พจนะสารานุกรมของเปลื้อง ณ นคร ให้ความหมายของคำว่า "ตะลุง" ไว้ว่า "ตะลุง น. เสาประโคม, เสาสำหรับผูกช้าง, การมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพเล็กๆ เรียกว่าหนังตะลุง ถต., น.หนังควน"

         หนังตะลุงเป็นศิลปการแสดงอย่างหนึ่งของชาวปักษ์ใต้ มีทั้งบทพากย์และบทเจรจา ส่วนมากใช้กลอนตลาด เดิมทีเดียวเล่นเรื่องรามเกียรติ์เป็นพื้น ครั้นต่อมานายหนังเลือกเรื่องอื่นๆ ในวรรคดีไทยบ้าง ชาดกบ้าง แล้วแต่จะเห็นสมควร เช่นเรื่องไกรทอง สังข์ทอง ไชยเชษฐ์ แก้วหน้าม้า เป็นต้น การทำรูปหนังตะลุงจะต้องวาดรูปสมมติลงในแผ่นหนังสัตว์ต่างๆ เช่น หนังวัว หนังควาย หนังเก้ง หรือกระจง เป็นต้น โดยเอาหนังมาแช่น้ำส้ม แล้วเอามาขูดให้บางใสแล้วขึงให้ตึง วาดรูปพระ รูปนาง รูปยักษ์ ตามที่ต้องการ ต่อจากนั้นก็ตัดออกมาเป็นรูปและระบายสี แล้วใช้ตับคีบสำหรับถือหรือปักที่หน้าจอ ใส่มือและไม้ผูกติดกับมือสำหรับเชิดเป็นอันเสร็จ ถ้าเป็นรูปตัวตลกไม่จำเป็นจะต้องพิถีพิถันมากนัก แต่ตัวพระ ตัวนางต้องประณีตเป็นพิเศษ
 ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา