การละเล่นกาหลอผูกพันกับชีวิตความเป็นอยู่ของชาวนครศรีธรรมราชประมาณ 70-100 ปีมาแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่มีเล่นในงานศพ ปัจจุบันกำลังจะสูญหาย

ความหมาย 
              
    - สารานุกรมของ เปลื้อง ณ นคร กล่าวถึงกาหลอไว้ว่า " เป็นดนตรีชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับประโคมในงานศพ " 
    - แต่บางท่านกล่าวว่า กาหลอเป็นงานแห่ในวันสงกรานต์ เพื่อความรื่นเริงและแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้บังเกิดเกล้าของตน "
    - บางท่านกล่าวไว้ว่า " กาหลอเป็นเครื่องดนตรี ซึ่งมักเล่นเฉพาะในงานศพ คล้าย ๆ กับการสวดคฤหัสถ์หรือสวดมาลัย เดิมเล่นเฉพาะในงานศพ เพื่อความสนุกสนาน ต้องมีความสามารถในการขับร้องและเล่นดนตรีโดยเฉพาะปี่กาหลอเป็นพิเศษ "
    - ผู้รู้ท่านหนึ่งกล่าวถึงกาหลอว่า " เป็นเครื่องประโคมที่เก่าแก่ดึกดำบรรพ์ เพี้ยนมาจาก กาหล หมายถึง แตรงอนและเสียงอึกทึก เข้าใจว่ารับมาจากอินเดีย " กาหลอ เป็นคำประสมระหว่าง กา กับ หลอ  กา หมายถึง อีกา ส่วน หลอ หมายถึง ลื่น ( หลุดจากที่เกาะ )  เมื่อประสมกันเป็นคำว่า กาหลอ แปลว่า เมื่ออีกาได้ฟังดนตรีประเภทนี้จะรู้สึกเพลิดเพลิน จนลื่นหลุดจากที่เกาะ


ภาพจิตกรรมขบวนแห่กาหลอ ที่ศาลสถิตยุติธรรม

ประวัติ
              
    - กำเนิดในสมัยพุทธกาล ( ไม่ทราบว่าเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ใด ) สันนิษฐานว่า พระพุทธเจ้าทรงดำริให้มีขึ้นเพื่อใช้แห่นำพระศพ (เศียร) ของพระพรหมเป็นครั้งแรก ต่อมาพระพุทธองค์เห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม จึงยึดถือเป็นประเพณีสืบมา
    - บางท่านกล่าวว่า กาหลอเป็นเสียงฆ้องจากสวรรค์ เชื่อว่าสมัยพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ณ วัดแห่งหนึ่งริมแม่น้ำ พระอธิการวัดนำหลาวไปปักไว้ใต้น้ำเพราะไม่ต้องการให้เด็กวัดมาเล่นน้ำ อยู่มาวันหนึ่งอากาศร้อน ท่านกระโดดลงน้ำจนถูกหลาวปัก แทนที่จะเป็นเด็กวัด พระภิกษุและลูกวัดต่างพยายามช่วยแต่ไม่สำเร็จ จึงไปทูลพระพุทธองค์ ๆ จึงเสด็จไปดึงพระอธิการพร้อมดึงหลาวออก และเรียกประชุมพระสงฆ์ภายในวัดเพื่อแสดงธรรมและธรรมวินัย จากนั้นทรงแต่งตั้งภิกษุเหล่านั้นตามความรู้ความสามารถ คือ ท่านกาแก้ว ท่านการาม ท่านกาชาด และท่านกาเดิม หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพาน พระภิกษุทั้งสี่ได้ประชุม ทานกาเดิมทำปี่ขึ้นมาเล่าหนึ่ง ทานการามทำโทน ท่านกาแก้วทำโทน ส่วนท่านกาชาดทำฆ้อง เครื่องดนตรีเหล่านี้ใช้นำหน้าพระศพของพระพุทธเจ้า ซึ่งถือว่าเป็นการบรรเลงดนตรี กาหลอ ครั้งแรก
    - อีกตำนานหนึ่งกล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ให้กำเนิดกาหลอเพื่อแห่นาคและแห่ศพ จากนั้นสาวกจำนวน 12 องค์ ช่วยกันแต่งเพลงถวายองค์ละ 1 เพลง จึงมีเพลงกาหลอตั้งแต่นั้นมา


เครื่องดนตรี
              
    - เครื่องดนตรีมี 3 ชิ้น คือ ปี่ 1 เล่า ( ถือว่าเป็นดนตรีที่สำคัญที่สุด ) กลองทน 2 ใบ ( ใช้ตีขัดจังหวะ) และฆ้อง 1 ใบ ฆ้องแต่เดิมนิยมใช้ 2 ใบ แต่ระยะหลังใช้เพียงใบเดียว มักเลือกฆ้องที่มีเสียงกังวานตีแล้วได้ยินไกล
    - ผู้ประโคมดนตรี 4 คน หัวหน้าวงเป่าปี่


เครื่องคนดนตรีกาหลอ

ลักษณะเพลง
              
            มีทั้งหมด 12 เพลง สาวกของพระพุทธเจ้าเป็นผู้แต่ง ไม่มีเนื้อร้องใช้บรรเลงอยางเดียว เริ่มด้วยเพลงไหว้พระ และต้องเหมาะกับบรรยากาศ เช่น ตอนค่ำใช้เพลงทองศรี ตอนดึกเพลงนกพิทิด หัวรุ่งใช้เพลงทองศรี ตอนเช้าตรู่น้ำค้างยังไม่แห้งใช้เพลงนกกระจอกเต้น พอดวงอาทิตย์ขึ้นใช้เพลงแก้วแสงทองและ ตอนเช้าเพลงนกเปล้ากินไทร่ ตอน ยกศพ ใช้เพลง เหยี่ยวเล่นลม , ตอนนำศพ ใช้เพลง ทอมท่อม , ตอนเข้าเขตป่าช้า ใช้เพลง ยั่วยวน ,  ถึงเมรุ ใช้เพลง สุริยน ,  ขณะตั้งศพ ใช้เพลง ทองศรีต่อด้วยเพลงพลายแก้ว พลายทอง , และตอนประชุมเพลิง ใช้เพลงพระพาย

ลักษณะงานที่เล่นกาหลอ
              
            งานที่รับกาหลอไปเล่นมี 3 งาน คือ งานศพ งานบวชนาค ( ต้องเป็นนาคที่ไม่สึก ) และงานรดน้ำคนแก่ แต่ส่วนใหญ่มักเล่นในงานศพ ถ้าเป็นงานแต่งงานจะต้องนำหมากหนึ่งคำเพื่อหมอกาหลอจะได้บูชาครู ถ้าไม่มีหมากไปด้วยกาหลอจะไม่ยินดีรับงาน เมื่อถึงวันงานหมอกาหลอนำหมาก 1 คำ วางบนหิ้ง
            ถ้าเป็นงานศพ กาหลอจะไปประโคมคุมศพจนกว่าจะถึงวันเผา เจ้าภาพต้องสร้างโรงพิธีตามตำราครูหมอ ส่วนค่าจ้าง (ค่าเปิดปากปี่) แล้วแต่จะตกลงกัน ขึ้นอยู่กับจำนวนวันที่ไปบรรเลงและระยะทางด้วย


ขบวนแห่กาหลอหน้าขบวนศพ

ลักษณะโรงพิธีและเครื่องประดับ
              
            โรงพิธีสร้างในเขตบ้านหรือนอกบ้านก็ได้ หรืห่างจากตัวบ้านประมาณ 9 ศอก ใกล้ที่ตั้งศพ ยกพื้นสูงประมาณ 5 ศอก ยาว 6 ศอก ความยาวต้องตั้งตามแนวทิศตะวันออกไปทิศตะวันตะเสมอ หลังคารูปหน้าจั่ว หันหน้าโรงไปทางทิศตะวันตก
            ส่วนเครื่องประกอบพิธีที่เจ้าภาพต้องเตรียมคือ ข้าว 12 สำรับ ( ที่สิบสอง หมายถึง อาหารคาวและหวาน ผลไม้รวม 12 ชนิด) , ข้าว 1 ถ้วย, แกง 1 ถ้วย, ผ้าคาดเพดาน 1 ผืน, หมอน 1 ใบ, ผ้าขาวสำหรับรองข้าวสิบสอง, หมาก 18 คำ (วางที่ครู 9 คำ ใส่พาน 9 คำ), ดอกไม้ 3 ดอก, เทียน 1 เล่ม, ด้ายริ้ว 1 ริ้ว

        
ที่สิบสองหรือข้าวสิบสอง           ลักษณะโรงและเครื่องประกอบพิธี

ข้อปฏิบัติของผู้เล่นกาหลอ
              
            1. เมื่อมีผู้ป่วยไข้ในบ้านในขณะมีการละเล่นไม่สามารถดูแลได้ ต้องไปเล่นตามที่นัดไว้กับเจ้าภาพ
            2. ภรรยาต้องอยู่กับบ้าน ห้ามใช้เครื่องหอม ทาแป้ง คบชู้ เพราะจะเป็นอันตรายต่อสามี
            3. หากกาหลอพบข้อผิดพลาด จะไม่ทำพิธี ต้องให้เจ้าภาพแก้ไขให้ถูกต้อง หัวหน้าถือปี่นำหน้า ลูกน้องเดินตาม
            4. ห้ามออกจากโรงพิธีจนกว่าเลยเที่ยง
            5. ห้ามบริโภคอาหารนอกจากหมากและบุหรี่ และอาหารจะไม่กินปะปนกับผู้อื่น ห้ามชิมอาหาร
            6. กาหลอจะไม่รับสิ่งของจากมือผู้หญิง จะต้องวางก่อนรับ
 


ลิเกป่า

home


เพลงคำตัก