www.tungsong.com

 

 

 

 

 

 

แผนสุขภาพประจำปี 56

แบบฟอร์ม ระเบียบกองทุนหลักประกันสุขภาพ คณะกรรมการ สปสช.56 เอกสารประชาสัมพันธ์

Download file pdf or file zip

 

ส่วนที่  ๒

หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ

ข้อ ๑๕ กรณีหน่วยบริการ สถานบริการ หรือกลุ่ม/องค์กรประชาชนใดที่เสนอโครงการตามข้อ ๒ แล้วได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุน ให้ดำเนินการดังนี้

(๑)  กรณีได้รับงบประมาณไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ให้ประธานคณะทำงานฝ่ายเบิกจ่ายเงินเป็นผู้มีอำนาจเบิกจ่ายเงิน โดยออกเช็คสั่งจ่ายในนามประธานคณะทำงาน ฝ่ายเบิกจ่ายเงินของแต่ละโครงการที่ขอเบิก

(๒) ผู้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณตั้งแต่ ๑๐๐,๐๐๐ บาท ขึ้นไป เปิดบัญชีที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์เพื่อการเกษตร (ธกส.) สาขาทุ่งสง ประเภทบัญชี ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี 

“ชื่อหน่วยบริการ  สถานบริการ หรือกลุ่ม / องค์กรประชาชน” กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองทุ่งสงโดยให้คณะผู้รับผิดชอบโครงการ ชุดเบิกจ่ายเงิน ตามข้อ ๕ (๑) (ค)  เป็นผู้มีอำนาจลงนามเบิกเงินจากบัญชี 

ให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเบิกจ่ายเงินยืม โดยออกเช็คสั่งจ่ายในนามชื่อบัญชีที่หน่วยบริการ  สถานบริการ  หรือกลุ่ม / องค์กรประชาชนนั้น เปิดบัญชีไว้  และขีดฆ่าคำว่า “หรือตามคำสั่ง” หรือ “หรือผู้ถือ” ออก และขีดคร่อมด้วย และนำเข้าบัญชีเงินฝากที่ธนาคารตามข้อ ๑๕ (๒) หรือใช้วิธีโอนเข้าบัญชี                            

ข้อ ๑๖ ในการเบิกจ่ายเงินของผู้ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ  ให้เบิกจ่ายเท่าที่จ่ายจริง และเป็นไปโดยประหยัด หากมีเงินเหลือจ่ายให้ส่งคืนเข้ากองทุน โดยส่งคืนเป็นเงินสดพร้อมกับหลักฐาน และผลการดำเนินงานภายใน ๓๐ ตามสัญญาเงินยืมโดยให้ยกเลิกข้อ  ๒๓ ระเบียบกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองทุ่งสง ว่าด้วยการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินกองทุน  ลงวันที่  ๑๘  กรกฎาคม  ๒๕๕๓  และให้ใช้ระเบียบนี้แทน 

กรณีผู้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของบันทึกข้อตกลงข้อใดข้อหนึ่ง หรือผิดสัญญายืมเงิน ให้คณะกรรมการมีอำนาจเรียกเงินทั้งหมด  หรือเงินที่เหลือจ่ายนั้นคืน  โดยประสานกับธนาคารให้โอนเงินจากบัญชีของผู้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณกลับคืนเข้าบัญชีกองทุนได้  และดำเนินคดีได้ตามกฎหมาย และงดให้การสนับสนุนงบประมาณ 

ข้อ ๑๗ ในการใช้จ่ายเงินโครงการที่ได้รับอนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ  ให้คณะผู้รับผิดชอบโครงการ ดำเนินการตามแนวทาง ดังนี้ 

ให้คณะผู้รับผิดชอบ ชุดจัดซื้อจัดจ้าง ตามข้อ ๕ (๑) (ข)  ดำเนินการดังนี้

(๑) ก่อนจัดซื้อจัดจ้าง  ให้ทำการสืบราคาพัสดุก่อนและให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างเสนอราคาตามแบบ กท. ๗   เว้นแต่กรณีเข้าข้อยกเว้น ตามข้อ ๑๐

(๒) ในการจัดซื้อจัดจ้าง  ให้จัดซื้อจัดจ้างพัสดุ

(๒.๑)  ในราคาที่เหมาะสม โดยกรณีเป็นพัสดุที่ทางราชการกำหนดราคากลางหรือมาตรฐานไว้ การซื้อไม่ควรเกินราคาดังกล่าว หากไม่มีการกำหนดไว้ การซื้อหรือจ้างให้เป็นไปตามราคาท้องตลาด หรือราคากลางที่คณะกรรมการบริหารกองทุนกำหนดไว้ และควรซื้อ/ จ้างจากผู้ขายหรือผู้รับจ้างโดยตรง สถานที่ซื้อหรือจ้างควรตั้งอยู่ในเขตเทศบาลหรือท้องถิ่นใกล้เคียง

(๒.๒) ที่มีคุณภาพ โดยควรซื้อ/จ้างสินค้าที่มีคุณภาพหรือเป็นสินค้าที่มีการรับประกัน  และซื้อ/จ้างจากผู้ที่มีประวัติดีเป็นที่น่าเชื่อถือ

(๒.๓) ให้ถูกกฎหมาย โดยต้องมีใบเสร็จรับเงินหรือบิลเงินสดที่ถูกต้องทุกครั้ง และมีเอกสารประกอบ เช่น ใบส่งของ/หนังสือจดทะเบียนการค้า และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขายหรือผู้รับจ้าง

กรณีจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์หรือสิ่งของจากประชาชน หรือจ้างแรงงานในชุมชนที่ไม่สามารถออกใบส่งของ ใบเสร็จรับเงินหรือบิลเงินสดได้ ให้ใช้ใบสำคัญรับเงินตามแบบ กท.๖ แทนได้

(๓) การตรวจรับ เมื่อผู้ขายหรือผู้รับจ้างส่งมอบพัสดุหรืองานจ้าง ให้แจ้งคณะผู้รับผิดชอบ ชุดตรวจรับ ตามข้อ ๕ (๑) (ง)  ทราบเพื่อทำการตรวจรับ และลงนามกำกับหลักฐานดังกล่าวข้างต้นทุกฉบับ อย่างน้อย ๒ ใน ๓ คน

ข้อ  ๑๘  ในการเบิกจ่ายเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพ ให้เบิกจ่ายเท่าที่จ่ายจริงและเป็นไปโดยประหยัด ทั้งนี้ ต้องไม่เกินร้อยละ ๑๐ ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดของกองทุนในรอบปีงบประมาณนั้น  กรณี

(ก) การพัสดุ ให้คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ตรวจรับ กรณียอดเงินการจัดซื้อ/จัดหาพัสดุตั้งแต่ ๓,๐๐๐ บาท ขึ้นไป ให้มีคณะกรรมการตรวจรับ จำนวน ๓ คน แบบเอกสารตรวจรับให้ใช้แบบที่เทศบาลใช้อยู่โดยอนุโลม แต่ปรับข้อความเป็นของกองทุนฯ

ในกรณีจำเป็นต้องจัดซื้อครุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับบริหารหรือพัฒนากองทุน ให้สามารถจัดซื้อได้โดยมติคณะกรรมการ    แต่ครุภัณฑ์นั้นต้องมีราคาไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาทต่อหน่วย  และหลังจัดซื้อ ให้ดำเนินการลงทะเบียนสังหาริมทรัพย์ของกองทุนไว้เป็นหลักฐาน 

(ข) ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ให้เบิกจ่ายตามหลักเกณฑ์และอัตราดังต่อไปนี้

(๑) ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมที่เทศบาลถือปฏิบัติอยู่โดยอนุโลม โดยอัตราการเบิกจ่ายให้เบิกจ่ายได้ไม่เกินอัตราการฝึกอบรมระดับกลาง และเป็นไปตามมติคณะกรรมการบริหารกองทุนที่ประกาศไว้

(๒) ค่าตอบแทนการปฏิบัติงาน ให้เบิกจ่ายดังนี้

- ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการออกปฏิบัติงานนอกสถานที่ และนอกเวลาราชการ เหมาจ่าย ๑๕๐ บาท/คน โดยปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า ๔ ชั่วโมง กรณีวันหยุดราชการ และปฏิบัติงานนอกสถานที่เหมาจ่าย ๓๐๐ บาท/คน ปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า ๗ ชั่วโมง 

- ค่าตอบแทน อสม. ในการปฏิบัติงานเชิงรุก ไม่เกิน ๗๕ บาท/วัน/คน ยกเว้นอัตราค่าตอบแทน อสม.ในการออกพ่นยุงคิดอัตรา ๑๐๐ บาท/ครั้ง 

แบบเอกสารที่ใช้ประกอบการเบิกจ่าย  ให้ใช้ตามแบบที่เทศบาลใช้อยู่โดยอนุโลม แต่ปรับข้อความเป็นของกองทุน

(๓)  ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ

- ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปอบรม ประชุม  สัมมนาของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพ   หลักเกณฑ์และอัตราการเบิกจ่าย  ให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการที่เทศบาลถือปฏิบัติอยู่โดยอนุโลม 

- แบบรายงานการเดินทาง ให้ใช้ตามแบบที่เทศบาลใช้อยู่แต่ปรับข้อความเป็นของกองทุนฯ

ข้อ ๑๙ หลักเกณฑ์และอัตราการเบิกจ่ายกรณีอื่นๆ นอกเหนือจากที่กำหนด ให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการ ทั้งนี้ ภายใต้หลักเกณฑ์ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด

 

ก่อนหน้า

ถัดไป