ายคณะเพลงบอกจะไปว่าเพลงบอกตามบ้านผู้ที่ตนเคารพนับถือหรือผู้ที่ตนรู้จักคุ้นเคย ความนิยมแบบนี้ปัจจุบันลดน้อยลงไปมาก ยังมีเหลืออยู่ในบางท้องถิ่นเท่านั้น ส่วนใหญ่แล้วเพลงบอกในปัจจุบันมักจะว่าประชันกันตามงานวัด งานทำบุญบ้าน งานนักขัตฤกษ์ หรือกล่าวเรี่ยไรเงินตามวัดในงานบุญหรือตามบ้านก็มี โดยไม่ระบุเวลาว่าเป็นเวลาใด จึงทำให้ศิลปะเพลงบอกผิดวัตถุประสงค์ออกไปทุกที

นักเล่นเพลงบอกชาวนครศรีธรรมราสมัยก่อนที่ได้รับการยกย่องกันทั่วไปว่ามี คารมคมคาย มีชื่อเสียงติดปากชาวบ้านมาจนกระทั่งทุกวันนี้ ได้แก่ ปรีชาควาย สุขปราชญ์ ปานบอด รอดหลอ เจ้าคุณรัตนธัชมุนี (ม่วง) พระครูวินัยธร และชูปราชญ์ เป็นต้น ส่วนเพลงบอกที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายและมีชีวิตกันมาจนปัจจุบันนี้ คือเพลงบอกเนตร ชลารัตน์ ส่วนคณะอื่น ๆ ฝีปากยังไม่ได้โดดเด่นเกินกว่าที่กล่าวมา

ในปัจจุบันนี้วงการเพลงบอกของนครศรีธรรมราชซบเซาไปมาก ผู้สนใจเพลงบอกมีอยู่เป็นส่วนน้อยคือเฉพาะในหมู่ของคนแก่คนเฒ่าและในสถานศึกษาบางแห่งเท่านั้น ส่วนใหญ่มักจะมองเห็นไปว่าเป็นสิ่งไม่ทันสมัย สู้ภาพยนต์โทรทัศน์ไม่ได้ จึงเป้นที่แน่นอนว่าศิลปะเพลงบอกจะต้องสูญหายและเหลือเพียงชื่อไปในที่สุด



เพลงนา

home



สะบ้า