สรุปการดำเนินงานพัฒนาเมืองน่าอยู่  ชุมชนน่าอยู่

ของเทศบาลตำบลปากแพรก อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

 

1.  ความเป็นมา

การพัฒนาเมืองน่าอยู่ ชุมชนน่าอยู่ ของเทศบาลตำบลปากแพรก ได้เริ่มก่อตัวมาตั้งแต่ปี พ.. 2538 ตามนโยบายจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองทุ่งสง และแนวความคิดในแผนปฏิบัติการท้องถิ่น 21 ทั้ง 3 ด้านคือ ด้านความ น่าอยู่ ด้านความมีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจของเมืองและชุมชน  และด้านความเป็นประชารัฐ ปัจจุบันได้นำมาประยุกต์ใช้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างวัฒนธรรมใหม่ในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือในการรับรู้ข่าวสารของท้องถิ่น ส่งผลให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยพัฒนาทุกด้านไปพร้อม ๆ กัน และทิศทางการพัฒนาจะต้องเกิดจากกระบวนการ ร่วมคิด ร่วมทำ นำไปสู่การตลาดเพื่อความได้เปรียบในการแข่งขันของชาติและประชาชนทุกกลุ่มในชุมชน (ประชาคม) จากส่วนล่างไปยังส่วนบน สู่เป้าหมายที่ต้องการร่วมกันดังนี้

 

ปฏิบัติการท้องถิ่น 21 (Local Action 21)

 

 

Marketing New Model

ในระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ ระบบดิจิตอลเชื่อมโยงคนทั้งโลกได้หลายร้อยล้านคนในวันหนึ่ง ๆ ทำให้การแข่งขันระบบทุนมาก มีโอกาสมาก เริ่มหมดไปแล้ว ในวงเงิน 4 – 5 แสนบาทที่ลงทุนในตลาด E - commerce สามารถแข่งกับศูนย์การค้าใหญ่ ๆ เป็นพันล้านได้ไม่ยากและทำกำไรมากกว่า

 

Capacity Building

การเพิ่มศักยภาพของคนโดยเปลี่ยนวัฒนธรรมในการใช้ปัญญา ใช้ความรู้เข้าต่อสู้กันแทนการต่อสู้ด้วยปัจจัยอื่น เช่น ทุนมาก ๆ ผลิตมาก ๆ ย่อมเสี่ยงมาก คนรู้มาก มีความคิดรอบคอบมาก ย่อมเสี่ยงน้อย คล่องตัวในการผลิตต้องคิดกลับแล้วหาโอกาสทำกำไรให้ได้มากกว่า

 

Sustainable Development

เป็นวาระของโลก World Summit ประชุมกันทุก 10 ปี และประเมินกันทุก 5 ปี เป็นกระแสที่จะต้องใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าต่อการทำลายและสร้างสิ่งแวดล้อมที่สมดุล ไม่มีอินทรีย์สารหรือพืชใดจะมีสีเขียวตลอดกาล ถึงเวลาก็จะเป็นสีน้ำตาล และเน่าเปื่อยผุพัง เป็นกฎธรรมชาติ พลังงานแสงอาทิตย์คือปัจจัยหลักเป็นเหตุให้เขียวและน้ำตาล Green to Brown and Brown to Green คือกระบวนทัศน์ใหม่ ที่นำของเน่าเปื่อยมาเป็นปุ๋ย แล้วทำให้พืชเจริญเติบโตกลับมาเป็นสีเขียวได้ใหม่ การ Recycle คือกระแสใหญ่ การจัดการสารพิษและของเสียให้หมดไป และนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ คือวิธีที่ถูกต้อง  (The right Path) ของธรรมชาติ และมวลมนุษย์ได้ ที่ต้องเพิ่มศักยภาพเพื่อความอยู่รอด The Radically New Manner of Thinking to be Survived

 

2.  ยุทธศาสตร์และแนวทางพัฒนา

เทศบาลตำบลปากแพรก ได้นำแนวความคิดดังกล่าวมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์แนวทางพัฒนาที่ชัดเจนตามแผนปฏิบัติการท้องถิ่น 21 คือ

 

2.1             ด้านความน่าอยู่  มีองค์ประกอบ ดังนี้

 

(1) ด้านคุณภาพชีวิต

เป้าหมาย : ประชาชนมีการศึกษา มีความรู้ และข้อมูลข่าวสารอย่างกว้างขวาง

ยุทธศาสตร์     

    สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับวิถีชีวิตและเศรษฐกิจของชุมชน มีความพอเพียง

     สร้างวัฒนธรรมการศึกษาและค้นคว้าใหม่โดยใช้อินเตอร์เน็ต  E-Learning

    เร่งรัดการดำเนินงานตามนโยบายปฏิรูปการศึกษา การศึกษาพื้นฐาน 12 ปี

แผนปฏิบัติการ

สนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการศึกษา และปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน

จัดตั้งระบบสารสนเทศเทคโนโลยี และเครือข่ายการศึกษาชุมชน ห้องสมุดชุมชน และ E-Classroom

ขยายระดับการศึกษาพื้นฐาน 12 ปี ครอบคลุมทุกพื้นที่

 

โครงการ /กิจกรรม ของเทศบาลตำบลปากแพรก

    วิทยาลัยท้องถิ่นทุ่งสง ได้จัดทำหลักสูตรเป็นไปตามความต้องการของท้องถิ่น ปัจจุบันได้เปิดอบรมในหลักสูตรผู้นำท้องถิ่นไปแล้วจำนวน  3 รุ่น หลักสูตรการทำผ้าบาติก 5 รุ่น และในปี 2546 จะอบรมในหลักสูตรส่งเสริมอาชีพอีก 5 รุ่น

     โครงการ Digital Knowledge Management ดำเนินการศึกษา จัดทำข้อมูลจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาสากล ใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ของประชาชนด้านการศึกษาในระบบโรงเรียน และตามอัธยาศัย และหลักสูตรการศึกษาท้องถิ่น ดังนี้

-        สมุนไพรไทย โดยชมรมแพทย์แผนไทย ทุ่งสง

-        จังหวัดของเรา และอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช

-        วันสำคัญต่าง ๆ และประเพณีท้องถิ่น

ฯลฯ

ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ได้ง่ายและทั่วถึง โดยนำไปเผยแพร่ในระบบอินเตอร์เน็ต www.tungsong.com  และบันทึกลงในแผ่น VCD

       E-Classroom เพื่อให้ความรู้แก่นักเรียนเทศบาลตั้งแต่ชั้นอนุบาล จนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ นักเรียน นักศึกษา  และประชาชนทั่วไป จำนวน 4 ห้องเรียน (ห้องเรียนละ 30 ที่นั่ง) สำหรับโรงเรียนเทศบาลจำนวน 4 โรง เชื่อมโยงอินเตอร์เน็ตจาก IT Garden โดยใช้เทคโนโลยีแบบไร้สาย ช่วยประหยัดงบประมาณค่าบริการอินเตอร์เน็ตรายเดือน และสำหรับนักเรียน นักศึกษา  และประชาชนทั่วไป ณ สวนอินเตอร์เน็ตชุมชน สวนพฤกษาสิรินธร อีก 1 ห้องเรียน( ห้องเรียนละ 10-20 คน)รวมทั้งประโยชน์ในการรองรับนักท่องเที่ยวด้านการสื่อสาร ที่มาเยือนภาคใต้แวะพัก Rest Area ทุ่งสง

     E-Learning Center ศูนย์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษทุ่งสง เพื่อฝึกฝนการใช้ภาษาต่างประเทศ โดยเจ้าของภาษา แก่นักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ,นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป

       IT Garden ปรับปรุงหอสมุดประชาชนเทศบาลตำบลปากแพรก เป็นศูนย์สารสนเทศของท้องถิ่น บริการข้อมูลข่าวสารและสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย จากข้อมูลในรูปแบบสิ่งพิมพ์ และรูปแบบดิจิตอล ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการเฉลี่ยวันละ 420 คน จำนวนหนังสือ 52,000 เล่ม จุดบริการค้นคว้าความรู้จากอินเตอร์เน็ตในเบื้องต้นจำนวน 5 จุด โดยจัดเจ้าหน้าที่สอนถ่ายทอดเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต แก่ผู้มาใช้บริการ สำหรับ นักเรียน เยาวชน ประชาชน ที่ยังไม่มีความรู้และทักษะในการใช้งานอินเตอร์เน็ต  และในปี 2547  เทศบาลได้เสนอขอรับเงินอุดหนุนผ่านกรมผังเมืองจัดทำสวนศึกษาหาความรู้ใต้ร่มไม้ ปรับปรุงภูมิทัศน์เชื่อมกับอาคารหอสมุดเดิม เพื่อเป็นสถานที่เรียนรู้ ร่วมกิจกรรมฝึกทักษะ และนันทนาการ

       โครงการขยายโอกาสทางการศึกษา ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 2 โรงเรียน และจะดำเนินการให้ครบทุก โรงเรียนในปี  ..2548

     โครงการสร้างคนดีมีปัญญา จัดกิจกรรมอบรมและศึกษาดูงานให้ความรู้แก่ครูเรื่องวิธีการและการจัดระบบการสอนแบบบูรณาการโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ โดยเน้นสอดแทรกจริยธรรม ยาเสพติด ฝึกระเบียบวินัย สมาธิ มารยาท ใช้คำสอนในศาสนาทุกศาสนากล่อมเกลา  แก่เยาวชน นักเรียน  ในปี 2546 จำนวน 5 รุ่น ๆละ 100 คน และจัดตั้ง “ศานติ อภิชาต ดีรี  อาศรม“ เป็นสถานที่ปฏิบัติและเรียนรู้ธรรมะแก่ประชาชนทั่วไปและเยาวชน  และขยายผลรูปแบบการเรียนการสอนตามกลยุทธ์สร้างคนดีมีปัญญาไปใช้ในโรงเรียนทุกโรงเรียน

 

เป้าหมาย : มีบริการทางสาธารณสุขที่มีคุณภาพพอเพียง

ยุทธศาสตร์

ปรับปรุงปริการด้านสุขภาพ เน้นการส่งเสริมป้องกันมากกว่าการรักษาพยาบาล

     หลักประกันสุขภาพดีถ้วนหน้า สร้างสุขภาวะและดูแลสุขภาพ (Health Care System)

     ส่งเสริมการพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมและโภชนาการ และการป้องกันสารพิษ

แผนปฏิบัติการ

     รณรงค์ให้ความรู้และส่งเสริมการปฏิบัติตนด้านสุขภาพอนามัยของประชาชน

       จัดตั้งกองทุนประกันสุขภาพรักษาทุกโรคได้เท่าเทียมกัน

     จัดตั้งเครือข่ายวิทยุเพื่อสุขภาพอนามัย และพัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพ

     อินเตอร์เน็ตชุมชน/หมู่บ้าน ใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพิ่มความรู้ในการดูแลและประกันสุขภาพดีถ้วนหน้า

       สร้างและพัฒนาเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขและอาสาสมัครอื่น ครอบคลุมทุกชุมชนในพื้นที่

    ส่งเสริมการดูแลสุขภาพโดยการแพทย์ทางเลือก ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรให้มีคุณภาพได้มาตรองค์การอาหารและยา และส่งเสริมสนับสนุนความรู้ในการตลาด และ E-Commerce

       เฝ้าระวังโรคติดต่อ และโรคไม่ติดต่อ

 

โครงการ /กิจกรรม ของเทศบาลตำบลปากแพรก

     โครงการปั่นจักรยานเพื่อลดพลังงาน ส่งเสริมสุขภาพและรักษาสิ่งแวดล้อม ดำเนินการดังนี้

-      รณรงค์การใช้จักรยานในกิจวัตรประจำวัน เช่นปั่นจักรยานออกกำลังกายไปปลูกต้นไม้ (ปลูกป่าให้เมืองและปลูกป่าต้นน้ำ) ไปตลาด ไปซื้อของ ไปทำงาน ไปธุระ ที่ใกล้ ๆ

-      สร้างแรงจูงใจให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยตั้งงบประมาณของเทศบาลฯ จัดซื้อจักรยาน จำนวน 1,000  คัน ให้แก่หน่วยงาน / ชุมชน ยืมใช้  สามารถจุดประกายให้เยาวชนหันมาสนใจ ซื้อจักรยานมาใช้ในการร่วมกิจกรรม และกิจวัตรประจำวันมากขึ้น

     โครงการลานกีฬาต้านยาเสพติด ก่อสร้างลานกีฬาต้านยาเสพติด แก่ชุมชนทุกชุมชนในเขตเทศบาล พร้อมทั้งอุปกรณ์กีฬา และเจ้าหน้าที่ ดูแลและจัดการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแก่ประชาชน และจัดกิจกรรมแข่งขันกีฬาต้านยาเสพติดตลอดทั้งปี

     จัดให้มี สนับสนุน และพัฒนาสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ ในการออกกำลังกายและพักผ่อนหย่อนใจครอบคลุมพื้นที่ 7.17 ตร.กม. จำนวน 9 จุด  12 ประเภท และสร้างและส่งเสริมสนับสนุนเครือข่าย ชมรมการออกกำลังกายและ กีฬาทุกประเภท อาทิ โยคะ ไทเก็ก และไม้พลอง แอโรบิค แบดมินตัน บาสเก็ตบอล ฟุตบอล มวย จักรยาน
เปตอง ฯลฯ และเทศบาลมีแผนที่จะก่อสร้างศูนย์ส่งเสริมสุขภาพครบวงจร ในปี 2547 โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล เพิ่มเติมเพื่อรองรับจำนวนประชาชนที่ต้องการออกกำลังการเพิ่มขึ้นมาก

     โครงการอุดหนุนชุมชนในกิจกรรมป้องกันและต้านยาเสพติด โดยชุมชนเป็นผู้คิดเอง ทำเอง เทศบาลเป็นเพียงผู้ให้การสนับสนุน จำนวน 17 ชุมชน ปี 2546 อุดหนุนชุมชนละ 10,000 บาท ซึ่งไม่เพียงพอกับแผนงานของชุมชนที่เสนอมา เฉลี่ยชุมชนละ 30,000 –50,000 บาท/ปี

     โครงการ Family Health care  ออกสำรวจประวัติครอบครัวและเยี่ยมครัวเรือน ส่งเสริมแนะนำให้ความรู้ ให้คำปรึกษา แนะนำการดูแลสุขภาพเพื่อให้สุขภาพแข็งแรงด้วยตนเอง ป้องกันการเกิดโรค ตลอดจนส่งเสริมการปฏิบัติกิจวัตรตนเองให้มีสุขภาพแข็งแรง ปลอดภัยจากโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ  อันเป็นการสร้างกระบวนการประหยัดการซ่อมแซมสุขภาพ(รักษา) มาเป็นการสร้างเสริมสุขภาพไม่ให้เกิดการเจ็บป่วย

     จัดทำเวปเพจให้ความรู้เรื่องสมุนไพรรักษาโรคและบำรุงสุขภาพและเชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อบริการแก่ประชาชนให้เข้าค้นข้อมูลได้ง่าย สะดวกขึ้น เพื่อให้การใช้ภูมิปัญญาไทยแพร่หลาย และประหยัดงบประมาณ  ส่งเสริมใช้ยาสมุนไพรในครัวเรือนเป็นยาสามัญประจำบ้าน และส่งเสริมการรวมกลุ่ม การปลูก และผลิตแปรรูปพืชสมุนไพรเพื่อจำหน่าย

     โครงการจัดตั้งกองทุนประกันสุขภาพพลเมืองท้องถิ่น ดำเนินการวิจัย และเตรียมการจัดตั้งกองทุนประกันสุขภาพพลเมืองท้องถิ่น โดยตั้งงบประมาณดำเนินการเริ่มแรกในปี 2545  โดยมีพหุภาคี บริหารจัดการกองทุน เพื่อสนับสนุนโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคของรัฐบาล  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งต่อผู้ป่วย  การประกันและดูแลคุ้มครองผู้รับบริการสาธารณสุข  การบริการส่งเสริมสุขภาพพลเมือง กองทุนประกันสุขภาพพลเมืองท้องถิ่น จะทำหน้าที่เสริมโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค

     ส่งเสริมสุขภาพ โดย

-              เชื่อมโยงกิจกรรมโครงการธนาคารมูลฝอย กับการส่งเสริมสุขภาพ .ในเป้าหมายการตลาด เพื่อรู้จักและจัดการสารพิษ  โดยให้เครดิตแก่เด็กและเยาวชนที่ต้องการอุปกรณ์กีฬาต่างๆ  เช่น ลูกฟุตบอล จักรยานออกกำลังกาย ไปใช้ก่อน แล้วให้นำขยะมูลฝอยมาฝากธนาคารมูลฝอยเพื่อสะสมคะแนนให้ครบตามมูลค่าคะแนนของสิ่งของที่รับเครดิตไป และเพิ่มคะแนนพิเศษสำหรับการรู้จักเก็บสารพิษ

       เชื่อมโยงกิจกรรมปลูกป่าให้เมืองและปลูกป่าต้นน้ำ โดยปั่นจักรยานเพื่อสุขภาพไปปลูกป่า

       จัดกิจกรรมออกกำลังกายแอโรบิคแก่พนักงานและลูกจ้างของเทศบาล สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ๆ 20-30 นาที

     จัดกิจกรรมปั่นจักรยานเพื่อสุขภาพและลดพลังงาน แก่พนักงาน ลูกจ้าง นักเรียน ครู ทุกวันจันทร์-ศุกร์ ครั้งละ 46 คน

       ร่วมมือกับชมรม/มูลนิธิประสานงานโดยเครือข่ายวิทยุเพื่อสุขภาพอนามัย ในการให้บริการส่งต่อผู้ป่วย และการช่วยเหลืออุบัติเหตุฉุกเฉิน โดยมีเจ้าหน้าที่บริการ 24 ชม.ไม่เว้นวันหยุดราชการ

     ให้บริการรักษาโรคเบื้องต้น จำนวน 1 จุด ณ ชั้น 1 ศูนย์บริการสาธารณสุข ฯ ทุกวันในเวลาราชการ และบริการรักษาโรคและส่งเสริมสุขภาพเคลื่อนที่ ร่วมกับโรงพยาบาลทุ่งสง ครอบคลุมพื้นที่เขตเทศบาล 7.17 ตร.กม.

     สร้างเครือข่ายการดูแลสุขภาพเบื้องต้นในชุมชน โดยอาสาสมัครสาธารณสุข ณ ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน

เน้นส่งเสริมสุขภาพ เพื่อป้องกันการซ่อมแซมสุขภาพ โดย ดำเนินการ ดังนี้

     อินเตอร์เน็ตชุมชน/หมู่บ้าน วางแผนเพื่อดำเนินการ ใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพิ่มความรู้ในการดูแลและประกันสุขภาพดีถ้วนหน้า

       ตั้งงบประมาณให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร และให้คำแนะนำ/ตรวจสอบ แก่ผู้ประกอบการร้านอาหาร

     บริการนมถั่วเหลืองฟรีแก่เด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาสในชุมชนและนักเรียนในโรงเรียนเทศบาล.

     ให้ความรู้ด้านโภชนาการเพื่อส่งเสริมสุขภาพแก่ประชาชนทั่วไป และเด็กนักเรียน

     ส่งเสริมการออกกำลังกาย โดยจัดให้มีสนามกีฬาในทุกชุมชนอย่างเพียงพอ อย่างน้อย 8 จุด ตลอดจนมีสนามกีฬากลาง ตลอดจนศูนย์ส่งเสริมสุขภาพครบวงจร ขณะนี้อยู่ระหว่างขอรับอนุมัติเงินอุดหนุน เพื่อจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมสุขภาพครบวงจร  ณ บริเวณบ้านนาเหนือ เพื่อบริการส่งเสริมและมีสถานที่ให้บริการออกกำลังกายอย่างครบวงจรตามความต้องการของประชาชนที่เรียกร้องให้ดำเนินการ ทั้งนี้เพื่อเป้าหมายป้องกันไม่ให้เกิดโรคดีกว่าการแก้ไขโดยการรักษาโรค  ซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายในการซ่อม(รักษา)สุขภาพหลายเท่า ลดการสูญเสียดุลการค้าที่ต้องสั่งยาจากต่างประเทศ

        บริการตรวจสอบสารเคมีและสารพิษ ในอาหารสด ได้แก่ พืช ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ในตลาดสดในเขตเทศบาล และให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง และติดตามผลทุกเดือน พร้อมทั้งมีมาตรการสำหรับผู้ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับ

       อบรมอาสาสมัครสาธารณสุขเพิ่มขึ้นจำนวนให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ และมอบหมายครอบครัวที่จะให้ข่าวสาร และการช่วยเหลือในปริมาณที่พอเหมาะ คือ 1 : 20

เป้าหมาย : มีการจัดการทางกายภาพของเมืองเป็นระเบียบสวยงาม

ยุทธศาสตร์

       กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเป็นระบบ ชัดเจน และวางแผนการขยายเมืองอย่างชาญฉลาด (Smart Growth)

    จัดตั้งองค์กรและกลไกการแปลงผังไปสู่การปฏิบัติ

       ปรับปรุงภูมิทัศน์ และส่งเสริมสนับสนุนประชาชนให้มีส่วนร่วมในการสร้างภูมิสภาปัตย์ของเมืองทุ่งสง

แผนปฏิบัติการ

    จัดเขตการใช้ที่ดินเป็นที่พักอาศัย พานิชยกรรม อุตสาหกรรม เกษตรกรรม ที่โล่งและนันทนาการให้ ชัดเจนและ เหมาะสม

    เร่งรัดจัดตั้งองค์กรพัฒนาเมืองตามที่กฎหมายกำหนด

    ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจด้านผังเมืองและภูมิทัศน์แก่ประชาชน

 

โครงการ /กิจกรรม ของเทศบาลตำบลปากแพรก

       จัดประชุมประชาคมทุกเดือน โดยเชิญหน่วยงานรับผิดชอบผังเมืองมาทำความเข้าใจเป็นครั้งคราว

    พัฒนาบุคลากรด้านผังเมืองของเมืองทุ่งสง

    ประชาสัมพันธ์ ประชาพิจารณ์ในการจัดทำผังเมืองทุ่งสง

    ออกแบบบ้านทรงไทยทักษิณภาคใต้ไว้บริการประชาชน  ปรับปรุงภูมิทัศน์สองข้างลำคลองทั้ง 4 สาย ปรับปรุงภูมิทัศน์ปลูกไม้ยืนต้น ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้เลื้อยและไม้หอม เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตเมือง 40 % สีเขียว

เป้าหมาย : มีการจัดบริการโครงสร้างพื้นฐานให้มีคุณภาพ พอเพียง

ยุทธศาสตร์

       จัดระบบโครงสร้างพื้นฐานให้เพียงพอและสอดคล้องกับทิศทางพัฒนาในผังเมือง

       จัดระบบการจราจรขนส่งที่สะดวก ปลอดภัย ประหยัด รองรับการพัฒนาเมืองศูนย์กลางการคมนาคม การค้า และรองรับการพัฒนาเป็นเมืองท่องเทียว โดยจัดทำแผนแม่บทการจราจรของเมือง ที่มีเครือข่ายเชื่อมโยงกันทั้งหมด

แผนปฏิบัติการ

    ปรับกระบวนการพิจารณางบประมาณโดยใช้ผังเมืองเป็นกรอบ

       จัดสัมมนา อบรม บุคลากรหน่วยงานของรัฐด้านโครงสร้างพื้นฐานกับทิศทางการพัฒนาในผังเมือง

    จัดระบบขนส่งสาธารณะให้เป็นระบบหลักของของการคมนาคม

    จัดระบบเชื่อมโยงการขนส่งสาธารณะให้เข้าถึงที่พักอาศัย

 

โครงการ /กิจกรรม ของเทศบาลตำบลปากแพรก

    โครงการจัดระบบขนส่งภาคพื้นอันดามัน เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมทางขนส่งของเมืองทุ่งส่งซึ่งเป็นศูนย์กลางการขนส่งของภาคใต้เชื่อมฝั่งตะวันตกและตะวันออกให้ห้พัฒนาทั้งทางรถไฟ รถยนต์ ให้สะดวก เชื่อมโยงกันมากยิ่งขึ้น  อยู่ระหว่างการรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล

       ก่อสร้างสถานีขนส่ง 1 แห่งรองรับการจราจรแออัดในเมือง และสถานีเปลี่ยนถ่ายรถ จากรถขนส่งขนาดใหญ่ มาเป็นระบบรถไฟฟ้าเข้าเมือง และเชื่อมทางรถไฟ

       โครงการจัดระบบโครงข่ายการจราจรและขนส่งสาธารณะเชื่อมต่อเมืองกับสถานีขนส่ง โดยก่อสร้างถนน by pass  และจัดระบบการจราจรภายในเมือง

       โครงการก่อสร้างถนนลาดยางถึงบ้านทุกครัวเรือน  จัดบริการประปา/ไฟฟ้าที่ตกค้างเหลืออยู่ส่วนน้อยให้ถึงทุกครัวเรือน

เป้าหมาย : มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

ยุทธศาสตร์

       ส่งเสริมให้มีอาสาสมัครรักษาความปลอดภัยท้องถิ่น

    พัฒนาระบบเตือนภัย&การเตรียมพร้อมของบรรเทาสาธารณภัย

แผนปฏิบัติการ

       จัดทำแผนเตรียมพร้อมและฝึกปฏิบัติเพื่อบรรเทาสาธารณภัย

       ส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นบรรเทาสาธารณภัยได้

 

โครงการ /กิจกรรม ของเทศบาลตำบลปากแพรก

    จัดทำแผนเตรียมพร้อมและฝึกปฏิบัติเพื่อบรรเทาสาธารณภัย การป้องกันและช่วยเหลือน้ำท่วม ภัยแล้ง และไฟไหม้

    อบรมทบทวนอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนและเจ้าหน้าที่มูลนิธิ หน่วยกู้ภัย ป้องกันสาธารณภัยและต้านยาเสพติด

    ศึกษาออกแบบและก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วม ขุดลอกคูคลองและขจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม

    ใช้ระบบเผยแพร่ข่าวสารเตือนภัยด้วยเสียงและภาพโดยเคเบิลทีวี และเสียงตามสาย

    จัดอบรมการป้องกันอัคคีภัยและต้านยาเสพติดแก่ชุมชน ทุกปี มีเป้าหมายครั้งละ 30 คน ต่อ 1 ชุมชน

    จัดความเป็นระเบียบเรียบร้อยของท้องถิ่นโดยแปรรูปสู่ภาคเอกชนดำเนินการ

    หน่วยบริการประชาชนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุและผู้ป่วยแปรรูปสู่ภาคเอกชนดำเนินการ

 

(2) ด้านวิถีชีวิต

เป้าหมาย :ระบบนิเวศเมืองที่ดี

ยุทธศาสตร์  

    จัดระบบกลไกการจัดการสิ่งแวดล้อมเมือง

    รณรงค์ปลูกจิตสำนึกของประชาชนในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม

แผนปฏิบัติการ

    จัดตั้งองค์กรการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

       สร้างแรงจูงใจในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองของผู้ประกอบการ&ชุมชน

       สนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสิ่งแวดล้อม เช่นการตรวจสอบคุณภาพแหล่งน้ำ

       จัดตั้งเครือข่ายรักษาสิ่งแวดล้อม

 

โครงการ /กิจกรรม ของเทศบาลตำบลปากแพรก

    โครงการกลุ่มเพื่อนรักษ์ต้นไม้(Friend of Trees) สนับสนุนเครือข่ายกลุ่มเพื่อนรักษ์ต้นไม้ ให้ขยายเครือข่ายและจัดกิจกรรมเชื่อมโยงกับกิจกรรมปั่นจักรยานเพื่อสุขภาพและลดพลังงาน โดยนำกลุ่มปั่นจักรยานมาร่วมกับกลุ่มรักษ์ตันไม้ จัดกิจกรรม”ปั่นจักรยานปลูกป่าให้เมืองและปลูกป่าต้นน้ำ” ตลอดทั้งปี และต่อเนื่อง ขณะนี้กลุ่มเพื่อนรักษ์ต้นไม้ มีสมาชิกขยายเครือข่าย จำนวน 4,200 คน อีกทั้งยังมีเครือข่ายชุมชนจากโครงการธนาคารมูลฝอย ซึ่งได้รับจักรยานจากการฝากมูลฝอยเข้าร่วมกิจกรรมเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันด้วย

    โครงการวิจัยและเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเพื่อธุรกิจชุมชนและสิ่งแวดล้อม   ดำเนินการวิจัยและเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชหายากและพืชเศรษฐกิจ ไม้ดอกไม้ประดับ สมุนไพร เพื่อปลูกคืนสู่ป่า 50 % และจำหน่ายเป็นธุรกิจชุมชนและส่งออก 50% ตลอดจนจัดอบรมกลุ่มเป้าหมาย คือคนในท้องถิ่นให้มีความรู้ความสามารถในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช การดูแลบำรุงรักษากล้าหรือต้นอ่อน ให้มีคุณภาพ โดยอบรมปีละ 17 รุ่น ๆ ละ 40 คน ขณะนี้อยู่ในระหว่างการขอรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล มาแล้ว ปี 2547 นำเข้าสู่ E-Commerce

    พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการเก็บกวาดขยะ และเก็บขนขยะมูลฝอยโดยเอกชนมีส่วนร่วม

    โครงการเครือข่ายธนาคารมูลฝอย (Garbage Bank) สร้างจิตสาธารณะ สร้างวัฒนธรรมใหม่ในการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดการของเสียที่มีพิษ และการแปรรูปกลับมาใช้ใหม่ โดยกระบวนการธนาคารมูลฝอย (Garbage Bank) ใช้กลยุทธ์ทางธุรกิจ จูงใจให้เกิดจิตสาธารณะ สร้างวัฒนธรรมใหม่แก่เด็ก เยาวชน และประชาชน โดยการรับฝากมูลฝอยซึ่งแยกจากครัวเรือน ขุมชน สถานศึกษา หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชนนำมาฝากธนาคารมูลฝอย เพื่อสะสมแต้มครบตามที่คณะกรรมการฯกำหนด แล้วเบิกถอนเป็นสิ่งของตามที่ผู้ฝากต้องการโดยแสดงความจำนงว่าจะถอนเป็นสิ่งของใด  โดยธนาคารมูลฝอย ได้จัดสิ่งของอุปโภคบริโภคจำเป็นประจำวัน เช่น ข้าวสาร อาหารแห้ง น้ำปลา น้ำตาล ฯลฯ อุปกรณ์ส่งเสริมสุขภาพ เช่น อุปกรณ์กีฬา จักรยาน เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งขยะมูลฝอยที่เป็นพิษ สร้างแรงจูงในในขั้นแรกเพื่อสร้างจิตสำนึกและพัฒนาไปสู่วัฒนธรรมในอนาคต โดยการให้คะแนนเป็น 2 เท่า แก่เด็กเยาวชนที่แยกขยะพิษมาฝากธนาคารมูลฝอย โดยเทศบาลนำขยะพิษมาผ่านกระบวนการในโรงงานกำจัดขยะอนินทรีย์ห่อหุ้มด้วยยางพารา ก่อนนำไปกำจัดที่ถูกหลักสุขาภิบาลขณะนี้ได้มีสาขาธนาคารมูลฝอยเกิดขึ้นแล้ว จำนวน 135 สาขา  ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมร่วมกันของประชาชนชน  ทั้งนี้ ยังผลให้สามารถเพิ่มมูลค่าของมูลฝอย เช่น

1.  นำกระดาษมาแปรรูป ดังนี้

-               ผลิตกระถางเพาะพันธุ์ไม้ ปลูกป่าให้เมือง ปลูกป่าต้นน้ำ แทนการใช้ถุงพลาสติกซึ่งเป็นสิ่งตกค้างย่อยสลายยาก ทีเหลือ จำหน่ายให้ประชาชนทั่วไปนำไปใช้ในการเพาะพันธุ์ต้นไม้ ใบละ 5 บาท อัตรากำลังการผลิตทั้งสิ้น 500 ใบ / เดือน ต่อไปนำมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ (Packing)

-               ผลิตเป็นกระดาษแปรรูป เช่น ซองใส่เอกสาร/ซองจดหมาย ผลิตปกหนังสือ กระดาษห่อของขวัญ กล่องบรรจุภัณฑ์ ใช้เองในเทศบาลเพ่อประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อ และกำลังขยายตลาดสู่หน่วยงานราชการใน อ.ทุ่งสง  ในจังหวัดนครศรีฯ และอยู่ระหว่างการพัฒนาคุณภาพเพื่อจำหน่ายทั่วไป

2.  ผลิตปุ๋ยจากมูลฝอย ดังนี้

-               นำมูลฝอยสด ผัก เปลือกผลไม้และเศษอาหาร หมักเป็นปุ๋ย ชีวภาพ 2 ชนิด คือ

     ชนิดน้ำ  อัตรากำลังการผลิต 1,000 ลิตร/เดือน  ต้นทุนการผลิตลิตรละ 5 บาท จำหน่ายราคา  ลิตรละ 10 บาท

   ชนิดผง  อัตรากำลังการผลิต 4,000 กก./เดือน ต้นทุนการผลิตกก.ละ 2.50 บาท จำหน่ายราคากิโลกรัมละ 4 บาท เพื่อจำหน่ายแก่เกษตรกรและผู้เลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับในท้องที่อำเภอทุ่งสงและอำเภอใกล้เคียง มีแผนจะขยายตลาดสู่ต่างจังหวัดในปี 2547

-               นำสิ่งปฏิกูล มาหมักผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ 2 ขนิด คือ

   ชนิดผง อัตรากำลังการผลิต 5,000กก./เดือน ต้นทุนการผลิตกก.ละ 3 บาท จำหน่ายกิโลกรัมละ 4 บาทและ

   ชนิดเม็ด อัตรากำลังการผลิต 4,000กก/เดือน  ต้นทุนการผลิต กก.ละ 4 บาท กิโลกรัมละ 6 บาท และใช้กับต้นไม้ของสวนหย่อมและสวนสาธารณะของเทศบาล ตลอดจนต้นไม้ทีปลูกตามโครงการกลุ่มเพื่อนรักษ์ต้นไม้และใช้กับต้นไม้ของสวนหย่อมและสวนสาธารณะของเทศบาล ตลอดจนต้นไม้ทีปลูกตามโครงการกลุ่มเพื่อนรักษ์ต้นไม้

3. นำพลาสติกมารีไซเคิล โดยนำถุงพลาสติกมารีโดยกระบวนการซักล้างด้วยเครื่องจักร อัตราการผลิต 400 กก./เดือน ต้นทุนการผลิต กก.ละ 5 บาท จำหน่าย กก.ละ 12 บาท โดยจำหน่ายให้แก่โรงงานผลิตเม็ดพลาสติก ส่วน พลาสติกชนิดอื่นๆส่งจำหน่ายร้านรับซื้อวัสดุใช้แล้ว ยอดจำหน่ายเฉลี่ยเดือนละ 8,062.67 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 14,791.43 บาทและมีแผนดำเนินการจัดตั้งโรงงานแปรรูปพลาสติก 1 โรงงานในปี 2547 ขณะอยู่ระหว่างการเสนอขอรับงบประมาณอุดหนุนจากรัฐบาล ซึ่งจะมีรายได้จากการจำหน่ายพลาสติกแปรรูป 100,000.บาท/เดือน 

4. ขวดแก้ว ในขณะนี้รวบรวมและส่งจำหน่ายร้านรับซื้อวัสดุใช้แล้ว ยอดจำหน่ายเดือนละ87,850.81.กก/เดือน เป็นเงิน55,450.49 บาท/เดือน และมีแผนดำเนินการจัดตั้งโรงงานแปรรูปขวด/แก้ว 1 โรงงานในปี 2547 ขณะอยู่ระหว่างการเสนอขอรับงบประมาณอุดหนุนจากรัฐบาล ซึ่งจะมีรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากแก้ว 200,000.บาท/เดือน 

5. โลหะ ในขณะนี้รวบรวมและส่งจำหน่ายร้านรับซื้อวัสดุใช้แล้ว ยอดจำหน่ายเฉลี่ยเดือนละ7,708.52.กก/เดือน เป็นเงิน 12,609.50.บาท/เดือน  และมีแผนดำเนินการจัดตั้งโรงงานอัดโลหะรีไซเคิล  1 โรงงานในปี 2547 ขณะอยู่ระหว่างการเสนอขอรับงบประมาณอุดหนุนจากรัฐบาล คาดว่าจะมีรายได้ 50,000 บาท/เดือน

6. ผลพลอยได้จากโรงงานกำจัดขยะอนินทรีย์ห่อหุ้มด้วยยางพารา นำเครื่องจักรที่ใช้ในการห่อหุ้มขยะพิษ มาแปรรูปผลิตภัณฑ์จากยางพารา เพื่อใช้เองและจำหน่าย  ขณะนี้ได้ผลิต ดังนี้

-               ถุงยางพาราเพื่อใช้รองรับขยะมูลฝอยชนิดต่าง ๆ แทนถังขยะ  โดยผลิตแยกเป็น 3 สี คือ สีแดง ใช้บรรจุมูลฝอยสารพิษ สีเหลืองใช้บรรจุมูลฝอยรีไซเคิล สีเขียว ใช้บรรจุอินทรีย์สาร  อัตรากำลังการผลิต 1,000/เดือน  ต้นทุนใบละ 60 บาท ราราคาจำหน่ายตั้งไว้ใบละ 100 บาท ขณะนี้ผลิตเพื่อเทศบาลใช้เองอยู่ และมีแผนจะจำหน่ายแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วไป ในปี 2547

-               ผลิตฟองน้ำจากยางพาราเพื่อทำที่นอน/นั่งปิคนิค ขณะนี้เริ่มต้นผลิตขนาด ขนาดแผ่นละ 40x80 ซม. หนา 1 นิ้ว ผลิตได้วันละ 6 แผ่น  ราคาต้นทุนแผ่นละ 45บาท ในปี 2547 จะผลิตขนาดใหญ่และมีความหนาเพิ่มขึ้น และพัฒนาคุณภาพเพื่อใช้ในการเข้าค่ายนักเรียน/เยาวชน และจัดจำหน่ายทั่วไป

-               ผลิตแผ่นพื้นปูสนามกีฬา  สนามเทนนิส สนามบาสเก็ตบอล แบดมินตัน ตะกร้อ ด้วยยางพารา เพื่อใช้กับสนามลานกีฬาต้านยาเสพติดของเทศบาล ในปี 2547 และจำหน่ายแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ในปี 2548 และจำหน่ายแก่ภาคเอกชนในปี 2549

    จัดตั้งเครือข่ายกลุ่มเพื่อนรักษ์ต้นไม้(Friend Of Trees) ปัจจุบันมีสมาชิกเครือข่าย 4,200 คน ร่วมกันปลูกต้นไม้ และดูแลรักษาต้นไม้ทีปลูก ที่ต้นไม้ตามธรรมชาติ โดยมีสมุดบันทึกการเจริญเติบโตของต้นไม้  และบันทึกข้อมูลในทะเบียนกลุ่มเครือข่ายเพื่อนรักษ์ต้นไม้ในwww.tungsong.com เทศบาลร่วมกับกลุ่มเพื่อนรักษ์ต้นไม้จัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ตลอดปี  ขณะนี้มีโครงการจะจัดประกวดสมาชิกที่ปลูกต้นไม้และดูแลรักษาต้นไม้ได้จำนวนมากและเจริญเติบโตดี เพื่อสร้างแรงจูงใจและกำลังใจ อันเป็นการสร้างจิตสาธารณะและวัฒนธรรมใหม่ในการการจัดการสิ่งแวดล้อมในระยะยาวต่อไป

    โครงการเลี้ยงนกโดยไม่ต้องใช้กรง โดยดำเนินการเชื่อมโยงกับกลุ่มเพื่อนรักษ์ต้นไม้ และประชาชนทั่วไปร่วมกันปลูกป่าในเมือง ป่าต้นน้ำ โดยปลูกต้นไม้ผลพื้นเมือง เช่นต้นหว้า ต้นกำซำ ต้นตะขบ เพื่อใช้ผลเป็นอาหารให้นก เกิดวงจรอาหาร และขยายพันธุ์ได้ตามธรรมชาติ

       ปลูกลีลาวดี ซึ่งเป็นพืชใบหนา เป็นป่าให้เมืองเพื่อดูดซับมลพิษ ควันพิษในอากาศให้กับเมือง และนำยางไปผลิตเป็นยารักษาโรคผิวหนัง

       เตรียมการผลิตแก๊สจากมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลเพื่อจัดการสิ่งแวดล้อมครบวงจร และทดแทนการใช้พลังงานจากทรัพยากรธรรมชาติ

       โครงการณรงค์รักษาสภาพภูมิอากาศเพื่อเมืองน่าอยู่ รณรงค์ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร่วมกับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และECLEi

       โครงการผลิตพลังงานจากขยะมูลฝอยและชีวมวล(waste and Biomass to Energy) เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าใช้เองในท้องถิ่นและจำหน่ายแก่การไฟฟ้าฯ โดยใช้เทคโนโลีเตาหลอมพลาสมา และผลพลอยได้เป็นพลังงานชนิดอื่นเพื่อใช้เองและจำหน่าย ได้ตะกรัน(Slag) ใช้เป็นวัสดุก่อสร้างทดแทนการใช้วัสดุก่อสร้าง ลดการทำลายสิ่งแวดล้อม และลดรายจ่ายเพิ่มรายได้แก่ประชาชนในท้องถิ่น

 

เป้าหมาย : ส่งเสริมสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน

ยุทธศาสตร์

       สนับสนุนคุ้มครองสิทธิของประชาชน

แผนปฏิบัติการ

    ให้ความรู้แก่ประชาชนเรื่องสิทธิและการคุ้มครองสิทธิ์ของตน

    ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมคุ้มครองดูแลสิทธิของประชาชนในพื้นที่

 

โครงการ /กิจกรรม ของเทศบาลตำบลปากแพรก

       จัดตั้งหน่วยงานใหม่รองรับภารกิจคุ้มครองสิทธิของประชาชน เพื่อดำเนินการให้ความรู้ด้านสิทธิของตนแก่ประชาชน และช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน คือกองคุ้มครองผู้บริโภคและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน

       โครงการวิจัยและพัฒนาเครือข่ายชุมชน

เป้าหมาย : มีมรดกทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมที่ประชาชนภาคภูมิใจ

ยุทธศาสตร์

       สนับสนุนให้มีการฟื้นฟูและอนุรักษ์มรดกทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม

แผนปฏิบัติการ

       ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และจัดกิจกรรมการอนุรักษ์มรดกทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม

 

โครงการ /กิจกรรม ของเทศบาลตำบลปากแพรก

    โครงการจัดงานประเพณีต่าง ๆ ทั้งประเพณีของไทย และท้องถิ่น

    จัดทำเวปไซด์ด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นทุ่งสง รวบรวมภาพประวัติศาสตร์ และข้อมูลท้องถิ่นต่าง ๆ ของจังหวัดนครศรีธรรมราช

    จัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมและพิพิธภัณฑ์ ของท้องถิ่น ณ สวนพฤกษาสิรินธร เพื่อเป็นมรดกทางวัฒนธรรม

 

2.2       ด้านความมีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจของเมืองและชุมชน มีองค์ประกอบ ดังนี้

(1)  ระบบเศรษฐกิจชุมชน

 

เป้าหมาย : ระบบเศรษฐกิจชุมชนมีความเข้มแข็ง ดำรงความสมดุลตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ยุทธศาสตร์

    เร่งขยายงานพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง ให้พัฒนาอย่างเป็นระบบ และกระจายตัวทั่วทุกพื้นที่

    สร้างระบบคุ้มกันราคาให้มีเสถียรภาพแต่ไม่สูงจนเกินไป

    สร้างระบบเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ (NEW MODEL ECONOMY)

แผนปฏิบัติการ

    ขยายงานพัฒนาการเกษตรผสมผสานตามแนวทฤษฎีใหม่

    จัดตั้งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านเกษตรไปจนถึงอุตสาหกรรมเกษตรครบวงจร

    พัฒนาเครือข่ายองค์กรชุมชน และกลุ่มอาชีพในท้องถิ่น

    พัฒนากลุ่มอาชีพและสร้างประชาสังคมกลุ่มอาชีพพัฒนาตามความต้องการของตลาด

    สร้างกลไกในการบริการด้านการเงิน การจัดการ และเทคโนโลยีในการผลิตจากองค์กรการพัฒนาในพื้นที่

    จัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาหัตถกรรมท้องถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่น มุ่งสู่ความพอเพียงในท้องถิ่น

    สร้างแนวคิดการนำทรัพยากรธรรม ชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่น มาจัดการให้เป็นธุรกิจชุมชนภายในความสมดุลย์ของสิ่งแวดล้อม พัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development)

    ปฏิรูปและขยายโครงข่ายงานระบบ สหกรณ์ให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผล

    ขยายโครงข่ายร้านค้าชุมชนให้ทั่วถึง โดยมีผลตอบแทนต่อชุมชนถิ่นฐานเดิม

    สนับสนุนการพัฒนากลุ่มออมทรัพย์และจัดหาทุนหมุนเวียนในชุมชนอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง

    จัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาอย่างยั่งยืน เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช และเพาะพันธุ์สัตว์ที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ นำกลับสู่ธรรมชาติ เป็นธุรกิจชุมชนอย่างสมดุล

 

โครงการ /กิจกรรม ของเทศบาลตำบลปากแพรก

    โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่  ตั้งงบประมาณเริ่มโครงการปี 2545 ร่วมดำเนินการกับกองทัพภาคที่ 4(ค่ายเทพกษัตรีศรีสุนทร) และอบต.ควนกรด  ใช้สถานที่ บริเวณบ้านหนองพุก ตำบลควนกรด เป็นสถานที่ดำเนินการจัดทำแปลงสาธิต ทั้ง 3 ขั้นตอน

    โครงการฝึกอบรมกลุ่มอาชีพแปรรูปยางพารา  ดำเนินการอบรมฝึกอาชีพแปรรูปยางพาราไปแล้ว 2 รุ่น 83 คน  ขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาคุณภาพผลผลิต(Product)และจัดการตลาด(Marketing  Management) ทั้งระบบขายตรง ระบบตัวแทนและE commerce และมีโครงการอบรมเพิ่มเติมในปี 2546

    โครงการศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน

    แนวคิดการนำพืชหายาก พืชสมุนไพร มาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อคืนสู่ป่าเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพให้คงอยู่และส่วนที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งจำหน่ายเป็นธุรกิจชุมชน

    เทศบาลอุดหนุนชุมชนเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปยางพารา

    จัดตั้งศูนย์แสดงและจำหน่ายสินค้า ผลผลิตของชุมชน  ณ ตลาดสดเทศบาลชั้น 3 (4,000 ตารางเมตร) และ สวนพฤกษาสิรินธร (2 ไร่) และสนามหน้าอำเภอ (4 ไร่)

    ให้การสนับสนุนอุปกรณ์ ประสานงาน ให้ความช่วยเหลือในการจัดการ ธนาคารชุมชน และกองทุนชุมชนเมือง(ชุมชนละ 1 ล้านบาท)

       โครงการจ้างผู้เชี่ยวชาญวิจัยและอบรมเชิงปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช  ดำเนินการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช คัดแยกพันธ์กล้วยไม้ที่ผสมพันธ์ใหม่เพื่อการส่งออกยังประเทศฮอลแลนด์ ญี่ปุ่น ไต้หวัน

 

(2)  ระบบเศรษฐกิจที่มีการแข่งขัน

 

เป้าหมาย : ระบบเศรษฐกิจมีความหลากหลาย ประสิทธิภาพการผลิตสูง เกิดนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง มีสมรรถนะในการแข่งขันและสนับสนุนการจ้างงานอย่างกว้างขวาง (COMPETITIVE ADVANTAGE)

ยุทธศาสตร์

    ส่งเสริมและพัฒนาผลิตภาพของภาคอุตสาหกรรมธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม SMEs และการประกอบอาชีพอิสระรายย่อย โดยเฉพาะผลิตผลทางเกษตร

    พัฒนาระบบให้ความช่วยเหลือเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการท้องถิ่นและบ่มเพาะเสริมสร้างบุคลากรผู้ประกอบการของท้องถิ่น (Capacity Building)

    ขยายเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบการสาขาต่าง ๆ และระหว่างองค์กร ให้สนับสนุนแก่ผู้ประกอบการในและนอกพื้นที่ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในกระบวนการเรียนรู้  ในการร่วมรับประโยชน์และความเสี่ยง ทั้งสนับสนุนด้านการผลิต การตลาด การเงิน การบริหารจัดการ และด้านเทคนิควิชาการทั่วทั้ง 4 ภาค

    พัฒนาคุณภาพทรัพยากรมนุษย์และแรงงานฝีมือ โดยเฉพาะในการสร้างแรงดึงดูดและความพึงพอใจของตลาดการท่องเที่ยว

    เร่งพัฒนาระบบบริหารอำนวยการ การขนส่ง ส่งกำลังบำรุงเพื่อสนับสนุนการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม การค้า และการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น(logistic system)

    สนับสนุนการบริหารธุรกิจและอุตสาหกรรมให้ได้มาตรฐานสากล

แผนปฏิบัติการ       

    จัดตั้งสถาบันพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นระดับจังหวัด

    ปรับปรุงกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ เทศบัญญัติ ให้เอื้อและส่งเสริมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น และสอดคล้องกับเงื่อนไขขององค์กรการค้าโลก

    จัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนา SMEs ของท้องถิ่น

    จัดทำแผนแม่บทและกลยุทธการพัฒนา SMEs

    ปรับปรุงกลไก และบริการของกรอ.จังหวัด ในการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

    จัดตั้งศูนย์เทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาสมรรถนะของผู้ประกอบการท้องถิ่น

    พัฒนาระบบการเงินเพื่อสนับสนุนการพัฒนา SMEs และธุรกิจเพื่อสามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วทันกาล

    จัดตั้งหน่วยบริการให้ความช่วยเหลือสนับสนุนแก่ผู้ประกอบการรายย่อย รวมถึงหาบเร่ แผงลอย รถเข็น

    สนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ผู้ประกอบการโดยวิธีการสร้างพันธมิตรและการรับช่วงการผลิตของบรรษัทข้ามชาติ การเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน และจากการใช้เครื่องมืออุปกรณ์

    พัฒนาโครงข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อสนับสนุนและพัฒนาเครือข่ายระหว่างผู้ประกอบการท้องถิ่นด้วยกันเอง และกับองค์กร/สถาบันอื่นที่เกี่ยวข้องในส่วนกลางและต่างประเทศ

    พัฒนาระบบข้อมูลและเครือข่ายความเชื่อมโยงระหว่างมหาวิทยาลัย วิทยาลัยเทคนิค และสถานศึกษาอื่นๆ ของท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนการพัฒนา R&D และ SMEs ของท้องถิ่น

    สนับสนุนการก่อตั้งสมาคมหรือองค์กรรูปแบบอื่น ๆ ของภาคเอกชนเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น

    พัฒนาหลักสูตรและแบบแผนการศึกษาในระบบให้สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นและของประเทศ

    พัฒนาระบบการให้บริการ หลักสูตรฝึกอบรมต่าง ๆ ในภูมิภาคให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดทันกับการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์โลก

    จัดบริการพื้นฐานสนับสนุนการคมนาคมขนส่ง การสื่อสารเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมและการค้าภายในท้องถิ่นและการส่งออก (Logistic Supply Chain)

    รณรงค์ให้ธุรกิจต่าง ๆ ดำเนินตามมาตรฐาน ISO9002 และ 14000

 

โครงการ /กิจกรรม ของเทศบาลตำบลปากแพรก

    โครงการตลาดไท  ทุ่งสง ณ สนามบินเก่าบ้านทุ่งชน ตำบลควนกรด

    โครงการตลาดกลางขายส่งพืชผลเกษตรและบรรจุภัณฑ์ ณ บริเวณย่านขนส่งสถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง

    โครงการภาคีภาพหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (One Product Partnership Network) เทศบาลตำบลปากแพรก ร่วมกับอบต.ต่างๆ ในอำเภอทุ่งสง และชุมชน/เครือข่ายตลาด/หมู่บ้านในอำเภอทุ่งสง โดยแบ่งภาระหน้าที่ ดังนี้

    อบต. นาหลวงเสน เพาะเนื้อเยือพืช ผลิตไม้ดอกไม้ประดับ

    อบต.ควนกรด ,หนองหงส์ ,นาไม้ไผ่ แปรรูปยางพารา ตั้งโรงงานแปรรูปของเสียขนาดย่อม (Recycling)

    อบต.ถ้ำใหญ่ เพาะเลี้ยงปลา

    อบต.ชะมาย /เขาขาว /นาโพธิ์  ผลิตไวน์ โรงงานผลิตไวน์ขนาดย่อม

    เทศบาลตำบลปากแพรกและชุมชนในเขตเทศบาลตำบลปากแพรก รับหน้าที่จัดตั้งและจัดการตลาด(Marketing) และบรรจุหีบห่อ(Packing)เพื่อส่งจำหน่ายทั้งในและส่งออก อยู่ระหว่างการขอรับเงินอุดหนุน

    ได้จัดทำโครงการเคเบิลทีวี และโครงการเรียนรู้ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต รองรับการดำเนินการไว้แล้ว

    ได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศของท้องถิ่น IT Garden รองรับการดำเนินงานทั้งในส่วนของข้อมูล และการพัฒนาเครือข่ายไว้แล้ว

    จัดตั้งวิทยาลัยท้องถิ่นทุ่งสง เพื่ออบรมอาชีพหลักสูตรระยะสั้น การคิดผลิตภัณฑ์ใหม่และรองรับการจ้างแรงงาน ฝึกฝีมือในท้องถิ่นจากผู้ที่จบการศึกษาแล้วไม่สามารถสร้างงานที่เรียนมาสายตรง

(3)  การเชื่อมโยงเมืองและชนบท

เป้าหมาย : มีการผสมผสานด้านเศรษฐกิจ –สังคมระหว่างภาคเมืองและชนบท อย่างเป็นรูปธรรม

ยุทธศาสตร์

    เร่งพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมแบบครบวงจร

    พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และศูนย์หัตถศิลป์ทักษิณ ที่พักริมทาง เป็นตลาดขายส่งริมทาง

แผนปฏิบัติการ

    จัดตั้งศูนย์วิจัยพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรในระดับภาคพื้น จังหวัด และท้องถิ่น

    จัดตั้งสภาการเกษตร

    พัฒนาบทบาทและสร้างเครือข่ายขององค์กรของรัฐที่สนับสนุนการพัฒนา การเกษตร และเศรษฐกิจของชนบท&ปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการและโครงสร้างพื้นฐานทาง ITC

    พัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาธุรกิจการเกษตรแบบครบวงจร

    ฟื้นฟูศิลปะวัฒนธรรม และเอกลักษณ์ท้องถิ่น

    ฟื้นฟูและพัฒนาทรัพยากร ป่าไม้ แม่น้ำ และทิวทัศน์อื่นๆ และการลงทุนเพื่อการดึงดูดนักท่องเที่ยว

 

โครงการ /กิจกรรม ของเทศบาลตำบลปากแพรก

    โครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์(สวนลอยฟ้าป่าในเมือง) จัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ปีนเขา เดินป่าชมและศึกษาธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพบนภูเขายายสีหวัง เขาแจ่ม และภูเขาเหมน เป็นเครือข่ายเชื่อมโยงกับสถานที่ท่องเที่ยวอื่นในท้องถิ่นใกล้เคียง ได้แก่สวนสาธารณะถ้ำตลอด พระโพธิสัตว์กวนอิมองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย บ่อน้ำร้อน และกิจกรรมตั้งแคมป์ที่พัก ณ สวนพฤกษาสิรินธร บริเวณเชิงเขายายสีหวัง  และเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวภายในจังหวัดนครศรีฯและภาคใต้อันดามัน

    โครงการ Rest  Area  ที่พักริมทางและศูนย์สินค้าหัตถศิลป์ภาคใต้และทั้ง 4 ภาคของไทยในระบบเครือข่าย  สินค้าทุกภาคของไทยและทางจักรยานเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

    โครงการFarm Stay เพาะพันธ์สัตว์และพืชผักเพื่อถ่ายทอดเทคโนในการอนุรักษ์พันธุกรรมสัตว์หายากและสัตว์เศรษฐกิจ

    โครงการ Home Stay บ้านเล็กในป่ากลางเมือง ถ้ำตลอด เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์กับแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ภายในทุ่งสง จ.นครศรีฯ จ.ใกล้เคียงและภาคใต้

    โครงการ ชุบชีวิตย่านการค้าTungsong Square  ประกอบด้วย

1.           ไนท์พลาซ่า (Walk street Market) จำหน่ายอาหารและสินค้าเบ็ดเตล็ด สินค้าพื้นเมือง ของที่ระลึกพื้นเมืองสำหรับนักท่องเที่ยว และชุมชนโดยเริ่มตั้งแต่ถนนศิลปนุสรณ์ ทั้งสายจากถนนชนปรีดาสิ้นสุดถนน
ชัยชุมพล บริเวณหอนาฬิกาที่ รสพ. เก่าและไปครบรอบวงที่ถนนชนปรีดา

2.           จุดนัดพบกลางเมืองสีแยกชนปรีดา ปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นทีบริเวณสี่แยกชนปรีดา โดยการขยายพื้นที่ใช้สอยสันเขื่อนคลองตมให้เป็นลานอเนกประสงค์เพื่อรองรับกิจกรรมของชุมชนในเมือง  เป็นจุดนัดพบนักท่องเที่ยว และเป็นปอดกลางเมืองอีกจุดหนึ่ง

3.           ตลาดย้อนยุคสุดสัปดาห์เล่นกีฬาและดนตรี  ใช้พื้นที่บริเวณหน้าอำเภอทุ่งสงวันศุกร์ เสาร์และอาทิตย์ จัดตลาดย้อนยุคและแสดงดนตรี เป็นจุดแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างชุมชนกับชุมชน และจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยว ตลอดจนใช้เล่น/แข่งขันกีฬา ในวันจันทร์-พฤหัสบดี ย้อนยุคสู่ศรีวิชัย

4.           ย่านการค้าหอนาฬิกาใหม่ ปรับปรุงหอนาฬิกาเดิมให้มีรูปแบบสวยงามทันสมัยและมีเอกลักษณ์ ทุ่งสงพร้อมปรับสภาพภูมิทัศน์รอบบริเวณรองรับย่านการค้าไนท์พลาซ่า

    โครงการปรับปรุงขยายตลาดสดเทศบาล ตลาดขายปลีกกึ่งขายส่ง และ SME

    โครงการปรับปรุงบริเวณหลังสถานีรถไฟเป็นย่านการค้า

    โครงการปลูกป่าให้เมืองและปลูกป่าต้นน้ำ

    เพื่อนรักษ์ต้นไม้ ขยายพื้นที่สีเขียวทั่วทั้งเมือง

    ปั่นจักรยานไปปลูกต้นไม้ ต้นน้ำ

2.3            ด้านความเป็นประชารัฐ  มีองค์ประกอบ ดังนี้

(1) การบริหารจัดการของภาครัฐ

เป้าหมาย : ความโปร่งใส/ยุติธรรม

ยุทธศาสตร์

    ปฏิรูประบบการปกครองและการบริหารจัดการให้ตรวจสอบได้

แผนปฏิบัติการ

    สร้างกลไกและกระบวนการตรวจสอบ/ติดตาม/ประเมินผล

    สนับสนุนการจัดตั้ง “คณะกรรมการตรวจสอบประเมินผลการดำเนินงานของภาครัฐ และเอกชน

    จัดอบรม/สัมมนาบุคลากรให้มีจิตสำนึกในหน้าที่และการปฏิบัติงานอย่างสุจริต

 

โครงการ /กิจกรรม ของเทศบาลตำบลปากแพรก

    กำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน ในการวัดผลความคุ้มค่าของผลงานเทียบกับต้นทุนทรัพยากร

    จัดตั้งศูนย์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร สอนอินเตอร์เน็ตชุมชน

    ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารทางอินเตอร์เน็ต เอกสารประกาศ แผ่นปลิว เคเบิ้ลทีวี และเสียงตามสาย

    อบรมจริยธรรมและจรรยาบรรณในการปฏิบัติงานแก่พนักงานลูกจ้างในด้านจิตวิญญาณ

เป้าหมาย : มีประสิทธิภาพ/คล่องตัว/ยึดประ โยชน์ของสาธารณชนเป็นหลัก

ยุทธศาสตร์

     เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในทุกด้าน

     พัฒนาระบบ/คุณภาพการให้บริการให้รวดเร็ว/ทั่วถึง/ยุติธรรม

แผนปฏิบัติการ

     พัฒนาศักยภาพของบุคลากรทุกระดับเพื่อรองรับการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นในด้านบริหารจัดการ (Good Governance)

     เร่งปรับปรุงกฎ/ระเบียบและขั้นตอนทางราชการที่ซับซ้อนและก่อให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินงาน

     นำเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการให้บริการประชาชน

 

โครงการ /กิจกรรม ของเทศบาลตำบลปากแพรก

     นำการจัดการฐานข้อมูลด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการปฏิบัติงานของกอง/ฝ่าย/งาน ต่าง ๆ เช่น การค้นคืนข้อมูลหนังสือราชการ การรับชำระภาษี  การบริการด้าน Healthy Care System)

     ปรับปรุงระบบการติดต่อประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่ภายในและภายนอกหน่วยงาน ตลอดจนรายงานผลการดำเนินงานแก่ผู้บริหารในระบบอินเตอร์เน็ต

     จัดให้มีศูนย์ข้อมูลเทศบาลตำบลปากแพรก (Data Bank)

     โครงการอินเตอร์เน็ตชุมชน ซึ่งในปัจจุบันได้เปิดให้บริการแล้ว ณ หอสมุดประชาชนเทศบาลตำบลปากแพรก และสวนพฤกษาสิรินธร

เป้าหมาย : มีการทำงานแบบพหุภาคีโดยเน้นการมีส่วนร่วมในการเข้ามาบริหารของประชาชนในการพัฒนาเมืองทุกขั้นตอน

ยุทธศาสตร์

         ปฏิรูปโครงสร้าง/อำนาจ/หน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่ระบบธรรมาภิบาล (Governance)

         สร้างช่องทางในการเข้าร่วมของประชาชนในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การดำเนินของภาครัฐ และการร่วมแสดงความเห็นผ่านเข้ามาทางระบบ ITC สู่ระบบ E-Governance

แผนปฏิบัติการ

         ปรับปรุง/แก้ไขกฎหมายหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นต่างๆ เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพัฒนาเมืองมากขึ้น

         จัดตั้งหน่วยงานประสานงานระหว่างภาครัฐ/ประชาชนทุกพื้นที่โดยรวมกับระบบอินเตอร์เน็ตชุมชน

         พัฒนาระบบสื่อสารมวลชนท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพ/สร้างเครือข่ายวิทยุชุมชน

         สนับสนุนการเปิดเวทีประชาคมท้องถิ่น (Face To Face)

 

โครงการ /กิจกรรม ของเทศบาลตำบลปากแพรก

     เปิดเวทีประชาคมของท้องถิ่น เดือนละครั้งทุกวันพุธสัปดาห์แรกของเดือน เพื่อใช้เป็นเวทีในการร่วมปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและแก้ปัญหาของท้องถิ่น โดยพหุภาคี ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2544 ณ สวนพฤกษาสิรินธร มีผู้มาร่วมเวทีครั้งละประมาณ 100 – 200 คน

 (2)  การมีส่วนร่วมของประชาชน

เป้าหมาย : ชุมชนมีความเข้มแข็งและมีศักยภาพในการเข้าร่วมพัฒนาเมือง/ชุมชน

ยุทธศาสตร์

         เสริมสร้างความเข้มแข็งและพัฒนา ศักยภาพของชุมชน/ประชาคมในทุกด้าน

แผนปฏิบัติการ

     จัดฝึกอบรม/ถ่ายทอดความรู้ให้แก่แกนนำชุมชน/ประชาคม ให้มีศักยภาพที่จะสร้างกระบวนการเรียนรู้ใน ชุมชน/ประชาคมของตน

 

โครงการ /กิจกรรม ของเทศบาลตำบลปากแพรก

     จัดอบรมหลักสูตรผู้นำท้องถิ่น ของวิทยาลัยท้องถิ่นทุ่งสง ขณะนี้ได้เปิดการอบรมไปแล้ว 2 หลักสูตร คือหลักสูตรผู้นำท้องถิ่น จำนวน 3 รุ่น หลักสูตรที่ 2 การเขียนผ้าบาติก  และหลักสูตรอบรมอาชีพ 5 รุ่น ทั้งนี้หลักสูตรที่จัดขึ้นเป็นไปตามความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น

     ส่งเสริมและสนับสนุนให้หอสมุดประชาชนเทศบาลฯ เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามอัธยาศัยของท้องถิ่น บรรลุวัตถุประสงค์ ปัจจุบันหอสมุดฯ เปิดบริการทุกวันเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 09.00 –18.00 . มีผู้มาใช้บริการโดยเฉลี่ยวันละ 420 คน เน้นหลักว่าคนทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ตลอดชีวิต

     ดำเนินการจัดทำสื่อการเรียนการสอน สนันสนุนกระบวนการเรียนรู้แก่นักเรียน เยาวชน และประชาชน โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่นการบันทึกองค์ความรู้ลงในแผ่น VCD และโครงการเคเบิลทีวี และใน Web Site

เป้าหมาย : ประชาชนตระหนักถึงความจำเป็นในการมีส่วนร่วมพัฒนาเมือง/ชุมชน

ยุทธศาสตร์

         สร้าง/กระตุ้นความสนใจของประชาชนในการมีส่วนร่วม และเข้ามาบริหารจัดการเอง (Privatization)

แผนปฏิบัติการ

      รณรงค์/ประชาสัมพันธ์ให้ตื่นตัวกับกระแสการมีส่วนร่วม และการสร้างชุมชน/เข้มแข็ง

      สนับสนุนสร้าง/ขยายเครือข่ายชุมชน

      จัดเวทีประชาคม จุดประกายพลังชุมชน

 

โครงการ /กิจกรรม ของเทศบาลตำบลปากแพรก

      ประชาชนในท้องถิ่นประมาณ 50 – 100 คนจากชุมชนในเขตเทศบาล และจากตำบลต่าง ๆ ในอำเภอ ทุ่งสง ไปร่วมในเวทีประชาคม ณ สวนพฤกษาสิริธร ทุกเดือน

      มีเครือข่ายท้องถิ่น ดำเนินการกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันระหว่างส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียน ชุมชน ตำบล หมู่บ้าน  เช่น การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ธนาคารมูลฝอย การจัดงานประเพณี
ส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่น การปลูกป่าในเมือง การอนุรักษ์พลังงาน เพื่อเมืองน่าอยู่ ฯลฯ เข้าสู่ระบบ Public Privatize Partnership

---------------------------------------

ค้นคว้าที่ www.tungsong.com   เรื่อง  LOCAL AGENDA 21

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม  ที่สำนักงานเทศบาลตำบลปากแพรก อ.ทุ่งสง .นครศรีธรรมราช  (075)411515