Untitled

http://www.tungsong.com

 
[ มลพิษ ] [ อากาศ ] [ เสียง ] [ สารพิษ ]
  เสียง
         เสียงเป็นพลังงานที่เกิดจากการสั่นสะเทือน และเคลื่อนตัวผ่านมากระทบหูให้ได้ยินเสียง
  คุณสมบัติเฉพาะตัวของเสียง
             1. ความถี่ของเสียง เสียงที่มีความถี่มากจะเป็นเสียงสูงและที่มีความถี่น้อยและเป็นเสียงต่ำ มนุษย์ได้คิดค้นประดิษฐ์เครื่องมือสำหรับวัดความถี่ของเสียงขึ้นเรียกว่า เฮิร์ทซ์ (Hz) ใช้วัดความถี่ของเสียเป็นรอบต่อวินาที เสียงที่อยู่ในระดับปกติที่หูคนเราได้ยินมีความถี่ระหว่าง 20-20,000 รอบต่อนาที เสียงที่มีความถี่ต่ำกว่า 20 รอบต่อนาที จะมีลักษณะเป็นความสั่นสะเทือน ซึ่งเมื่อกระทบกับร่างกายบ่อยครั้งและมีขนาดรุนแรงก็เป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ
          2. ความดังของเสียง ซึ่งมีหน่วยวัด เรียกว่า เดซิเบล เสียงดังในระดับปกติที่มนุษย์เราได้ยินอยู่ในระดับความดัง 0-27 เดซิเบล เสียง ที่มีความดังเกิน 120 เดซิเบล เป็นเสียง ที่เป็นอันตราย ต่อหูและอวัยวะอื่นถึงขั้นพิการได้
          ลักษณะการได้ยินเสียงของหูในระดับปกตินั้น เสียงจะผ่านเข้าช่องหูชั้นนอกเข้าไปกระทบแก้วหูชั้นนอกและหูชั้นกลาง ทำให้แก้วหูเกิดการสั่นสะเทือน การสั่นสะเทือนของแก้วหูก็จะกระทบไปถึงอวัยวะของหูชั้นกลาง เริ่มตั้งแต่กระดูกฆ้องที่อยู่ติดกับแก้วหู กระดูกทั่งและกระดูกโกลนม้า ซึ่งอยู่ติดต่อกันจากตำแหน่งที่ตั่งของกระดูกทั้ง 3 ชิ้นนี้ ทำให้พลังสั่นสะเทือนถึงฐานของกระดูกชิ้นสุดท้ายของหูชั้นกลาง ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปก้นหอย และเป็นที่อยู่ของปลายประสาทรับเสียง ความสั่นสะเทือนก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น จนทำให้เกิดพลังประสาทและพลังงานไฟฟ้าทำให้เกิดการเกิดการกระตุ้นขึ้นที่ปลายประสาทรับเสียง พลังประสาทที่เกิดที่เกิดขึ้นจะถูกส่งต่อไปตามประสาทการได้ยินไปจนถึงสมองส่วนกลางเพื่อรับรู้ว่าเสียงนั้นเป็นเสียงอะไร เสียงที่มีความถี่ต่างกันจะกระตุ้นปลายประสาทต่างกัน คือเสียงที่มีความถี่ต่ำจะอยู่ได้นานกว่า
  เสียงรบกวน
            คือเสียงที่ทำให้ได้ยินเกิดความคำราญทั้งร่างกายและจิตใจ และเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานของคนเรา เสียงที่ดังมากเกินไปเป็นปัญหาสำคัญในปัจจจุบัน และจะยิ่งเพิ่มอันตรายมากขึ้นทุกทีองค์การอนามัยโลกได้กำหนดระดับเสียงโดยทั่วไปสำหรับชุมชนที่อยู่อาศัยในเมืองในช่วงกลางวันไว้ที่ระดับเสียงเฉลี่ยไม่เกิน 55 เดซิเบลเอ และในช่วงกลางคืนไม่เกิน 45 เดซิเบลเอ
  แหล่งกำเนิดเสียงรบกวน
            แหล่งที่ก่อให้เกิดเสียงรบกวน แบ่งออกได้เป็นปนะเภทใหญ่ ดังนี้
          1. เสียงจากการจราจรทางบก เช่น รถไฟ รถบรรทุก รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ฯลฯ
          2. เสียงในประกอบการต่างๆ ได้แก่ โรงงานต่างๆ อาทิ โรงงานทอผ้า โรงงานปาเก้ โรงงานเฟอร์นิเจอร์ โรงไม้ โรงงานผลิตเครื่องเห,้ก โรงกลึง โรงงานผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า โรงงานชุบและขัดโลหะ โรงงานผลิตฝาจุกขวด โรงพิมพ์ โรงงานผลิตเม็ดพลาสติก โรงงานผลิตอาหารกระป๋อง โรงงานผลิตยา โรงงานทำน้ำแข็ง อู่ซ่อมรถยนต์ การก่อสร้าง เช่น เครื่องเจาะคอนกรีต เครื่องสูบน้ำ เครื่องตอกเสาเข็ม เป็นต้น
          3. เสียงในชุมชนที่อยู่อาศัยหรือธุรกิจ การ แหล่งบันเทิง และสถานเริงรมย์ต่างๆ อาทิ โรงแรม สถานอาบอบนวด ไนท์คลับ เป็นต้น
          4. เสียงจากการจราจรทางน้ำ เช่น เรือยนต์ เรือหางยาว
          5. เสียงจากการจราจรทางอากาศ ได้แก่เครื่องบินประเภทต่างๆ เสียงของเครื่องบินที่ขึ้นลงและวิ่งตามลาดบินเป็นแหล่งเสียงรบกวนที่สำคัญแหล่งหนึ่ง เครื่องบินแต่ละชนิดให้เสียงต่างๆ กัน เช่น เฮลิคอปเตอร์ ใบพัด ไอพ่น โดยเฉพาะเครื่องบินเจ็ตและไอพ่นเป็นเครื่องบินที่มีความถี่สูงมาก
  อันตรายของเสียง
            ผู้ ที่ได้รับอันตรายของเสียง แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
          1. บุคคลผู้ประกอบกิจการ ได้แก่ คนงาน ลูกจ้างในโรงงานและผู้ที่สัมผัสกับเสียงโดยตรงอย่างใกล้ชิด ซึ่งมีโอกาศที่จะได้รับอันตรายจากเสียงตลอดเวลา เพราะต้องรับเสียงที่ดังระหว่าง 80-105 เดซิเบล ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 8ชั่วโมง ผลสุดท้ายของกลุ่มคนดังกล่างนี้ก็คือ การสูญเสีย สมรรถภาพของการได้ยินทำให้หูพิการ หูตึง และหูหนวกได้
          2. บุคคลคนผู้อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงบุคคลเหล่านี้ไม่ได้สัมผัสกับเสียงรบกวนโดยตรง แต่อาจได้รับอยู่บ่อยๆ ทำให้เกิดการรบกวนทางด้านจิตใจ ในการทำงาน การผักผ่อน ทำให้ความเครียดและหย่อนสมรรถภาพในการปฏิบัติงานตามไปด้วย
  ปัญหาของเสียงที่เกิดขึ้นจะเป็นอันตราย มากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับ
            1. ระดับของเสียงที่เกิดขึ้นจากแหล่งกำเนิดเสียง
          2. ระดับของเสียงในแต่ละความถี่
          3. ระยะเวลาที่สัมผัสกับเสียงนั้น
          4. ประสบการณ์ชีวิตและสภาพความทนได้ของแต่ละบุคคล
          3. ระยะเวลาที่สัมผัสกับเสียงนั้น
  อันตรายของเสียงอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
            1. อันตรายต่อระบบการได้ยิน  เนื่องจาก อวัยวะรับเสียงของคนเรามีขนาดเล็กและละเอียดอ่อนมาก และมีการสั่นสะเทือนอยู่ตลอดเวลาได้ยินเสียง ไม่ว่าเสียงนั้นจะดังหรือเบา เสียงยินดังมากก็ยิ่งทำให้อวัยวะรับเสียงสั่นสะเทือนมากขึ้น การสั่นสะเทือนนี้อาจเกิดขึ้นมาเพื่อให้รับเสียงอยู่ตลอดเวลา และแม้ว่าภายในหูชั้นกลางจะมีเนื้อเล็กๆ ไว้คอยกันความสั่นสะเทือนของเสียงที่ดังมากเกินไปแต่เสียงที่ดังมากเกินไปและดังอยู่นานก็อาจทำให้กล้ามเนื้อฉีกขาด ทำลายเซลประสาท และปลายประสาททำให้เกิด
            1.1 หูตึงหรือหูอื้อชั่วคราว ได้อาการนี้เกิดขึ้นเนื่องจากเสียงที่ดังนั้นยังไม่ดังมาก และนานพอที่จะทำลายประสาทและเซลประสาทอย่างถาวรได้
            1.2 หูตึงและหูหนวกอย่างถาวร เนื่องจากเสียงที่ได้รับนั้นดังเกินไปจนถึงขั้นทำลายปลายประสาทและเซลประสาทไปอย่างถาวรทำให้สูญเสียการได้ยินโดยไม่อาจคืนดีได้อีก
            1.3 อันตรายแบบเฉียบพลัน เป็นอาการของหูหนวกที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันจากการได้รับเสียงที่ดังมากเกินไปจนทำให้ปลายประสาท เซลประสาท และแก้วหูฉีกขาดไปในทันที เช่น เสียงระเบิด เสียงประทัด เสียงฟ้าผ่า
            2. อันตรายและเสียงต่อสุขภาพทั่วไปและจิตใจ  ได้แก่ การรบกวน การนอนหลับ ทำให้เกิดความหงุดหงิด และรบกวนประสิทธิภาพในการทำงาน การศึกษาพบว่าเสียงที่ดังมากๆ และดังเป็นครั้งคราวทำลายประสิทธิภาพในการทำงานได้มากกว่าเสียงที่ดังติดต่อกันตลอดเวลา ทำให้เกิดความล่าช้าในการปฏิบัติงานและทำให้ความถูกต้องของงานลดลงด้วย ได้มีข้อยืนยันว่า เสียงที่ดังมากเกินไปอาจกระตุ้นอาการทางประสาท ซึ่งอาจมีแฝงอยู่ในคนๆ
  แนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องเสียงของรัฐ
           เนื่องจากปัญหาเรื่องเสียงนับวันจัยิ่งเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นและเป็นอันตรายต่อการดำรงอยู่ของมนุษย์มากขึ้นรัฐจึงได้กำหนดนโยบายให้มีการป้องกันและควบคุมเสียงให้อยู่ในระดับที่ไม่มีอันตรายต่อสุขภาพและไม่เกิดผลเสียต่อเศรษฐกิจและสังคม โดยมีมาตราการที่สำคัญดังนี้
          1. กำหนดและบังคับใช้มาตรฐานระดับเสียงและความสั่นสะเทือน
          2. จัดให้มีการสำรวจและตรวจสอบเสียงตามแหล่งกำเนิดเสียง และย่านชุมชนต่างๆ เป็นประจำ
          3. แก้ไขปรังปรุงมาตรฐานและวิธีการตรวจสอบเสียงให้สอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมและกาลเวลา
          4. กำหนดมาตราการป้องกันเสียงรบกวนที่เกิดจากสถานประกอบการต่างๆ งานก่อสร้าง ซ่อมแซม รื้อและสร้างถนน
          5. สนับสนุนส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัยประชุมและสัมมนาเกี่ยวกับเสียง ตลอดจนการเผยแพร่ความรู้เรื่องเสียงแก่
          4. กำหนดมาตราการป้องกันเสียงรบกวนที่เกิดจากสถานประกอบการต่างๆ งานก่อสร้าง ซ่อมแซม รื้อและสร้างถนนประชาชน


[ คุณภาพสิ่งแวดล้อมและชีวิต ]  [ ความเข้าใจสิ่งแวดล้อม ]  [ ระบบนิเวศ]  [ ทรัพยากรธรรมชาติ ]  [ ปัญหาสิ่งแวดล้อม