การเล่นหนังตะลุง มี 2 ลักษณะ คือ เล่นเพื่อความบันเทิง และเล่นเพื่อประกอบพิธีกรรม การเล่นทั้งสองลักษณะ มีขนบนิยมที่ต่างกันหลายประการ

    

         หนังตะลุงทุกคณะมีลำดับขั้นตอนในการเล่นเหมือนกัน คือ ตั้งเครื่องเบิกโรง โหมโรง ออกลิงหัวค่ำ ออกฤาษี ออกรูปฉะ ออกรูปพระอิศวร ออกรูปปรายหน้าบท ออกรูปบอกเรื่อง เกี้ยวจอ ตั้งนามเมือง แสดงเรื่อง ดังรายละเอียดต่อไปนี้

         1.1 ตั้งเครื่องเบิกโรง  เป็นการทำพิธีเอาฤกษ์ขอที่ตั้งโรง ปัดเป่าเสนียดจัญไร และเชิญครูหนังมาคุ้มครองเริ่มพิธีด้วยนายหนังตีกลองนำและลูกคู่บรรเลงเพลงเชิด เรียกว่า ตั้งเครื่อง จากนั้นนายแผง (คนแบกแผงใส่รูปหนัง) แก้แผงเอารูปออกวางให้เป็นระเบียบ นายหนังทำพิธีเบิกโรง โดยนำเครื่องเบิกโรงที่เจ้าภาพจัดให้ คือ ถ้าเป็นงานทั่วไปใช้หมากพลู 9 คำ เทียน 1 เล่ม ถ้าเป็นงานอัปมงคล เพิ่มเสื่อ 1 ผืนหมอน 1 ใบ หม้อน้ำมนต์ 1 ใบ เงินค่าเบิกโรงตามแต่หนังจะกำหนด (3 บาทบ้าง 12 บาทบ้าง) มาวางหน้านายหนังแล้วร้องชุมนุมเทวดา เอารูปฤาษี รูปปรายหน้าบท รูปเจ้าเมือง ปักบนหยวก ร้องเชิญครูหมอหนังให้มาคุ้มครอง ขอที่ตั้งโรงจากพระภูมิและนางธรณี เสกหมาก 3 คำ เพื่อซัดเข้าไปในทับ 1 คำเหน็บตะเกียงหรือดวงไฟที่ให้แสงสว่างในการเล่นหนัง 1 คำ และเหน็บหลังคาโรง 1 คำ เพื่อกันเสนียดจัญไร เสร็จแล้วลูกคู่บรรเลงเพลงโหมโรง

         1.2 โหมโรง  เป็นการบรรเลงดนตรีล้วนๆ เพื่อเรียกคนดูและให้นายหนังได้เตรียมพร้อม สุธิวงศ์ทับ คือ ใช้ทับเป็นตัวยืน เพลงที่บรรเลงมี 12 เพลง ได้แก่ เพลงเดิน เพลงถอยหลังเข้าคลอง เพลงยักษ์ เพลงสามหมู่ เพลงนางออกจากวัง เพลงนางเดินป่า เพลงสรงน้ำ เพลงเจ้าเมืองออกสั่งราชการ เพลงยกพล เพลงชุมพล เพลงยักษ์จับสัตว์ และเพลงกลับวัง ต่อมาหันมานิยมโหมโรงด้วยเพลงปี่ คือใช้ปี่เป็นหลัก เพลงที่บรรเลงสมัยก่อนเป็นเพลงไทยเดิม เริ่มด้วยเพลงพัดชาซึ่งหนังถือว่าเป็นเพลงครูแล้วต่อด้วยเพลงอื่น ๆ เช่น ลาวสมเด็จ เขมรปี่แก้ว เขมรปากท่อ จีนแส ลาวดวงเดือน ชายคลั่ง สุดสงวน นางครวญ สะบัดสะบิ้ง เขมรพวง ชะนีร้องไห้ เป็นต้น ปัจจุบันโหมโรงด้วยเพลงพัดชา จากนั้นมักบรรเลงเพลงลูกทุ่งเป็นพื้น

         1.3 ออกลิงหัวค่ำ หรือ ออกลิงขาวลิงดำ  เป็นขนบนิยมในการเล่นหนังตะลุงในสมัยก่อน ปัจจุบันเลิกไปแล้วเข้าใจว่าจะได้รับอิทธิพลจากหนังใหญ่ เพราะรูปที่ใช้เชิดส่วนใหญ่เป็นรูปจับ คือมีฤาษีอยู่กลาง ลิงขาวมัดลิงดำอยู่เบื้องล่าง แต่มีบ้างเหมือนกันที่แกะแยกเป็นรูปเดี่ยวๆ 3 รูปในกรณีที่แกะรูปแยกเป็น 3 รูปเช่นนี้มีวิธีเล่นคือ ขั้นแรกจะออกลิงขาวก่อน แล้วออกลิงดำสลับเสร็จแล้วออกพร้อมกันเอาหัวชนกัน เอาก้นชนกัน แล้วเข้าฟัดกัน ซึ่งตอนนี้ดนตรีจะทำเพลงเชิด จบแล้วมีบทพากย์ประกอบประกอบ เช่น

          " สองต่อสองสู้กันเป็นโกลา

ขบกัดไปมา
บ่ได้หยุดหย่อนผ่อนแรง

          สองกระบี่มีฤทธิ์เข้มแข็ง

สู้กันกลางแปลง
ว่องไวเสมือนหนึ่งจับผัน

          อ้ายลิงดำพลิกพลาดลง

อ้ายลิงขาวใจฉกรรจ์
ขยิบขยับจับกร"
ฯลฯ

         1.4 ออกฤาษี   ฤาษีเป็นรูปครู ออกเชิดเพื่อคารวะครู และปัดเป่าเสนียดจัญไรต่างๆ วิธีเชิดใช้ไม้เท้าออกล่องจอตรงมุมขวา มุมซ้าย และกลางจอจุดละครั้ง แล้วเหาะผ่านจอจากขวาไปซ้าย ถอยหลังช้าๆ เป็นจังหวะจากมุมจอซ้ายกลับมาขวา

         1.5 ออกรูปฉะ  คือออกรูปฉะพระรามและทศกัณฐ์ต่อสู้กัน มีบทพากย์ดังนี้ "ข้าจะไหว้พระราเมศวร์รัศมี ต่อต้านไพรี ด้วยเจ้าพระนครลงกา

          "ข้าจะไหว้พระราเมศวร์รัศมี

ต่อต้านไพรี
ด้วยเจ้าพระนครลงกา

          แจ้งเรื่องอสุรกายยักษา

ทศเศียรอสุรา
พร้อมด้วยอิทรชิตฤทธิรอน

          ข้าจะไหว้พระลักษณ์พระรามผู้ทรงศร

นิลเพชรจะเห็จจร
พร้อมด้วยหนุมานชาญชัย"

         1.6 ออกรูปพระอิศวร  เพื่อบูชาพรอิศวรผู้เป็นเทพเจ้าแห่งการบันเทิง ธรรมเนียมการออกรูปพระอิศวรจะเริ่มด้วยเชิดรูปให้ผ่านจอส่วนบนอย่างช้าๆ โดยให้เห็นเงาเพียงรางๆ อวดท่าเชิดให้เห็นความมีอำนาจของศิวเทพและความพยศของโคทรง แล้วปักรูปกลางจอ ร่ายมนตร์ไหว้เทพเจ้าและครูหนัง จบแล้วเชิดเข้าโรง สำหรับบทพากย์ร่ายมนตร์มีหลายสำนวน ในที่นี้จะยกตัวอย่างเพียงสำนวนเดียว ดังนี้

          "โอมนะข้าจะไหว้พระบาทเจ้าทั้งสามพระองค์
พระอิศวรผู้ทรง พระยาโคอุสุภราชฤทธิรอน

          เบื้องขวาเบื้องขวาข้าจะไหว้พระนารายณ์สี่กร
ทรงครุฑระเหิรจร พระชินรินทร์เริงรงค์

          เบื้องซ้ายข้าจะไหว้ท้าวจตุรพักตร์ผู้ทรง
พระมหาสุวรรณเหมหงส์ ทรงศักดิ์พระอิทธิฤทธิ์เรืองนาม

          สามเอยสามองค์ทรงภพไปทั้งสาม
สามโลกเกรงขาม พระเดชพระนามลือขจร

          เรืองเอยเรืองเดชเรืองเวทย์เรืองพร
ทั่วฟ้าและดินดอน ขจรทั่วจบภพไตร

          ราเอ๋ยราตรีอัคคีมาจ่อแจ่มใส
หนังส่องกับแสงไฟ ดูวิจิตรลวดลาย

          โอบพร้อมมหาพร้อมพร้อมด้วยดนตรีปี่เป่าทั้งหลาย
ชูชื่นแสนสบาย ยักย้ายอรชรอ่อนออ

          เอาหนังโคมาทำเป็นรูปพระอิศวรนารายณ์เจ้า
อาทิตย์เมื่อลับเล่า แสงสว่างกระจ่างไป

          เอาไม้ไผ่สี่ลำเข้ามาทำมุมจอ
สี่มุมหุ้มหอ ตรงกลางใช้คาดด้วยผ้าขาว

          เอาหนังโคมาทำเป็นรูปพระอิศวรนารายณ์เจ้า
อาทิตย์เมื่อลับเล่า แสงสว่างกระจ่างไป

          ศรีศรี สวัสดีมีชัย
เล่นสถานแห่งใด มีลาภล้นโดยหวัง

          และขอให้มีจิตตาพลัง
ห่อหุ้มคุมขัง อันตรายอย่าให้มีมา บัดนี้"

         1.7 ออกรูปกาศ  รูปกาศเป็นตัวแทนของนายหนังทำเป็นรูปชายหนุ่มถือดอกบัว วิธีเล่น จะร้องกลอนสั้นๆ เป็นทำนองไหว้พระก่อน เชิดรูปออกจอทำท่าสวัสดีผู้ชม เชิดรูปในท่าเดิน แล้วปักรูปในท่าสวัสดี จากนั้นร้องกลอนไหว้ครูสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และผู้ที่หนังเคารพนับถือ เป็นทำนองฝากเนื้อฝากตัว  ดังตัวอย่างกลอน


"บูชาพระเจ้าทั้งห้าพระองค์
ผู้ประเสริฐเลิศหล้าบุญญาทรง เป็นมิ่งมงคุณธรรมล้ำโลกา
หนึ่งพระกกุสันโธเจ้า พระโคดมท่านเฝ้ารักษา
พุทธกัสปะเจ้าเฝ้าบูชา ทั่วทั้งพระสมณะโคดม
พระศรีอริยเมตไตรยัง พระระวังเหนือเกล้าให้อยู่เฝ้าผม"
ฯลฯ

         1.8 ออกรูปบอกเรื่อง  หนังส่วนใหญ่ใช้รูป อ้ายขวัญเมือง เป็นรูปบอกเรื่องถือเป็นตัวแทนของนายหนัง เช่นเดียวกับรูปกาศ การออกรูปบอกเรื่องจะให้รูปโผล่หัวขึ้นกลางจอ ยกมือไหว้ผู้ชม ๓ครั้ง แล้วบอกเรื่องทั่วๆ ไปกับผู้ชม เช่น แนะนำคณะหนัง สาเหตุที่ได้มาเล่น ขอบคุณผู้ชม เป็นต้นตอนสุดท้ายจะบอกให้ผู้ชมทราบว่า ในคืนนี้หนังจะแสดงเรื่องอะไร ซึ่งประเด็นหลังนี้ถือเป็นหน้าที่หลักของการออกรูปบอกเรื่อง จากนั้นอวยพรแก่ผู้ชม แล้วเข้าโรง

         1.9 เกี้ยวจอ  เป็นการร้องกลอนสั้นก่อน ตั้งนามเมือง กลอนส่วนใหญ่จะเน้นให้เป็นคติสอนใจแก่ผู้ชมบางครั้งมีการชมธรรมชาติบ้าง หรือพรรณนาความในใจบ้างก่อนร้องกลอนนายหนังจะเอารูปเจ้าเมืองกับนางเมือง (กษัตริย์และพระมเหสี) ออกมาปักไว้หน้าจอ ตัวอย่างกลอนเช่น

          "อาทิตย์ ดับลับฟ้าภาณุมาศ

พระจันทร์สาดลอยสว่างกลางเวหา
น้ำค้างติดปลิดปรอยย้อยลงมา พระพายพากลิ่นสุคนธ์วิมลมาลย์
มาลาน้อยลอยลมค่อยชมรส ดอกยังสดน่าถนอมทั้งหอมหวาน
มีผ้าคลุมหุ้มห่อช่อโพตาน ห่อไว้นานขาวขำดังสำลี"

         1.10 ตั้งนามเมือง  เป็นการเปิดเรื่องหรือจับเรื่องโดยสมมุติขึ้นเป็นเมืองแห่งหนึ่งตามนิยายที่นำมาแสดง การตั้งนามเมือง นายหนังจะนำรูปเจ้าเมืองและมเหสีออกมาปักหน้าจอแล้วว่ากลอนบรรยายสภาพบ้านเมือง บอกนามเมืองและชื่อตัวละคร ตลอดจนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ดังตัวอย่าง

          "นครังยังมีนคเรศ

เป็นขอบเขตใหญ่โตรโหฐาน
กำแพงป้อมล้อมรอบมาช้านาน ทั่วสถานรุ่งโรจน์ปราโมทย์ใจ
สมณะชีพราหมณ์ยามสงบ เฝ้าเคารพพระธรรมประจำนิสัย
มีทหารอยู่พร้อมเพรียงล้วนเกรียงไกร นอกและในถือปืนบ้างยืนยุทธ"
ฯลฯ

         หลังจากตั้งนามเมืองแล้ว หนังตะลุงจะเล่นดำเนินเรื่องไปตามนิยายที่นำมาแสดง สำหรับเรื่องที่แสดง เดิมทีเล่นเรื่องรามเกียรติ์ ต่อมาเล่นเรื่องจักรๆ วงศ์ๆ ซึ่งผูกขึ้นเองบ้างได้จากชาดกบ้างเช่น ลักษณวงศ์ โคบุตร หอยสังข์ พระรถเสน แก้วหน้าม้า โคคาวี (เสือโค) และนางแตงอ่อน เป็นต้น ต่อมาเมื่อภาพยนตร์และนวนิยายได้รับความนิยมจากชาวบ้าน หนังตะลุงก็หันมานิยมแสดงเรื่องแบบภาพยนตร์และนวนิยายด้วย
         ลำดับขั้นตอนในการเล่นหนังตะลุงดังกล่าวมานี้ สมัยก่อนถ้าออกรูปฉะก็ไม่ต้องออกรูปพระอิศวร ถ้าออกรูปพระอิศวรก็ไม่ต้องออกรูปฉะ ส่วนปัจจุบันหนังตะลุงเลิกออกลิงหัวค่ำและเลิกออกรูปฉะ ส่วนขั้นตอนอื่นยังคงเดิมทุกประการ
         การเล่นหนังตะลุงเพื่อความบันเทิงที่ถือว่าให้ความสนุกที่สุดก็คือตอนประชันที่เรียกกันในภาษาถิ่นใต้ว่า แข่งขันเพราะหนังทุกคณะที่เข้าประชันจะเล่นเพื่อเอาชนะจนสุดความสามารถ สมัยก่อนการแข่งขันหนังมักจะชิงจอ ชิงโหม่ง ชิงขันน้ำ พานรอง แต่ระยะหลังมีรางวัลแปลกๆ เช่น ฤาษีทองคำ พระพิฆเนศทองคำ พระอิศวรทองคำ อินทรีทองคำ และแหวนเพชร เป็นต้น
         การเล่นแข่งหนังมีขนบนิยมเช่นเดียวกันกับที่กล่าวแล้วมีกติกาที่คู่แข่งขันต้องปฏิบัติ คือ เมื่อ ตีโพนลาแรก (เวลาประมาณ 20.30 นาฬิกา) หนังจะ เริ่มลงโรง ตีโพนลาสองออกฤาษี ตีโพนลาสาม พักเที่ยงคืน ตีโพนลาสี่ แสดงต่อ ตีโพนลาห้า(เวลาประมาณ 0.5.00 นาฬิกา) กรรมการเริ่มการ เริ่มลงโรง ตีโพนลาสองออกฤาษี ตีโพนลาสาม พักเที่ยงคืน ตีโพนลาสี่ แสดงต่อ ตีโพนลาห้า(เวลาประมาณ 05.00 นาฬิกา) กรรมการเริ่มการตัดสินในตอนนี้หนังตะลุงจะปล่อยทีเด็ดเพื่อเรียกคนดูให้ได้มากที่สุดเรียกว่า ชะโรง หนังตะลุงคณะใดคนดูมากที่สุดเป็นผู้ชนะเลิศ

    

         พิธีที่เกี่ยวข้องกับหนังตะลุง มี 2 อย่าง คือ พิธีครอบมือ และ พิธีแก้บนหรือแก้เห.ม.รย

           
         เป็นพิธีกรรมที่หนังตะลุงจัดขึ้นเพื่อแสดงการยอมรับนับถือครูหนังแต่ครั้งบุพกาล โดยเชื่อว่าวิญญาณครูหนังแต่เก่าก่อน อันได้แก่ พระพิราบหน้าทอง ตาหนุ้ย ตาหนักทอง ตาเพชร และครูหนกครูลาย (ครูแกะสลัก) ยังคงดูแลวนเวียนดูแลทุกข์สุขของนายหนังตะลุงทุกคณะ หนังที่ออกโรงแสดงโดยไม่ผ่านพิธีครอบย่อมถูกลงโทษทัณฑ์จากครูดังกล่าวนี้ ในทางตรงข้าม หากผ่านพิธีโดยสมบูรณ์ย่อมได้รับการคุ้มครองให้มีความสุขสวัสดีและรุ่งเรืองในอาชีพ
         การประกอบพิธีครอบมืออาจมีขึ้นหลังจากผู้ประสงค์จะหัดเล่นหนังตะลุงเข้ามอบตัวต่อนายหนังอาวุโสซึ่งรับเป็นอาจารย์สอนวิชาเล่นหนังให้ หรืออาจจัดหลังจากหัดแสดงจนชำนาญพอโดยเลือกจัดในวันพฤหัสบดีข้างขึ้นของเดือน 4 เดือน 6 เดือน 9 หรือเดือน 11 วันใดวันหนึ่ง อุปกรณ์ในการประกอบพิธี นอกเหนือจากการแสดงอย่างธรรมดา ๆ แล้ว ยังมีธูป 9 ดอก เทียน 9 เล่ม หมากพลู 9 คำ ดอกไม้ 9 ดอก ใบยอ ใบเงิน ใบทอง ไม้แกระ 1 คู่ ผ้าขาว 1 คู่ เครื่องสิบสอง บายศรี ไก่ปากทอง เป็ดปากทอง รูปหนังเพื่อเสี่ยงจับ 5 ตัว มีรูปพระ นาง ฤาษี ยักษ์ และเสนา ขันใส่น้ำ ภายในขันใส่มีดและหินลับมีด บนโรงดาดพาดเพดานลงมายังพื้นโรงที่วางเครื่องสังเวย บางแห่งยังโยงสายสิญจน์จากดาดเพดานขึ้นไปยังหิ้งครูหมอหนังบนเรือนผู้จัดพิธีอุปกรณ์ต่างๆ ที่จัดขึ้นนอกจากใช้เพื่อสังเวยครูแล้ว ยังจัดขึ้นเพื่อเอาเคล็ด เช่น ใช้ใบยอเพื่อความมีชื่อเสียงเป็นขวัญใจประชาชน ใช้ใบเงินใบทองเพื่อความมั่งคั่ง คือมีเงินทอง ไหลมาเทมาจากการแสดง ใช้มีดโกนและหินลับมีดเพื่อความเฉียบแหลม คมคาย สติปัญญาไหวพริบดี เป็นต้น
         ในการประกอบพิธีนุ่งขาวห่มขาวส่วนผู้ที่เข้าพิธีแต่งธรรมดา การประกอบพิธีเริ่มแต่หัวค่ำ คือประมาณเวลาที่ชาวบ้านเรียกว่า "ยามนกชุมรัง" โดยลูกคู่โหมโรงไปพักหนึ่ง ผู้ประกอบพิธีทำพิธีเบิกโรง นำดอกไม้ ธูป เทียนวางบนแกระ จุดธูปเทียนบูชาพระ ยกเครื่องเซ่นสังเวยครู การตั้งเซ่นจะแยก 2 ที่ สำหรับพระพิราบหน้าทองซึ่งมีศักดิ์เป็นเทพที่หนึ่ง และครูต้นอื่นๆ ซึ่งเป็นบริวารอีกทีหนึ่งจากนั้นเริ่มไหว้สัดดีเชื้อครู เชิญพระพิราบหน้าทองและบริวารเข้าสู่พิธีเบิกบายศรี เสร็จแล้วเข้าพิธีกราบครู 9 ครั้ง อาจารย์ผู้ประกอบพิธีให้พรแล้วเสี่ยงจับรูป โดยเอาผ้าห่อรูปสำหรับเสี่ยงจับให้โผล่แต่ไม้ตับ ให้ผู้เข้าพิธีปิดตา เลือกจับเอาเพียงตัวเดียว ได้รูปใดก็ทำนายตามคำโบราณ ซึ่งมีว่า
         -  ถ้าจับได้รูปพระ (รูปพระราม) ต่อไปจะเป็นหนังดี มีชื่อเสียง มีชัยชนะแก่หนังทั้งปวง
         - ถ้าจับได้รูปนาง จะเป็นหนังที่อยู่ในความนิยมของสตรี แสดงหนังได้อ่อนหวาน แต่มีชื่อเสียงไม่เท่าที่ควร
         - ถ้าจับได้ฤาษี จะเป็นหนังที่ดีแต่สอนผู้อื่น แต่ตัวเองทำได้ไม่เท่าที่สอน
         - ถ้าจับได้รูปยักษ์ จะไม่ค่อยมีชื่อเสียง และชอบใช้วิชาไสยศาสตร์กลั่นแกล้งหนังโรงอื่น
         - ถ้าจับได้รูปเสนา จะดีทางตลกขบขัน
         เมื่อเสร็จการทำนายทายทักแล้ว อาจารย์จะยื่นรูปที่จับได้นั้นให้ผู้เข้าพิธีเชิดออกจอ เป็นเสร็จพิธี หลังจากนั้นก็อาจให้แสดงซึ่งถือเป็นเรื่องสนุกกันมากกว่า ไม่นับเนื่องในพิธีดังกล่าวแล้ว

          
         เป็นการเล่นเพื่อบวงสรวงครูหมอหนังหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามพันธะที่บนบานไว้ซึ่งเรียกว่า เห.ม.รย หนังที่จะทำพิธีนี้ได้ต้องรอบรู้ในพิธีกรรมและที่สำคัญต้องผ่านพิธีครอบมือมาแล้ว มิเช่นนั้นพันธะสัญญาจะไม่ขาดกัน เรียกว่า ไม่ขาดเห.ม.รย ขนบนิยมในการเล่นทั่วๆ ไปเป็นแบบเดียวกับการเล่นเพื่อความบันเทิง แต่ตอนเบิกโรงต้องใช้หมากพลู ๙ คำ เทียน ๙ เล่ม บางคณะอาจเพิ่มดอกไม้ ข้าวสาร และด้ายดิบ
         ในการแก้บน เจ้าภาพต้องเตรียมของแก้บนเอาไว้ให้ครบถ้วนตามที่บนบานไว้ เมื่อหนังโหมโรง ก็ยกมาจัดวางไว้ข้างโรงหนัง ฝ่ายหนังเล่นไปเหมือนกันกับเล่นเพื่อให้ความบันเทิง คือ โหมโรงแล้วออกฤาษี ออกรูปฉะหรือไม่ก็ออกรูปพระอิศวร พอออกรูปกาศก็เริ่มพิธีแก้บน โดยร้องกลอนชุมนุมเทวดา เชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่บนบานไว้มาสู่มณฑลพิธี ขณะที่หนังร้องเชิญสิ่งที่บนบานไว้นั้น ทางฝ่ายเจ้าภาพซึ่งเป็นผู้บนบานก็จุดเทียนเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่บนบานไว้มารับ
         เครื่องสังเวยตามที่บนบานไว้ เช่น ถ้าบนบานว่าจะยิงปืนถวายก็ยิงขึ้นในตอนนั้นเสร็จแล้วนายหนังจะผูกเรื่องมาเล่นถวายแก้บน เรื่องที่ใช้เล่นต้องใช้เรื่องรามเกียรติ์ โดยจับเพียงตอนใดตอนหนึ่งพอเป็นเคล็ดว่า ตัดเห.ม.รย ได้มาเล่นอย่างสั้นๆ เช่น ตอนเจ้าบุตรเจ้าลพ ตอนจองถนน ตอนหนุมานพบพระราม ตอนทศกัณฐ์ล้ม เป็นต้น นอกจากนี้อาจเล่นแบบออกลิงหัวค่ำก็ได้ จบแล้วนายหนังจะเอารูปฤาษี เจ้าเมือง พระ นาง พระอินทร์ ฯลฯ ปักชุมนุมกันที่หน้าจอเป็นทำนองว่าได้ร่วมรู้เห็นเป็นพยานว่าเจ้าภาพได้แก้บนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขอให้พันธะสัญญาขาดกันแต่บัดนี้ แล้วนายหนังจุดเทียน จับเทียนรวมกับมีดครูและไม้ผูกมือรูปทุกตัว ใช้มีดตัดต่อเห.ม.รย (เป็นห่อกระดาษที่เขียนคำบนบานและเครื่องบูชาตอนบนบานเอาไว้) ขว้างออกนอกโรง เรียกว่า ตัดเห.ม.รย เป็นเสร็จพิธี จากนั้นหนังจะแสดงให้เห็นความบันเทิงแก่ชาวบ้านต่อไป

โอกาสและกำหนดเวลา
โอกาสและกำหนดเวลา
กลอนและลีลากลอน
กลอนและลีลากลอน