เกิดวันจันทร์ เดือน6 ปีชวด พ.ศ. 2467 ที่บ้านเกาะเรือ ตำบลแหลม อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรนายหีด นางแว่น มีพี่น้อง 7 คน ประทิ่นเป็นคนที่ 5

         เริ่มเรียนนอโมกอขอตามแบบหนังสือวัด ณ วัดไทรแร้ว ตำบลทรายขาว อำเภอหัวไทร โดยมีพระดุกเป็นผู้สอน เรียนหนังสือวัดอยู่ 3 ปี เริ่มแต่อายุ 7 ขวบ ก็สามารถอ่านหนังสือศรีนวลไชย (ศรีธนญชัย) ได้ พอดีทางราชการได้เปิดโรงเรียนประชาบาลขึ้นที่วัดไทรแร้ว ประทิ่นจึงได้เข้าเรียนหนังสือในระบบโรงเรียนเมื่ออายุ 10 ปี เรียนอยู่ 4 ปี ก็จบชั้น ป.4 พร้อมด้วยเพื่อนร่วมชั้นอีกเพียง 1 คน ตอนเรียนอยู่ประถมศึกษาปีที่ 4 ประทิ่นเริ่มสนใจหนังตะลุงแล้ว หนังที่ประทิ่นชอบมากในช่วงนั้น คือ หนังสุดกับหนังจันทร์แก้ว ประทิ่นมักจะหนีสมภารไปดูหนังเสมอๆ ยามว่างก็เอาใบไม้บ้าง กระดาษบ้าง มาตัดเป็นรูปหัดเชิดหนัง เมื่อจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แล้วกลับมาอยู่บ้าน เพื่อนบ้านและญาติๆ สนับสนุนให้หัดหนัง แต่บิดามารดาไม่เห็นด้วยเพราะเห็นเป็นคนขยันการงาน เกรงว่าถ้าหัดหนังจะละเลยงานการ อย่างไรก็ตามด้วยแรงหนุนของญาติๆ และเพื่อนบ้าน คนเหล่านั้นยกโรงขึ้นที่บ้านนายเถื่อน ให้ประทิ่นไปหัดที่นั้นโดยไม่มีอาจารย์สอนช่วงนั้นประทิ่นอายุราว 16 ปี หัดอยู่เกือบปีก็มีขันหมากรับไปแสดงที่บ้านตกป่า หมู่ที่ 6 ตำบลแหลม จากนั้นก็ออกแสดงเรื่อยๆ ตามแต่จะมีขันหมาก และเริ่มจะมีชื่อเสียงเมื่อประทิ่นอายุได้ 22 ปี วัดบาท ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ ได้รับไปแสดงในงานประจำปี เดิมงานนี้หนังจันทร์แก้ว (บรมครูหนังของภาคใต้) แสดงเป็นประจำทุกปีมาในปีนั้นหนังจันทร์แก้วก็จะแสดงอีก ครั้นทางวัดแจ้งว่ารับหนังประทิ่นให้แสดงแล้ว หนังจันทร์แก้วว่าไม่ได้ ต้องแบ่งกันเล่นคนละครึ่งคืน แล้วให้ประทิ่นเล่นหัวค่ำ ท่านนั่งดู ครั้นได้เห็น ก็ปรารภว่า "เด็กคนนี้กล้าหาญ ต่อหน้ากูมันไม่กลัวเลย ใครช่วยติดต่อมาให้กูครอบมือเสียที มันต้องดีแน่ๆ " ในที่สุดญาติของประทิ่นได้มาเล่าถึงคำปรารภของหนังจันทร์แก้วให้ฟัง ประทิ่นจึงเข้ามอบตัวเป็นศิษย์อยู่กับบรมครูผู้นี้ 1 ปีเต็ม และไดเข้าพิธีครอบมือโดยทำพิธีที่บ้านนายนุ่ม นางจับ ตำบลแหลม จากนั้นประทิ่นก็เป็นหนังตะลุงโดยสมบูรณ์

         ประทิ่นเที่ยวเล่นหนังทั่วภาคใต้ ตลอดไปถึงมาเลเซียได้ประชันกับหนังดีเกือบทุกคณะ หนังดีรุ่นที่ประทิ่นกำลังหนุ่มซึ่งเป็นคู่ประชันที่สำคัญ ได้แก่ หนังจุน หนังเชี่ยว หนังหมึกดำ หนังหมึกขาว หนังโพ หนังชื่นขลัง และหนังไข่นุ้ย ช่วงวัยกลางคน หนังที่เป็นคู่แข่งสำคัญ ได้แก่ หนังแคล้ว เสียงทอง หนังครื้น เสียงแก้ว หนังกั้น ทองหล่อ หนังจู่เลี่ยม กิ่งทอง โดยเฉพาะหนังจูเลี่ยมกล่าวได้ว่าเป็นคู่รักคู่แค้นได้เลยทีเดียวผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะมาโดยตลอด ปัจจุบันแม้ประทิ่นจะอายุมมากแล้ว แต่ยังได้รับความความนิยมไม่เสื่อมคลาย และยังเป็นหนังรุ่นใหม่ที่เคยแข่งขันกับประทิ่น ได้แก่ หนังจู่ลี้ หนังทวี บางพง หนังประยูรใหญ่ หนังเคล้าน้อย หนังปรีชา เป็นต้น นับได้ว่าตลอด 40 ปี ที่ประทิ่นเล่นหนังตะลุง เขาได้รับการต้อนรับจากผู้ชมอย่างอบอุ่น โดยเฉพาะผู้สูงอายุจะชื่นชมประทิ่นมากเพราะเรื่องที่หยิบยกขึ้นแสดงจะแฝงไว้ด้วยคติธรรม สุภาษิต ไม่ลามากหยาบโลน บทกลอน ลีลาการแสดงและมุขตลกอยู่ในชั้นดี บางงานอย่างงาน วันมาฆบูชาซึ่งมีการแห่ผ้าขึ้นธาตุที่วัดพระบรมธาตุถนครศรีธรรมราชประทิ่นจะประจำงานทุกปี คนแก่ๆ จะเริ่มปูเสื่อหน้าโรงซึ่งปลูกที่สนามหน้าเมืองนครศรีธรรมราชตั้งแต่บ่าย เพื่อจะฟังการแสดงที่มีคุณค่าเพราะคืนดังกล่าวประทิ่นจะแสดงเน้นอานิสงส์ของการแห่ผ้าขึ้นธาตุ เน้นธรรมะเป็นหลักใหญ่

         การแสดงหนังของประทิ่นได้รับความนิยมสูงสุด ในช่วงอายุประมาณ 25 - 30 ปี เศษ ช่วงดังกล่าวมีขันหมากมิได้เว้นประทิ่นต้องแสดงจนสุขภาพเสื่อมโทรม ถึงกับหนังจันทร์แก้วต้องให้บวชเพื่อรักษาตัวอยู่ถึง 7 เดือน ขันหมากที่รับไว้ หนังจันทร์แก้วได้รับเป็นภาระจัดการให้หมด (ประทิ่นเคยบวชมา 1 พรรษา เมื่ออายุ 21 ปี)

         ประทิ่นแสดงหนังโดยยึดแนวโบราณ เรื่องที่เล่นเป็นแบบจักรๆ วงศ์ๆ แต่ก็ปรับรายบละเอียดให้เข้ากับยุคสมัยได้การแสดงจึงได้รับความนิยมมาโดยตลอด เรื่องที่แสดงคิดขึ้นเองบ้าง หม่อสงวน บ้านบ่อล้อคิดแต่งให้บ้าง ส่วนกลอนจะเล่นกลอนสดเป็นพื้น นิยายที่แสดงแล้วประสบความสำเร็จสูงสุดคือเรื่อง "โจรจำเป็น" มีผู้นำออกอากาศซ้ำแล้วซ้ำเล่าหลายครั้ง ด้านเกียรติคุณที่ได้รับจากการแสดง ประทิ่นได้ถ้วยรางวัลจากการแข่งขันประมาณ 10 ใบ ในปีนั้นหนังจันทร์แก้วก็จะแสดงอีก ครั้นทางวัดแจ้งว่ารับหนังประทิ่นให้แสดงแล้ว หนังจันทร์แก้วว่าไม่ได้ ต้องแบ่งกันเล่นคนละครึ่งคืน แล้วให้ประทิ่นเล่นหัวค่ำ ท่านนั่งดู ครั้นได้เห็น ก็ปรารภว่า "เด็กคนนี้กล้าหาญ ต่อหน้ากูมันไม่กลัวเลย ใครช่วยติดต่อมาให้กูครอบมือเสียที มันต้องดีแน่ๆ " ในที่สุดญาติของประทิ่นได้มาเล่าถึงคำปรารภของหนังจันทร์แก้วให้ฟัง ประทิ่นจึงเข้ามอบตัวเป็นศิษย์อยู่กับบรมครูผู้นี้ 1 ปีเต็ม และไดเข้าพิธีครอบมือโดยทำพิธีที่บ้านนายนุ่ม นางจับ ตำบลแหลม จากนั้นประทิ่นก็เป็นหนังตะลุงโดยสมบูรณ์ ประทิ่นเที่ยวเล่นหนังทั่วภาคใต้ ตลอดไปถึงมาเลเซียได้ประชันกับหนังดีเกือบทุกคณะ หนังดีรุ่นที่ประทิ่นกำลังหนุ่มซึ่งเป็นคู่ประชันที่สำคัญ ได้แก่ หนังจุน หนังเชี่ยว หนังหมึกดำ หนังหมึกขาว หนังโพ หนังชื่นขลัง และหนังไข่นุ้ย ช่วงวัยกลางคน หนังที่เป็นคู่แข่งสำคัญ ได้แก่ หนังแคล้ว เสียงทอง หนังครื้น เสียงแก้ว หนังกั้น ทองหล่อ หนังจู่เลี่ยม กิ่งทอง โดยเฉพาะหนังจูเลี่ยมกล่าวได้ว่าเป็นคู่รักคู่แค้นได้เลยทีเดียวผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะมาโดยตลอด ปัจจุบันแม้ประทิ่นจะอายุมมากแล้ว แต่ยังได้รับความความนิยมไม่เสื่อมคลาย และยังเป็นหนังรุ่นใหม่ที่เคยแข่งขันกับประทิ่น ได้แก่ หนังจู่ลี้ หนังทวี บางพง หนังประยูรใหญ่ หนังเคล้าน้อย หนังปรีชา เป็นต้น นับได้ว่าตลอด 40 ปี ที่ประทิ่นเล่นหนังตะลุง เขาได้รับการต้อนรับจากผู้ชมอย่างอบอุ่น โดยเฉพาะผู้สูงอายุจะชื่นชมประทิ่นมากเพราะเรื่องที่หยิบยกขึ้นแสดงจะแฝงไว้ด้วยคติธรรม สุภาษิต ไม่ลามากหยาบโลน บทกลอน ลีลาการแสดงและมุขตลกอยู่ในชั้นดี บางงานอย่างงาน ที่สำคัญคือ ถ้วยของพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ สมัยเป็นนายกรัฐมนตรีนอกนั้นก็เป็นรางวัลจอหนัง ซึ่งได้รับในสมัยแรกๆ ที่เล่นหนัง

         แม้ประทิ่นจะเป็นหนังที่มีชื่อเสียง แต่ไม่ปรากฏว่ามีลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงแม้แต่คนเดียว มีก็เพียงแต่มาอยู่มาศึกษาเพียงชั่วครั้งชั่วคราว เช่น หนังเคล้าน้อย หนังประชา เป็นต้น แต่พอมาขั้นครอบมือ ก็ตกเป็นภาระของหนังจันทร์แก้วทั้งหมด ด้านชีวิตครอบครัว ประทิ่นอยู่ในฐานะอย่างพระเอกที่เขาแสดง คือมีภรรยามาก เริ่มแรกบิดามารดาได้หมั้นไว้กับนางสาวส้มมิตร ไม่ทันได้แต่งงาน นางสาวไหมได้ตามไปเป็นภรรยา อยู่กันได้ไม่ยืด เพราะ บิดาไม่ต้องการให้เสียคำพูดกับผู้ใหญ่ของนางสาวส้มมิตร ประทิ่นจึงต้องแยกทางกับภรรยาที่ชื่อไหม ไปแต่งงานกับนางสาวส้มมิตร กับภรรยาคนนี้ประทิ่นมีบุตรด้วยกัน 10 คน นอกจากนี้ประทิ่นมีภรรยาที่อำเภอระโนด จังหวัดสงขลาคนหนึ่ง มีบุตรด้วยกัน 2 คน มีภรรยาที่อำเภอเชียรใหญ่คนหนึ่ง ชื่ออำไพ มีบุตรด้วยกัน 5 คน ชีวิตครอบครัวส่วนใหญ่ ประทิ่นอยู่กับนางอำไพซึ่งเป็นภรรยาคนล่าสุด โดยมีภูมิลำเนาอยู่ ณ บ้านเลขที่ 200/2 หมู่ที่ 7 ตำบลเจ้าแม่อยู่หัว อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

        
ประทีป  จงไกรจักร
ประทีป จงไกรจักร
ประทุม  โสมจันทร์
ประทุม โสมจันทร์