เป็นชื่อจริงของนายหนังตะลุงคณะ ประทีป เธียรทอง
เกิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2492
ที่บ้านเลขที่ 46 หมู่ที่ 6 ตำบลการะเกด อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
บุตรนายทิพย์ นางเกต

การศึกษา
ประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนท่าลิพง ตำบลการะเกด
มัธยมศึกษา โรงเรียนเชียรใหญ่สงเคราะห์ อำเภอเชียรใหญ่
มัธยมปีที่ 5 แล้วต่อชั้นมัธยมปีที่ 6 ช่วงเวลาเพียง 6 เดือน เศษ ได้แก่ โรงเรียนระโนดวิทยามูลนิธิ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา โรงเรียนโคกเนียน จังหวัดพัทลุง และโรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล จังหวัดกระบี่ ในที่สุดก็กลับมาอยู่การะเกด

         ประทีปเป็นคนมีทิฐิ อยากจะพึ่งตนเอง รักอิสระ และประกอบกับได้เห็นหนังเคล้าน้อย บุตรหนังศรีชุมซี่ง เป็นญาติห่างๆ ประสบความสำเร็จในการแสดงหนังตะลุงก็เกิดแรงบันดาลใจอยากหัดหนังตะลุงบ้าง จึงปลูกโรงขึ้นที่บ้านโดยมีหนังศรีชุมเป็นอาจารย์ หัดอยู่ได้เกือบเดือนเศษ ครูพิณ ไสยวงศ์ ครูใหญ่โรงเรียนท่าลิพง ได้เกลี้ยกล่อมว่าจะหัดหนังก็ไม่ว่า แต่ของให้เรียนจบชั้นมัธยมปีที่ ๖ เสียก่อน ประทีปจึงเข้าเรียนที่โรงเรียนเชียรใหญ่สงเคราะห์อีก และเรียนจบมัธยมปี่ที 6 ในปี พ.ศ.2508 แต่ขณะที่เรียนอยู่นั้นก็ยังหัดหนังตะลุงเกือบทุกคืน เมื่อเรียนจบชั้นมัธยมปีที่ 6 แล้วประทีปได้หัดหนังอย่างจริงจังเป็นเวลา 3 เดือน และออกเป็นลูกคู่ให้กับหนังเคล้าน้อยและหนังไสว ขวัญใจทุ่งรวงทองบ้างเป็นบางครั้ง จนถึงเดือน 6 ขึ้น 13 ค่ำ ของปี พ.ศ.2508 นั่นเอง ประทีปก็ไดเป็นหนังตะลุงโดยสมบูรณ์ตามประเพณีคือได้เข้าพิธีครอบมือ มีหนังศรีชุมเป็นผู้ครอบมือให้และได้ออกงานแสดงครั้งแรกที่งานนาคบ้านห้วยกอ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

         ประทีปเล่นหนังตะลุงโดยมีเป้าหมายจะให้ความรู้กับชาวบ้านมากกว่าจะให้ความขบขันเพื่อสำเริงอารมณ์ เรื่องที่นำเสนอจะสะท่อนชีวิตจริง และบางครั้งก็มีลักษณะวิพากษ์วิจารณ์สังคมค่อนข้างจะรุนแรงไปบ้าง เขาจึงถูกตำรวจให้ระงับการแสดงเสียกลางคันก็เคยมี อนึ่ง ด้วยเป็นหนังตะลุงที่มีพื้นฐานการศึกษาและเคยอ่านวรรณกรรมต่าง ๆ มาพอประมาณ เรื่องที่ประทีปนำมาเล่นแทบทุกเรื่องจึงดัดแปลงมาจากวรรณกรรมเช่น เรื่อง "ขุนศึกใจเพชร" ดัดแปลงจากเรื่อง "ขุนศึก" ของไม้เมืองเดิม เรื่อง "หักเหลี่ยมเพชร-เด็ดความรัก" ดัดแปลงจากเรื่อง "กุหลาบเมาะลำเลิง" ของหลวงวิจิตรวาทการ เรื่อง "บัลลังก์ทมิฬ" ดัดแปลงจากเรื่อง "ศิวาราตรี" ของพนมเทียน เป็นต้น ศิษย์ที่มาหัดกับประทีปก็เป็นผู้ที่มีการศึกษาพอสมควร และมุ่งแสดงหนังตะลุงเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนเป็นหลักสำคัญทั้งสิ้น ได้แก่ หนังอุทัย เป็นตำรวจตระเวณชายแดนจากจังหวัดกระบี่ หนังสุพจน์น้อย จากกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนทุ่งสง และหนังมณฑา จากอำเภอร่อนพิบูลย์ ศิษย์ ๒ คนแรกมาฝึกหัดตามนโยบายของทางราชการที่จะใช้หนังตะลุงเป็นสื่อมวลชนในการรณรงค์ทางการเมืองเพื่อต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์และเผยแพร่ประชาธิปไตย

         ด้วยเหตุที่ประทีปแสดงหนังเพื่อให้ความรู้จึงได้รับ ความนิยมจากชาวบ้านทั่วไปไม่มากนัก แต่ความสามารถก็สูงพอประมาณ เพราะเคยประชันกับหนังดีๆ มาบ้าง เช่น หนังปรีชา สงวนศิลป์ หนังประเคียง ระฆังทอง หนังประยูรน้อย หนังชัยเจริญ บันเทิงศิลป์ เป็นต้น

         หนังตะลุงทุกคณะจะมีตัวตลกเอกเป็นตัวชูโรง สำหรับหนังประทีปมีตัวตลกเฉพาะที่เป็นของตนเอง คิดขึ้นเอง ชื่อ "อ้ายแจ้" มีลักษณะคล้ายไก่ ผมคล้ายหอน มี 7 ยอด จึงได้สร้อยว่า "อ้ายแจ้ เจ็ดยอด" มีนิสัยอวดรู้ แต่ไม่รู้จริง ใครพูดอะไรชอบขวางคอ เวลาชอบใจจะตีปีกหัวเราะคล้ายเสียงไก่ ตัวตลกตัวนี้หนังที่เป็นศิษย์ได้สืบทอดไปใช้ด้วย

         ประทีปได้บวช 1 พรรษา เมื่อ พ.ศ.2516 ที่วัดท่าลิพงแต่งงานกับนางสาวโสภา เกศรินทร์ มีบุตร 3 คน อยู่บ้านเลขที่ 46//1 หมู่ 6 ตำบลการะเกด

บุญธรรม  เทอดเกียรติชาติ
บุญธรรม เทอดเกียรติชาติ
 ประทิ่น  บัวทอง
ประทิ่น บัวทอง